Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52763
Title: ผลของพารามิเตอร์การกัดผิวและโครงสร้างต่อสมบัติทางแสงของฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์
Other Titles: Effect of etching parameters and structure on optical property of titanium dioxide thin film
Authors: กิ่งเพชร อัชฌาอภินันท์
Advisors: ปฐมา วิสุทธิพิทักษ์กุล
นิรันดร์ วิทิตอนันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: patama.v@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ฟิล์มบาง
ฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์
ไทเทเนียมไดออกไซด์
Thin films
Titanium dioxide films
Titanium dioxide
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้ศึกษาผลของความเข้มข้น, โปรไฟล์อุณหภูมิในกระบวนการกัดผิวและการกวนสารละลายในการกัดผิววัสดุพื้นซิลิกอนและการเคลือบฟิล์ม TiO₂ พบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการกัดผิวเพื่อสร้างผลึกรูปพีระมิดให้เกิดปกคลุมผิวคือ กระบวนกัดผิวในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 10 โมลาร์ มีการกวนสารละลายด้วยแท่งแม่เหล็ก ความเร็วรอบการกวนสารละลาย 150 รอบต่อนาทีและกระบวนการกัดผิวในช่วงเพิ่มอุณหภูมิแก่สารละลายจนถึง 60 องศาเซลเซียส โดยสามารถลดการสะท้อนแสงที่ความยาวคลื่นแสง 550 nm. จาก 28.04 เหลือ 16.78% สำหรับการเคลือบผิวด้วยฟิล์ม TiO₂ โดยใช้อัตราการไหล Ar:O₂ 5:15 sccm., ระยะระหว่างเป้าถึงวัสดุพื้น 8 เซนติเมตร, ความดันรวม 7x10¯³ มิลลิบาร์, กระแสไฟฟ้า 500 มิลลิแอมแปร์คงที่ และควบคุมความหนาชั้นเคลือบที่ 190 และ 420 nm. พบว่าได้ฟิล์ม TiO₂ ชนิดอนาเทส ซึ่งที่ความยาวคลื่นแสง 550 nm. ค่าการสะท้อนแสงลดลงจาก 28.04 เหลือ 8.82% และ 17.85% สำหรับความหนาชั้นเคลือบที่ 190 และ 420 nm. ตามลำดับ เมื่อใช้การกัดผิวตามเงื่อนไขข้างต้นร่วมกับการเคลือบผิวด้วย TiO₂ พบว่าค่าการสะท้อนแสงลดลงเหลือ 5.97 และ 4.9% สำหรับความหนาชั้นเคลือบ 190 และ 420 nm. ตามลำดับ จากการเพิ่มการสะท้อนแสงตามแนวเฉียงของพีระมิดเข้าสู่ซิลิกอนและการแทรกสะอดแบบหักล้างของชั้นฟิล์ม แสดงให้เห็นว่าการกัดผิวและการเคลือบ TiO₂ ชนิดอนาเทส เป็นวิธีที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์สุริยะได้สามารถลดการสะท้อนแสงได้ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงผลของฟิล์ม TiO₂ หลังผ่านการอบอ่อนเพื่อให้ได้ฟิล์ม TiO₂ชนิดรูไทล์ โดยนำไปอบอ่อนที่อุณหภูมิ 900°C เป็นเวลา 1 และ 4 ชั่วโมง สำหรับความหนาชั้นเคลือบ 190 และ 420 nm. ตามลำดับ ซึ่งพบว่าฟิล์ม TiO₂ ชนิดรูไทล์ร่วมกับการใช้วัสดุพื้นหลังผ่านการกัดผิวแล้วให้ค่าการสะท้อนแสง 10.07 และ 17.86% ตามลำดับ ซึ่งยังสูงกว่าฟิล์ม TiO₂ ชนิดอนาเทส ดังนั้นฟิล์ม TiO₂ ชนิดรูไทล์จึงไม่เหมาะสมในการใช้เป็นชั้นกันสะท้อนแสง
Other Abstract: This research studied effect of solution concentration, temperature profile and stirring of etcing solution on surface texturing of Si substrate and TiO₂ coating. The result showed that the optimum etching condition which created pyramid structure covering entire Si surface is texturing in NaOH 10 M of concentration with magnetic stirring the solution 150 rpm and heating period to 60°C of temperature profile at wavelength 550 nm can be reduced from 28.04 to 16.78%. Anti-reflection TiO₂ coating was done by using Ar:O₂ flow rate of 5:15 sccm with constant current of 500 mA and fixed total pressure of 7x10¯³mbar. The distance between target and substrate was 8 cm. Thickness of the coating anatase TiO₂ film can be controlled at 190 and 420 nm by selecting coating holding time of 73 and 169 mins, respectively. The coating TiO₂ film can reduce the reflectance of Si from 28.04 to 8.82% and 28.04 to 17.85% for 190 and 420 nm thick TiO₂ film, respectively. Combining surface texturing and TiO₂ coating, it was found that the reflectance can be reduced to 5.97 and 4.9% for 190 nm and 420 nm thick TiO₂ film. These small values of percent reflectance is obtained due to increasing in refraction into silicon substrate and destructive interference of anti-reflection TiO₂film. In addition, this research studied effect of TiO₂ phase on reflectance by using annealing process at 900oC for 1 and 4 hours to convert anatase TiO₂to rutile TiO₂ with 190 and 420 nm thick. The reflectance etched Si with rutile TiO₂ coating are 10.07% for 190 nm and 17.86% for 420 nm. The higher values of percent reflectance of rutile TiO₂ film coating implies that the most appropriate phase of TiO₂ film to apply as the anti-reflectance layer is anatase phase.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52763
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1794
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1794
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kingpetch_ar.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.