Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5276
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูเวช ชาญสง่าเวช-
dc.contributor.advisorสมชาย พัวจินดาเนตร-
dc.contributor.authorปัณณรส รุ่งน้อย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2008-01-04T07:07:57Z-
dc.date.available2008-01-04T07:07:57Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741747519-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5276-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในอุสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยใช้ปัจจัยทางวัฒนธรรม 5 ปัจจัย ซึ่งได้แก่ ระยะห่างอำนาจ ความเป็นปัจเจกบุคคลและความเป็นกลุ่ม ลักษณะความเป็นชายและความเป็นหญิง การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และพลวัตขงจื้อหรือการมองอนาคตแบบระยะยาว ซึ่งทำการเก็บข้อมูลการวิจัยโดยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ในระยะริเริ่มของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พนักงานแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสตรี ที่ปรึกษาองค์กร และผู้ที่เคยร่วมงานกับองค์กร จากบริษัทที่มีการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและมีตราผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค จำนวนตัวอย่าง 17 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก 1 คน พนักงานระดับกลาง 13 คน ที่ปรึกษา 1 คน และผู้ที่เคยร่วมงานกับองค์กร 2 คน ผลการวิจัยที่สำคัญแบ่งได้เป็นสามส่วนคือ 1) ผลการคำนวณดัชนีทางวัฒนธรรมพบว่าองค์กรตัวอย่างมีค่าระยะห่างอำนาจ และการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนสูง มีค่าความเป็นปัจเจกบุคคล ลักษณะความเป็นชาย และพลวัติขงจื้อปานกลาง แสดงว่าระยะห่างอำนาจและการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน มีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่อีก 3 ปัจจัยไม่มีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 2)เมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยของ Hofstede(1980) ที่มีการวิจัยในบริษัทเพียงแห่งเดียวเช่นกัน พบว่ามีค่าแตกต่างกันไม่มาก ยกเว้นปัจจัยด้านลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล และ ความเป็นชายที่มีค่าเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม 3)วัฒนธรรมขององค์กรตัวอย่างไม่มีความสอดคล้อง กับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในระยะริเริ่ม แต่กลับสอดคล้องกับระยะปฏิบัติมากกว่า คือ ขั้นการผลิต การทดสอบสินค้าและการ นำสินค้าออกสู่ตลาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากมีการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาในแต่ละเดือนไม่น้อยกว่า 20 แบบ แต่ในระยะริเริ่มแนวคิดสร้างสรรค์มีไม่มากเท่าที่ควร และใช้เวลาในระยะนี้มาก นอกจากนี้การที่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะขึ้นกับกระบวน การทำงานที่มีแบบแผนชัดเจนมากที่สุด ส่วนเป้าหมายในการทำงาน คือ การมีความราบรื่นและความมั่นคงในชีวิตและอาชีพการทำงาน ถึงแม้ว่าองค์กรตัวอย่างจะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายกว่าบริษัทอื่นๆ ในประเทศไทย แต่เมื่อเทียบกับต่างประเทศแล้วก็ยังมีความหลากหลายน้อยอยู่ ดังนั้นถ้าต้องการให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เทียบเท่ากับต่างประเทศแล้วก็ควรมีการปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมกับขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระยะริเริ่มมากขึ้นen
dc.description.abstractalternativeTo study the relationship between effects of organization culture factors on new product development in ready-made garment industry by using the 5 culture factors. The key theme of the study was Power Distance, Individualism and Collectivism, Masculinity and Femininity, Uncertainty Avoidance, and Confucian Dynamics or Long-term orientation. The questionnaires and in-depth interviews were administered at the initiation stage of new product development procedure. The sample population in the research was the personnel in research and develope lady-garment department, consultant and who had working with this organization that producing ready-made garment and having favorite brand factory. There were seventeen personnel involved in the research. These numbers were divided into 1 assistant management personnel, 13 middle-level employees, 1 consultant and 2 past middle-level employees. Important results of the research may be divided into 3 parts. 1) The result of culture index calculation in the case organization has found high Power Distance and Uncertainty Avoidance, and medium Individualism, Masculinity-Femininity and Long-term orientation. This means that Power Distance and Uncertainty Avoidance have some effect on new product development but the other three culture factors did not have effect on new product development. 2) The result of cultural index calculation was compared with the research of Hofstede(1980) that was similarly conducted in one company, and showed few differences, excepting Individualism and masculinity which were higher than Hofstedes research due to the change of economic and social environment. 3) The culture of the sample organization did not conform with the initiation stage of new product development procedure, so there were not many creative ideas and the time taken was longer in this stage. Furthermore, the most influential factor for success of new product development project is the highly patterned working procedure. The most important personal work goal is steadiness and stability in life and career. Although the sample organization was the leader among ready-made garment industry in Thailand, when compared to the countries abroad they still have relatively low variety of products. So the management should adapt and improve the R&D operation for the initiation stage of the new product development procedureen
dc.format.extent1081985 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวัฒนธรรมองค์การen
dc.subjectผลิตภัณฑ์ใหม่en
dc.subjectอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป -- ไทยen
dc.titleผลกระทบของปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยen
dc.title.alternativeEffects of organizational culture factors on new product development in Thai ready-made garment industryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChuvej.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPuajindanetr.Pua@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pannarot.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.