Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์-
dc.contributor.authorปุญญวันต์ จิตประคอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-07T00:16:17Z-
dc.date.available2017-06-07T00:16:17Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52928-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ของผู้ผลิตสื่อ บทบาทของสื่อทางเลือกข้ามพรมแดนเพื่อสื่อสารเรื่องชนกลุ่มน้อยพม่า และบทบาทของสื่อทางเลือกในการต่อสู้ทางการเมืองของชนกลุ่มน้อยพม่า โดยศึกษาวิจัยจากสื่อประเภทวารสารสาละวินโพสต์ และเว็บไซต์สาละวินนิวส์ออนไลน์ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2553-2555 โดยได้เก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และภาคสนามโดยวิธีการสัมภาษณ์ และนำมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา ในเชิงของการตีความ โดยใช้ตารางแจกแจงเป็นเครื่องมือประกอบการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าสื่อทางเลือกข้ามพรมแดนในประเทศไทย กรณีวารสารสาละวินโพสต์ และเว็บไซต์สาละวินนิวส์ออนไลน์ ได้สะท้อนอุดมการณ์ประชาธิปไตยของผู้ผลิตสื่อที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมให้กับกลุ่มชาติพันธุ์พม่า ซึ่งในที่นี้คือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ไทใหญ่ โรฮิงยา และคะฉิ่น เห็นได้จากการสะท้อนให้เห็นประเด็นความรุนแรง ความเลวร้าย ความยุติธรรม และปัญหาเชิงนโยบายในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชาติพันธุ์พม่าเหล่านี้ ด้วยเหตุนี้สื่อทั้งสองประเภทจึงกลายมาเป็นสื่อทางเลือกข้ามพรมแดนที่มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารเรื่องชนกลุ่มน้อยพม่า 3 ประการคือ การสร้างพื้นที่ในการสื่อสาร การเป็นปากเสียงในการเรียกร้อง และการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกลุ่มชาติพันธุ์พม่า นอกจากนี้สื่อทั้งสองประเภทยังมีบทบาทในการต่อสู้ทางการเมืองให้กับชนกลุ่มน้อยพม่าในระดับหนึ่ง ในฐานะเป็นสื่อทางเลือกที่นำเสนอข้อเท็จจริงเป็นภาษาไทย และอยู่ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงการเป็นสื่อออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และสะดวก ส่งผลให้สื่อดังกล่าวกลายเป็นสื่อที่ถูกเลือกนำไปศึกษา อ้างอิงในเนื้อหา เอกสารตำรา หนังสือวิชาการ บทความข่าว และสื่ออื่นๆ ดังนั้นจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองในระดับเล็กๆ ที่สามารถขยายกว้างออกไปโดยกลุ่มผู้ใช้สื่อ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ ผู้สนใจเรื่องพม่า และหน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research applies qualitative research method aiming to study ideology of media ownership and the role of cross-border alternative media, to communicate about minorities in Myanmar. This media is tool for fighting over political struggle among ethnic minorities in Myanmar’s democratization. The case study of Salween Post journals and Salween News Online website between 2010 and 2012 shows that the cross-border alternative media reflects an ideology of media ownership in establishing justice to Myanmar's ethnic minorities ; i.e. Karen, Taiyai, Rohingya, and Kachin. Both Salween Post journal and Salween News Online website reveal problems and impacts occurring to Myanmar’s ethnic minorities such as violence, unfairness, as well as policy problems. Hence, alternative media, Salween Post journal and Salween News Online website noticeably has important roles in communication about minorities in Myanmar in three issues: constructing the area of communication, increasing voice of the voiceless groups, and understanding Myanmar's ethnic minorities’ situation. Both alternative media supportively pave way for an involvement of ethnic minorities in political activities especially political struggles in their country. These media are also intended to reach various audiences in Thailand as their publications are in Thai language and their publications are readily available in every university in Thailand. Moreover, their online data is simply accessed. Unsparingly, both Salween Post journal and Salween News Online website become most popular used in studying, referencing in academic documents as well as other media. Predictably, to some certain degree, both Salween Post journal and Salween News Online website have significant roles in tackling political struggle in Myanmar and eventually become substantial foundation for other users such as students, professor, academic, humanitarian organizations, and those who are interested in Myanmar studiesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1853-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสื่อมวลชนกับชนกลุ่มน้อย -- พม่าen_US
dc.subjectการพัฒนาประชาธิปไตย -- พม่าen_US
dc.subjectชนกลุ่มน้อย -- พม่าen_US
dc.subjectสื่อทางเลือกen_US
dc.subjectอุดมการณ์ทางการเมืองen_US
dc.subjectMass media and minorities -- Myanmaren_US
dc.subjectDemocratization -- Myanmar-
dc.subjectMinorities -- Myanmar-
dc.subjectAlternative mass media-
dc.subjectPolitical ideologies-
dc.titleบทบาทของสื่อทางเลือกข้ามพรมแดนในประเทศไทย ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยของพม่า : ศึกษากรณีวารสารสาละวินโพสต์ และเว็บไซต์สาละวินนิวส์ออนไลน์en_US
dc.title.alternativeThe role of cross-border alternative media in Thailand in the democratization process of Myanmar : a case study of the Salween Post Journal and Salween News Online Websiteen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการปกครองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPitch.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1853-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punyawan_ji.pdf8.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.