Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52918
Title: การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของพื้นที่ศูนย์กลางเมืองชลบุรี
Other Titles: Morphological transformation of Chonburi's urban central area
Authors: พงษ์ศักดิ์ ศรีจูม
Advisors: ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: mee2mee@hotmail.com
Subjects: สัณฐานวิทยา -- แง่สังคม
สัณฐานวิทยา -- แง่เศรษฐกิจ
ชลบุรี -- สัณฐานวิทยา
การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- ชลบุรี
การพัฒนาเมือง -- ไทย -- ชลบุรี
เมือง -- การเจริญเติบโต
Morphology -- Social aspects
Morphology -- Economic aspects
Chonburi -- Morphology
Community development, Urban -- Thailand -- Chonburi
Urban development -- Thailand -- Chonburi
Cities and towns -- Growth
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของศูนย์กลางเมืองชลบุรี โดยเน้นประเด็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบโครงข่ายการสัญจร รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร รูปแบบความหนาแน่นของมวลอาคารและพื้นที่ว่าง/รูปแบบขนาดบล็อกถนน ตามพัฒนาการการขยายตัวของพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การระบุศักยภาพ ปัญหา ตลอดจนแนวโน้มด้านต่างๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานที่สัมพันธ์กับบทบาททางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาศูนย์กลางเมืองต่อไป จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของศูนย์กลางเมืองชลบุรีจากอดีตถึงปัจจุบัน ในช่วงพัฒนาการที่สำคัญ 3 ช่วง ที่สอดคล้องกับจุดเปลี่ยนสำคัญด้านสังคมและเศรษฐกิจของเมือง ผลการศึกษาพบว่า เมืองชลบุรีในอดีต พ.ศ. 2495 มีศูนย์กลางเมืองอยู่บริเวณชุมชนชายทะเล ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก มีถนนวชิรปราการเป็นถนนแนวแกนหลักที่มีศักยภาพในการเข้าถึงพื้นที่สูง วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เป็นศูนย์รวมการกระจายและการเข้าถึงทางทะเลเชื่อมโยงกิจกรรมระหว่างชุมชนด้านทิศเหนือกับชุมชนด้านทิศใต้ โดยมีลักษณะเชิงสัณฐานแบบ “ฐานน้ำ” โครงข่ายการสัญจรทางบกเป็นแบบ “ก้างปลา” โดยมีการเข้าถึงและรับรู้เมืองจากทางน้ำเป็นหลัก มีกิจกรรมการค้าและการบริการขนาดกะทัดรัด กระจุกตัวด้วยมวลอาคารขนาดเล็กอยู่บริเวณศูนย์กลางเมือง มีระบบเศรษฐกิจภาพรวมแบบเพื่อการยังชีพและการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่โยงใยด้วยระบบสังคมแบบเรียบง่าย พึ่งพาอาศัยกันแบบเครือญาติ ต่อมามีการพัฒนาโครงข่ายการสัญจรทางบกอย่างต่อเนื่องทำให้เมืองมีการขยายตัวไปทางทิศตะวันออก ส่งผลให้ศูนย์กลางเมืองชลบุรีเกิดการเคลื่อนตำแหน่งมาอยู่บริเวณริมถนนสุขุมวิทซึ่งเป็นถนนที่ตัดเข้ามาใหม่ในปี พ.ศ. 2512 ผ่านพื้นที่ศูนย์กลางเมือง โดยเป็นถนนที่มีศักยภาพในการเข้าถึงสูง เกิดรูปแบบการตั้งถิ่นฐานแบบเป็นแนวยาวริมถนนสายหลัก มีการเปลี่ยนแปลงจากเมือง “ฐานน้ำ” มาเป็นลักษณะแบบ “ฐานบก” อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การพัฒนาถนนเลี่ยงเมืองทางด้านตะวันออกขนานกับถนนสุขุมวิท ในปีพ.ศ. 2520 มีแนวโน้มทำให้ศูนย์กลางเมืองชลบุรีจะสูญเสียความเป็น "ศูนย์กลางที่มีชีวิต" (live center) อันเนื่องมาจากการพัฒนาโครงข่ายถนนเป็นตาตารางขนาดใหญ่ที่ไม่เหมาะสมกับการเดินเท้าและการสัญจรในระดับพื้นที่ย่าน โครงข่ายที่เพิ่มขึ้นยังซับซ้อน สร้างความสับสนและอาจทำให้หลงทางได้ง่าย ตลอดจนปรากฏรูปแบบประโยชน์การใช้ที่ดินและอาคารที่กระจุกตัวกันอยู่บนถนนสายหลักเพียงไม่กี่เส้นมากกว่าการเปิดพื้นที่เข้าสู่ด้านในบล็อกทำให้ขาดประสิทธิภาพของความเป็นศูนย์กลางเมืองที่ดี
Other Abstract: This thesis aims to study the morphological transformation of Chonburi’s urban central area focusing on the chronological transformation of transport network pattern, land and building use pattern, figure and ground / block size pattern in key time periods. This is to identify potentials as well as problems caused by the urban morphological transformation in relation to socioeconomic roles and to facilitate the basis information for the urban central area planning in the future. The results reveal that the transformation has occurred in three key periods corresponded to major changes in socioeconomic pattern. Chonburi in 1952 had its center by the seaside accessible mainly from the sea with Wachiraprakarn Road as its main core. The Road was the main integrator which lied along the north-south axis and was the focus of all accesses and activities located between the north and the south residential areas. Its water-based morphological pattern was obvious. The road network was formed in a ‘fishbone’ shape. The city was perceived mainly from the sea with commercial and service sectors clustered at the center. The socioeconomic characteristic was simple and straightforward as a kinship system. The subsequent development of Sukhumvit Road in 1969 caused the urban center to shift eastward and inland and turned out to be the new integrator and central core. The city has been transformed greatly from water-based to land-based settings. Besides, the subsequent development of the Bypass to the east in parallel to Sukhumvit Road in 1977 has caused the potential lost of its ‘live center’ characteristic due to the superblock development unsuitable for pedestrian accessibility and local transits. The new form has also caused the unintelligibility network that people have a harder time to go about the city. Having the strip urban development along some major routes in stead of opening up the inner block urban areas for new development has also set back the efficiency of the urban center.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52918
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1389
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1389
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pongsak_sr_front.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
pongsak_sr_ch1.pdf990.33 kBAdobe PDFView/Open
pongsak_sr_ch2.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
pongsak_sr_ch3.pdf439.49 kBAdobe PDFView/Open
pongsak_sr_ch4.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open
pongsak_sr_ch5.pdf11.93 MBAdobe PDFView/Open
pongsak_sr_ch6.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
pongsak_sr_ch7.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
pongsak_sr_back.pdf539.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.