Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52968
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐนิภา คุปรัตน์-
dc.contributor.authorวิทยา คู่วิรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-06-13T07:57:45Z-
dc.date.available2017-06-13T07:57:45Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745681369-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52968-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการบริหารโรงเรียนคาทอลิกอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนมัธยมศึกษาคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวน 13 โรงเรียน ประชากรได้แก่ผู้บริหารซึ่งประกอบด้วย ผู้จัดการ และครูใหญ่ จำนวน 19 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างประชากรได้แก่ครูผู้สอนซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าหมวด และ ครูสอนรายวิชา จำนวน 260 คน รวมประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ประเภทคือ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง ใช้สัมภาษณ์ผู้บริหาร แบบสอบถาม ใช้สอบถามครูผู้สอน เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า และการวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ใช้สัมภาษณ์ผู้บริหารจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 89.47 และแบบสอบถามส่งให้ครูผู้สอนจำนวน 260 ฉบับ ได้รับคืนในสภาพที่สมบูรณ์ จำนวน 252 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.92 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัย การศึกษาปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการบริหารโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เขตกรุงเทพมหานคร ในเรื่อง การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารบุคคล การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน และ การงบประมาณ ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารตามแนวความคิดของ กูลิค (Gulick 1937 : 13) โดยสรุปผลได้ดังนี้ จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและการวิเคราะห์เอกสาร พบว่า 1. การวางแผน โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาขึ้นเองอย่างชัดเจน โดยเน้นที่การพัฒนาทางด้านคุณภาพการเรียนการสอน คุณธรรม จริยธรรม และ ระเบียบวินัย การปฏิบัติตามนโยบาย ทำได้ทุกประการเป็นส่วนใหญ่ มีการทำแผนปฏิบัติการประจำปีทุกโรงเรียน ส่วนแผนระยะยาว มีทำเป็นส่วนน้อย การทำแผนนั้นผู้จัดการและครูใหญ่ เป็นผู้จัดทำเองเป็นส่วนใหญ่ นอกนั้น ทำโดยคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ปัญหาในด้านการทำแผน คือ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามแผน 2. การจัดองค์การ ทุกโรงเรียนมีการกำหนดโครงสร้างการบริหารไว้ โรงเรียนมีคณะกรรมการบริหารโรงเรียนที่ประกอบด้วย ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่ และ หัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ ปัญหาที่พบในการจัดองค์การคือ เกิดความซ้ำซ้อนในหน่วยงานหรือฝ่ายต่าง ๆ ผู้ที่ได้รับการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ มิได้ปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย 3. การบริหารบุคคล ทุกโรงเรียนมีการวางแผนกำลังคน แต่ยังไม่เป็นระบบการสรรหาบุคคลใช้วิธีการสอบ สัมภาษณ์ และทดลองปฏิบัติงาน ปัญหาทางด้านบุคลากร พบว่ามีปัญหาอยู่บ้างคือ บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ตรงกับที่ได้รับมอบหมาย บุคลากรไม่เต็มใจไปรับการอบรม 4. การอำนวยการ ทุกโรงเรียนมีการตัดสินใจโดยผู้บริหารเองเป็นส่วนใหญ่ และมอบอำนาจให้ผู้บริหารระดับรองลงมา เป็นผู้ตัดสินใจ เป็นอันดับรองลงมา ปัญหาในการอำนวยการพบว่า ที่มีปัญหาอยู่บ้างคือ การสั่งการไม่ชัดเจน ผู้บริหารไม่มีเวลาในการควบคุมการปฏิบัติงานของบุคลากร 5. การประสานงาน ทุกโรงเรียนมีวิธีการประสานงานโดย ผู้บริหารทำหน้าที่ประสานงานกับบุคลากรโดยตรงเป็นส่วนใหญ่ รองลงมา ประสานงานโดยผ่านทางหัวหน้างาน ปัญหาในด้านการะสานงาน พบว่า ทำได้ไม่ทั่วถึง และการสื่อสารไม่ถูกต้องและชัดเจน 6. การรายงาน ทุกโรงเรียนมีการรายงานโดยการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และรายงานด้วยวาจา ปัญหาในด้านการรายงานพบว่า มีการรายงานไม่ชัดเจน ไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง 7. การงบประมาณ ทุกโรงเรียนมีวิธีการจัดทำงบประมาณโดยจัดตามความจำเป็นและเหมาะสมเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาในด้านการงบประมาณ พบว่า ฝ่ายหรือหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ได้เสนองบประมาณ การใช้งบประมาณเกินจากที่ขออนุมัติ และการควบคุมการใช้งบประมาณไม่ทั่วถึง จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้สอน พบว่า กระบวนการบริหาร ทั้ง 7 ด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย-
dc.description.abstractalternativeThe analysis was done by calculating the frequency rate, percentage, average and standard deviation. Conclusion The studies of problems relating to management process of Catholic schools under the supervision of Bangkok Archdiocese on their planning, organizing, staffing, directing, coordinating, reporting and budgeting which are the management process introduced by Gulick (1937:13) can be concluded as follows: The structured interview of the management process and the document analysis yielded the following results: 1.Planning: The schools have clearly devised educational policies with an emphasis on the qualities of teaching and learning process, moral principles and conduct, as well as discipline and order. The implementation of the policies have mostly been accomplished. Annual plannings were mostly done. Nevertheless, the long-term planning were still unpopular. Most of the planning were completed by the directors and the principals. Some were devised by the school administrative boards. Problems regarding planning include the lack of knowledge, understanding and cooperation in planning implementation by personnels. 2.Organizing: Every school has set its own administrative structure. The school personnel consists of a person authorized with the license, Director, Principal and various department heads. Prevalent problems in the organization include the overlapping in the working of each department and the irresponsibilities of those who have been authorized and assigned to do certain duties. 3.Staffing: Every school has its own planning on staffing. Recruitment includes written tests, interviewing and probationary period. Problems found in staffing were the inabilities of personnel in accomplishing their tasks as assigned and their unwillingness to attend the inservice training. 4.Directing: The decision-making of each school is usually done by its administrator, who then authorizes his assistant to make subsequent decision. Problems in this category include the ambiguity in giving orders and the inadequate supervision of the administrators over personnels. 5.Coordinating: Every school’s coordination is mostly done by direct coordination between its administrators and personnels; Sometimes through the department heads. Obstacles in coordination are the inadequacy of communication and the lack of accurate and clear communications. 6.Reporting The report-makings of each school includes written records as well as verbal reports. Problems usually found are reports which were either unclear or contradictory to reality. 7.Budgeting: The budget planning of each school is normally done according to the necessity or appropriateness. Problems encountered are related to the failure of each department to propose its annual budget, the overspending of the budget permitted and the inability to control the spending. From the questionnaires answered by the teachers, it is apparent that problems concerning the 7 management process are far and few in numbers.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียนคาทอลิก -- ไทยen_US
dc.subjectโรงเรียนคาทอลิก -- การบริหารen_US
dc.subjectนิกายคาทอลิก -- การศึกษาen_US
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหารen_US
dc.subjectCatholic schools -- Thailanden_US
dc.subjectCatholic schools -- Administrationen_US
dc.subjectCatholic Church -- Educationen_US
dc.subjectSchool management and organizationen_US
dc.titleการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการบริหารโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe study of problems relating to management process of catholic schools under the supervision of Bangkok archdioceseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wittaya_ko_front.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_ko_ch1.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_ko_ch2.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_ko_ch3.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_ko_ch4.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_ko_ch5.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_ko_back.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.