Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5290
Title: นโยบายของไทยต่อจีน สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร : ศึกษาการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-จีน
Other Titles: Thai policy towards China under the government of Thaksin Shinawatra : a study on the establishment of the free trade area between Thailand and China
Authors: โศภิต นาสืบ
Advisors: วรศักดิ์ มหัทธโนบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นโยบายเศรษฐกิจ -- ไทย
ไทย -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- จีน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงนโยบายของไทยต่อจีนในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กรณีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-จีน โดยในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มทุนที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-จีน ขึ้น จากการศึกษาพบว่า การจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-จีนนั้นส่วนหนึ่งมาจากแรงผลักดันของกลุ่มทุนธุรกิจที่เข้าไปมีบทบาททางการเมืองโดยตรงในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของประเทศ สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจภายในประเทศและระหว่างประเทศและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่สามารถเข้าไปมีบทบาททางการเมืองได้มากขึ้น โดยกลุ่มทุนเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มของตน โดยเครื่องมือสำคัญที่กลุ่มทุนใช้ในการผลักดันให้เกิดเขตการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-จีน คือ "สายสัมพันธ์" ที่มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับรัฐบาล อีกทั้งกลุ่มทุนเหล่านี้ยังได้ใช้สภาธุรกิจไทย-จีน และหอการค้าไทย เป็นเครื่องมือในการผลักดันแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดจากการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-จีน ด้วย อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีไทย-จีน คือ กลุ่มธุรกิจทางการเกษตรรายใหญ่ของประเทศ ที่มีระบบธุรกิจการเกษตรครบวงจร ตั้งแต่การขาย การผลิต การแปรรูป ไปจนถึงการส่งออก ซึ่งทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อเปิดเขตการค้าเสรี จึงมีความพร้อมในการแสวงหาผลประโยชน์ได้มากกว่ากลุ่มทุนผู้ประกอบการรายย่อยและเกษตรกรรายย่อย
Other Abstract: The study concentrates on the policy of establishment of the free trade area between Thailand and China under the Thaksin Shinawatra administrations. Hereby, the theory of linkage politics of international political economy was used as a conceptual framework. The hypothesis of the research is that the business interest groups involving and having an influence in the government have played an important role to press the establishment of the free trade area between Thailand and China. The study found that those interest groups, especially the large business companies had close connection with the members of this cabinet and had a clear influence over the establishment of the free trade area. Since the transformation of internal and international economy including domestic political change that enable these business groups to play a significant role in international economy policy-making. However, the group achieving upmost benefit from this free trade area establishment is the large agricultural business group in Thailand because they conduct the complex agriculture economic system. Thus, they can provide more advantageous over the competition than that small and medium-sized enterprises and agriculturists.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5290
ISBN: 9745316415
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sopit.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.