Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5273
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวิมล ว่องวาณิช | - |
dc.contributor.author | บรรเลง สระมูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-01-04T06:33:40Z | - |
dc.date.available | 2008-01-04T06:33:40Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741758669 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5273 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | เปรียบเทียบสมรรถนะสารสนเทศของนักศึกษาที่มีภูมิหลังต่างกัน และประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะสารสนเทศ แบบประเมินสมรรถนะสารสนเทศประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย ตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะสารสนเทศระดับอุดมศึกษา ของสมาคมห้องสมุดมหาวิทยาลัยและห้องสมุดวิจัย แบบวัดนี้แปลเป็นไทยจากแบบประเมินที่พัฒนาโดย Kathleen Dunn ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดของ Cal Poly Pomona University และแบบประเมินสมรรถนะสารสนเทศของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตโดมิงเกส ฮิลล์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจำนวน 1,226 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นจาก 5 สาขาวิชา ได้แก่ ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์-เกษตร และวิศวกรรมศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ตารางไขว้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง การวิเคราะห์องค์ประกอบ การใช้สูตร PNImodified สำหรับกำหนดความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่าแบบวัดสมรรถนะสารสนเทศจำแนกเป็น 2 องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบแรกประกอบด้วยองค์ประกอบด้านการเข้าถึงสารสนเทศ การกำหนดขอบเขตและคำค้น และจริยธรรมการใช้สารสนเทศ องค์ประกอบที่สองประกอบด้วยองค์ประกอบการประเมินสารสนเทศ และการใช้สารสนเทศ ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในรายฉบับมีค่าเท่ากับ 0.72 ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะสารสนเทศของนักศึกษา พบว่านักศึกษาภาคปกติมีสมรรถนะสารสนเทศสูงกว่าภาคสมทบ หลักสูตร 4 ปี สูงกว่าหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี นักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์มีสมรรถนะ สารสนเทศสูงกว่าสาขาอื่น นักศึกษาสาขามนุษยศาสตร์มีสมรรถนะสารสนเทศต่ำสุด นักศึกษาชั้นปี 1 มีสมรรถนะสารสนเทศสูงกว่าชั้นปี 2, 3, 4 ผลการประเมินความต้องการจำเป็นพบว่า นักศึกษามีความต้องการ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้สารสนเทศ การกำหนดคำค้น การประเมินสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ และจริยธรรมการใช้สารสนเทศ ตามลำดับจากมากไปน้อย | en |
dc.description.abstractalternative | To compare the information competency of university students with different backgrounds, and to determine information competency needs for multiple groups of students. The information competency test consisted of five components based on information competency standards of the Association of College and Research Libraries: ACRL. The test was translated into Thai from that developed by Kathleen Dunn, librarian of Cal Poly Pomona University's Library and Information Competency Assessment Tool by California State University Dominguez Hill Campus. The sample of the study was 1,226 students of Rachamangala Institute of Technology, using a multi-stage random sampling under five fields: education, humanity, social science, science-agriculture, and engineering. Data were analyzed through use of frequency, percentage, cross-tabulation, mean, standard deviation, t-test, three-way ANOVA, factor analysis, and PNImodified for determing needs. The results showed that the information competency tests consisted of two factors with 3 components fell in the first one, and 2 components in the other. The first factor consisted of the component of information access, information scope and keyword determination, and information ethics. The second factor consisted of the component of information evaluation and information use. The internal consistency reliability of the test was 0.72. It was found the information competency of students in regular program was higher than attachment program, students in 4-year curriculum had higher information competency than those in 2-year program. Students in social science field had the most information competency compared to the others, while students in humanity had the lowest competency. First-year students had higher information competency than second, third and fourth year students. Based on needs assessment results, it was found that students need to be mostly developed on information use, information scope and keyword determination, information evaluation, information access, and information ethic, respectively. | en |
dc.format.extent | 2999001 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การรู้สารสนเทศ | en |
dc.subject | การประเมินความต้องการจำเป็น | en |
dc.title | การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะสารสนเทศ : การศึกษากลุ่มพหุ | en |
dc.title.alternative | A needs assessment for students development in information competency : a multi-group study | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Suwimon.W@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Banleng.pdf | 2.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.