Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52908
Title: กระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
Other Titles: An educational policy development process of Rajabhat Universities towards the status of higher education institutions for local development
Authors: พักตร์วิภา โพธิ์ศรี
Advisors: ชื่นชนก โควินท์
จุมพล พูลภัทรชีวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chuenchanok.K@Chula.ac.th
Chumpol.P@Chula.ac.th
Subjects: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
นโยบายการศึกษา
การพัฒนาชุมชน
Rajabhat universities
Public universities and colleges
Universities and colleges -- Administration
Education and state
Community development
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎ และ (2) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนากระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นการศึกษากระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎจากเอกสาร (2) ขั้นการสัมภาษณ์ผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาและแนวทางพัฒนากระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (3) ขั้นการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางพัฒนากระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (4) ขั้นการนำเสนอแนวทางพัฒนากระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นการกำหนดนโยบาย ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ ขั้นการติดตามและประเมินผลนโยบาย โดยมีรายละเอียดดังนี้ ขั้นการกำหนดนโยบาย ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ (1) การระบุปัญหา (2) การริเริ่มกำหนดนโยบาย (3) การแต่งตั้งคณะทำงาน (4) การรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (5) การยกร่างและจัดทำนโยบาย (6) การประกาศใช้นโยบาย ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ (1) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 1 ปี (2) การจัดโครงสร้างองค์กรและการบริหารงาน (3) การจัดสรรทรัพยากร (4) การจัดรูปแบบการสื่อสาร ขั้นการติดตามและประเมินผลนโยบาย ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนดังนี้ (1) การติดตามผลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการตรวจสอบภายใน (2) การวัดผลสำเร็จของแผนงานและโครงการ (3) การติดตามและประเมินผลนโยบายตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ (4) การจัดความพึงพอใจของผู้รับบริการ (5) การรับข้อร้องเรียนจากผู้รับบริการ (6) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการกับส่วนราชการหรือองค์กรอื่นที่มีภารกิจคล้ายคลึงกัน (7) การรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ส่วนแนวทางในการพัฒนากระบวนการพัฒนานโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย ขั้นการกำหนดนโยบาย (1) มหาวิยาลัยราชภัฎควรส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้นจากบุคคล 2 กลุ่มคือ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและบุคลากรในท้องถิ่น (2) มหาวิทยาลัยราชภัฎควรปรับปรุงวิธีการรวบรวมข้อมูลมากำหนดนโยบาย (3) มหาวิทยาลัยราชภัฎควรเพิ่มการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องนโยบายแก่บุคลากร (4) นโยบายที่กำหนดควรมีทิศทางที่แน่นอนและมีความชัดเจน (5) มหาวิทยาลัยราชภัฎควรปรับวิธีการประกาศใช้นโยบายให้มีความครอบคลุมมากขึ้น (6) มหาวิทยาลัยราชภัฏควรมีการเตรียมและเสนอทางเลือกในการกำหนดนโยบาย ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ (1) มหาวิทยาลัยราชภัฎควรปรับปรุงการจัดสรรทรัพยากร ด้านการจัดสรรงบประมาณและการจัดสรรบุคลากร (2) มหาวิทยาลัยราชภัฎควรปรับปรุงด้านการจัดรูปแบบการสื่อสาร ขั้นการติดตามและประเมินผลนโยบาย มหาวิทยาลัยราชภัฎควรปรับปรุงด้านวิธีดำเนินการประเมินผลนโยบายและด้านจุดมุ่งหมายของการประเมินผลนโยบาย
Other Abstract: The purposes of this study were (1) to study an educational policy development process of Rajabhat Universities and (2) to propose development guidelines for an educational policy development process of Rajabhat Universities towards the status of higher education institutions for local development. The samples were Nakon Sawan Rahabhat University, Phuket Rajabhat University, Sakon Nakhon Rajabhat University, Rajanagarindra Rajabhat University. The research method comprised four steps. Step 1: Study an educational policy development process of Rajabhat Universities by analyzing and synthesizing related documents. Step 2: Interviewing sixty experts from four Rajabhat Universities about an educational policy development process of Rajabhat Universities and guidelines for developing an educational policy development process of Rajabhat Universities towards the status of higher education institutions for local development. Step 3: Analyzing the data from step 1 and 2 to find development guidelines for an educational policy development process of Rajabhat Universities towards the status of higher education institutions for local development. Step 4: Proposing development guidelines for an educational policy development process of Rajabhat Universities towards the status of higher education institutions for local development. The data were analyzed using content analysis. Findings of the study were as follows: the educational policy development process of Rajabhat Universities comprised three major : policy formulation, policy implementation, and policy monitoring and evaluation. Policy formulation consists of six stages as follows (1) identification of problems (2) initiation of policy (3) setting of working teams (4) collecting information (5) drafting of policy (6) legitimating of policy. Policy implementation consists of four stages as follows (1) preparation of a one year operation plan (2) organization and administration (3) resource management (4) communication system management. Policy monitoring and evaluation consist of 7 stages as follow (1) policy monitoring by audit committee (2) plan and program achievement measures (3) policy monitoring and evaluation which follow the strategy (4) evaluation of citizen satisfaction (5) evaluation of citizens' complaints (6) comparison of satisfaction with other universities (7) annual report. Development guidelines for policy formulation of Rajabhat Universities towards the status of higher education institutions for local development consist of Policy formulation (1) Rajabhat Universities should be encouraged more participation in policy formulation (2) Rajabhat Universities should improve the method of collecting data for policy formulation (3) Rajabhat Universities should increase policy knowledge for officials (4) the main direction of policy formulation should be cleared (5) Rajabhat Universities should improve the method of policy announcements to be broader (6) policy alternatives should be a part of policy formulation. Policy implementation (1) Rajabhat Universities should improve resource management on budgeting and human resources (2) Rajabhat Universities should improve communication system management. Policy monitoring and evaluation Rajabhat Universities should improve policy evaluation methods and policy evaluation goals.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52908
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.40
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.40
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pakwipar_ph_front.pdf9.92 MBAdobe PDFView/Open
pakwipar_ph_ch1.pdf13.72 MBAdobe PDFView/Open
pakwipar_ph_ch2.pdf110.64 MBAdobe PDFView/Open
pakwipar_ph_ch3.pdf9.78 MBAdobe PDFView/Open
pakwipar_ph_ch4.pdf249.65 MBAdobe PDFView/Open
pakwipar_ph_ch5.pdf32.61 MBAdobe PDFView/Open
pakwipar_ph_back.pdf18.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.