Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52956
Title: การเปรียบเทียบผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ของโมเดลโลจิสติก แบบสองพารามิเตอร์ระหว่างวิธีของเบส์กับวิธีแมกซิมัมไลด์ลิฮูด
Other Titles: A comparison of parameter estimaition of the two parameter logistic model between bayesian and maximum likelthood method
Authors: วินัย วงศ์ฤทัยวัฒนา
Advisors: สุภาพ วาดเขียน
ชูศักดิ์ ขัมภลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
สถิติทดสอบที
การประมาณค่าพารามิเตอร
ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
ทฤษฎีการตัดสินใจทางสถิติของเบส์
Logistic regression analysis
t-test (Statistics)
Parameter estimation
Item response theory
Bayesian statistical decision theory
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ของโมเดลโลจิสติกแบบสองพารามิเตอร์ระหว่างวิธีของเบส์กับวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนของอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ปีการศึกษา 2531 จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีของเบส์และวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูด ประมาณค่าพารามิเตอร์ของโมเดลโลจิสติกแบบสองพารามิเตอร์ การเปรียบเทียบผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ใช้ค่าสถิติที (t-test) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณค่าด้วยวิธีของเบส์กับค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณค่าด้วยวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูดใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.ค่าอำนาจจำแนก (a) ที่ประมาณค่าด้วยวิธีของเบส์และวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูดมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.ค่าความยาก (b) ที่ประมาณค่าด้วยวิธีของเบส์และวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูดมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 3. ค่าอำนาจจำแนกที่ประมาณค่าด้วยวิธีของเบส์และวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) 4. ค่าความยากที่ประมาณค่าด้วยวิธีของเบส์และวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01)
Other Abstract: The purpose of this study was to compare parameter estimation of the Two-Parameter Logistic Model between Bayesian and Maximum Likelihood method. The sample group of this study consisted of 323 Prathom Suksa 6 students of academic year 1988 in school of Amphoe Manorom, Chainat province. The Prathom 6 mathematics test was constructed by the author. Bayesian and Maximum Likelihood estimation method were employed to estimate parameters of the Two-Parameter Logistic Model. T-test and Pearson Product Moment Correlation were used as the statistical methods of analysis. [T]he results were as follows: 1.There was no statistically significant difference between the Bayesian estimates of the discrimination parameter (a) and the Maximum Likelihood estimates of the discrimination parameter (a). 2.There was significant difference between the Bayesian estimates of the difficulty parameter (b) and the Maximum Likelihood estimates of the difficulty parameter (b) (P<0.05). 3.There was a significant relationship between the Bayesian estimates of the discrimination parameter and the Max[i]mum Likelihood estimates of discrimination parameter (P<0.01). 4.There was a significant relationship between the Bayesian estimates of the difficulty parameter and the Maximum Likelihood estimates of the difficulty parameter (P<0.01).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52956
ISBN: 9745772569
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winai_wo_front.pdf963.31 kBAdobe PDFView/Open
Winai_wo_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Winai_wo_ch2.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Winai_wo_ch3.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Winai_wo_ch4.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Winai_wo_ch5.pdf746.25 kBAdobe PDFView/Open
Winai_wo_back.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.