Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52975
Title: | พัฒนาการในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของไทยในระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2475-2526 |
Other Titles: | Development of the organizing of secondary education in Thailand under the democratic governance B.E.2475-2526 |
Authors: | วิทยา นิยมกูล |
Advisors: | ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อมรชัย ตันติเมธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การศึกษาขั้นมัธยม -- ประวัติ การศึกษาขั้นมัธยม -- ไทย โรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย Education, Secondary -- History Education, Secondary -- Thailand High schools -- Thailand |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาความเป็นมา การเปลี่ยนแปลง และความเหมาะสมของการจัดมัธยมศึกษาไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ประชาธิปไตยเป็นต้นมา ผลการวิจัยพบว่า ช่วงแรกของสมัยประชาธิปไตย (พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๘๙) มีนโยบายสร้างความเสมอภาคในโอกาสเรียนมัธยมศึกษา ส่งเสริมประชาธิปไตยและความเป็นพลเมืองดี เน้นองค์สามคือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา หลักสูตรจัดเป็นวิชาย่อย การสอนยึดการท่องจำตำราและจดบันทึกคำสอนของครู ประเมินผลด้วยระบบร้อยละ หน่วยงานบริหารมัธยมศึกษาคือกองโรงเรียนรัฐบาล กรมสามัญศึกษาขยายจำนวนโรงเรียนมัธยมศึกษามากขึ้น แต่ตัดสองชั้นสุดท้ายไปให้มหาวิทยาลัยจัดด้วยหวังให้คนหันไปเรียนอาชีวศึกษาได้ง่ายขึ้น มีคุรุสภาบริหารงานบุคคล ส่งเสริมคุณวุฒิและตำแหน่งครูอาจารย์ให้ก้าวหน้ามั่นคงแต่มีงบประมาณน้อย ช่วงตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สองถึงเริ่มปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๕๑๖) ยังคงมีนโยบายสร้างความเสมอภาค เน้นองค์สี่คือเพิ่มหัตถศึกษาเข้ามาด้วย และความต้องการกำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศ หลักสูตรยึดสังคมและประสบการณ์รวมวิชาย่อยเข้าเป็นหมวด เรียนด้วยการทำจริง การประเมินผลยังคงใช้ระบบร้อยละ หน่วยงานบริหารมัธยมศึกษาคือกองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นให้ทั่วถึงทุกอำเภอ มีการเปิดสอนผลัดบ่าย นำชั้นเตรียมอุดมศึกษากลับมาจัดเองแทนมหาวิทยาลัย และมีโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายรูปแบบ ระยะนี้มีงบประมาณมากขึ้น คุณวุฒิและตำแหน่งของครูดีขึ้น สมัยปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๒๖) มีนโยบายการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม เน้นประชาธิปไตย จริยศึกษา พลศึกษา การงานอาชีพ และบูรณาการ มุ่งให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น รักการทำงาน หลักสูตรกว้างมีวิชาบังคับและวิชาเลือกซึ่งจัดตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถได้หลายแบบ การสอนยึดจุดประสงค์การเรียนรู้ ประเมินผลเป็นรายวิชาด้วยระบบหน่วยการเรียน หน่วยงานบริหารมัธยมศึกษาคือกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา มีคณะกรรมการข้าราชการครูบริหารงานบุคคล ครูเจริญก้าวหน้าด้านคุณวุฒิและตำแหน่งมากขึ้น จัดว่าความพยายามส่วนรวมเรื่องนโยบาย หลักสูตร องค์การและปัญหาของชาติ มีความสอดคล้องกันตลอดมา แนวโน้มในอนาคตจะมีการเน้นการทำงานและอาชีพอิสระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปรับปรุงเกี่ยวกับรายวิชา ระเบียบประเมินผล การมอบอำนาจสู่จังหวัดและโรงเรียนมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการมัธยมศึกษาไทยในช่วงระยะเวลาที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๕๒๖ ๒. เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงแนวคิดและวิธีการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของไทยในแต่ละยุคสมัยของช่วงเวลาดังกล่าว ๓. เพื่อวิเคราะห์สาเหตุและผลตลอดจนความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว วิธีดำเนินการวิจัย ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ๑. กำหนดปัญหา สร้างกรอบความคิดเบื้องต้นในการค้นคว้าโดยแบ่งระยะเวลาของเรื่องที่ศึกษาออกเป็นช่วงสมัยต่าง ๆ ตามสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด และเลือกองค์ประกอบทางการบริหารการศึกษาเป็นประเด็นพิจารณา ๒. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิและแหล่งทุติยภูมิ ซึ่งเป็นเอกสารในรูปต่าง ๆ เช่น หนังสือ บทความจากวารสาร รายงานการประชุม สัมมนา วิทยานิพนธ์และงานวิจัย กฎหมาย ระเบียบและคำสั่งต่าง ๆ ทางราชการ และการสัมภาษณ์ในขอบข่ายที่เกี่ยวข้อง ๓. วิเคราะห์ข้อมูล ๔. อภิปราย สร้างข้อสมมุติเพื่ออธิบายปรากฏการณ์และอภิปรายความหมาย สรุปผลการค้นพบเรียบเรียงเป็นรายงานการวิจัย สรุปผลการวิจัย การจัดมัธยมศึกษาในช่วงแรกของสมัยที่ประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองมาอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยนี้มีนโยบายสร้างความเสมอภาคในโอกาสเรียนมัธยมศึกษาให้เท่าเทียมกัน มุ่งพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ความเป็นประชาธิปไตย จริยธรรม เน้นองค์สามคือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และเน้นให้คนหันไปเรียนอาชีพแทนมุ่งมหาวิทยาลัย หลักสูตรแยกออกเป็นวิชาย่อย ๆ ตามความเชื่อเพื่อฝึกให้ชำนาญพื้นฐานเฉพาะด้านแล้วจะรวมกันเป็นความสามารถสูงขึ้นเอง มีการประเมินผลแบบให้ผ่านเกณฑ์ครึ่งหนึ่งของคะแนนรวมทุกวิชา เน้นการใช้วิชาสังคมศึกษาให้พัฒนาประชาธิปไตย การเรียนการสอนยึดครูเป็นศูนย์กลางและเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ยึดทฤษฎีการเรียนรู้แบบเก่าของนักจิตวิทยา ซึ่งได้จากผลการทดลองกับสัตว์ ภาพรวมส่วนใหญ่ของวิธีสอนที่ครูใช้คือ ให้ท่องจำตำราและจดบันทึกคำสอนของครู การจัดองค์การมีลักษณะสอดคล้องรับกับนโยบายและหลักสูตร ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของประเทศขณะนั้น กล่าวคือขยายการจัดตั้งโรงเรียนให้มีจำนวนมากขึ้น ตัด ๒ ชั้นปีสุดท้ายไปให้มหาวิทยาลัยจัด เรียกว่าเตรียมอุดมศึกษา เพื่อหันเหคนไปเรียนอาชีพมากขึ้น มีหน่วยงานเจ้าสังกัด คือกองโรงเรียนรัฐบาล กรมสามัญศึกษา ส่วนการบริหารงานบุคคล ขึ้นกับคุรุสภา ซึ่งทำหน้าที่แทน ก.พ. ครูอาจารย์มีความมั่นคงทางราชการและเริ่มมีความเจริญก้าวหน้าทางตำแหน่งและคุณวุฒิ แต่ด้านการงบประมาณในช่วงนี้มีน้อย ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงก่อนปฏิรูปการศึกษายังคงมีนโยบายสร้างความเสมอภาคในโอกาสเรียนมัธยมศึกษาเท่าเทียมกันมากขึ้น เน้นองค์สี่คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา หัตถศึกษา มุ่งมีศีลธรรมจรรยาประชาธิปไตย พลศึกษา และเชิงอาชีพมากขึ้น มุ่งพัฒนาโรงเรียนส่วนภูมิภาค ความคิดของชุมชนมุ่งให้เป็นคนดีเช่นเดียวกับยุคที่แล้ว แต่เพิ่มเรื่องเป็นกำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ ส่วนที่สอนอาชีพโดยตรงจัดเป็นโรงเรียนมัธยมสายอาชีวศึกษาของกรมอาชีวศึกษา หลักสูตรมัธยมศึกษายึดประสบการณ์และสังคมเป็นหลัก เน้นให้ได้รับประสบการณ์ตรง ให้เรียนด้วยการกระทำหรือปฏิบัติจริง การแยกเป็นวิชาย่อยเริ่มเปลี่ยนมารวมเข้าด้วยกัน เป็นหมวดวิชาหรือวิชารวมตามความเชื่อเรื่องบูรณาการ มีการเก็บคะแนนเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินผลตลอดปีเป็นการเรียนการสอนแบบพิพัฒนาการ สอดคล้องนโยบายสมัยนั้น การจัดองค์การก็สนองนโยบายและหลักสูตรเช่นกัน คือขยายการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาให้มีมากขึ้น กระจายไปถึงทุกอำเภอและเพิ่มปริมาณในรูปเปิดสอนผลัดบ่ายด้วย รวมทั้งรับชั้นเตรียมอุดมศึกษาที่เคยมอบไว้กับมหาวิทยาลัยกลับคืนมาจัดเอง มีการจัดกรมเจ้าสังกัดเป็นกรมวิสามัญศึกษา กองซึ่งเป็นผู้ดูแลโดยตรงคือกองโรงเรียนรัฐบาล มีโครงการพิเศษในรูปต่าง ๆ เพื่อพัฒนาโรงเรียนในขณะที่ระดับชาติกำลังมุ่งพัฒนาประเทศทางวัตถุเช่นสิ่งก่อสร้าง ถนนหนทาง สาธารณูปโภค งบประมาณการศึกษาก็มากจนนำหน้ากระทรวงอื่นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งมีเงินช่วยเหลือในรูปให้กู้ยืมจากต่างประเทศด้วย ตำแหน่งและคุณวุฒิครูอาจารย์ก็ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เป็นข้าราชการชั้นเอกได้มากขึ้นในกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนก็เป็นได้ถึงชั้นพิเศษ ด้านคุณวุฒิก็มีโอกาสเรียนต่อระดับปริญญาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และการเปิดสอนภาคค่ำมากขึ้น ในตอนท้ายของช่วงสมัยเรื่องตำแหน่งมีการเปลี่ยนแปลงจากระบบชั้นเป็นระบบระดับตามการจำแนกตำแหน่ง การจัดในเรื่ององค์การ หลักสูตรและนโยบายมีความสอดคล้องรับกัน สมัยปัจจุบันอันเป็นช่วงที่มีการปฏิรูปการศึกษาเกิดนโยบายการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมคือมุ่งให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ และรักการทำงาน ยังคงเน้นการมีความเสมอภาคแต่เพิ่มการเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณและเน้นที่คุณภาพมากกว่าเดิม ทั้งยังเน้นความเป็นพลเมืองดี ความเป็นประชาธิปไตย จริยศึกษาและพลศึกษา เช่นเดียวกับหลักสูตรเดิม แต่หลักสูตรใหม่นี้เป็นหลักสูตรกว้างที่ไม่แบ่งแยกเป็นแผนกวิทยาศาสตร์ แผนกอักษรศาสตร์หรือศิลปะ และแผนกทั่วไป เหมือนช่วงสมัยที่ผ่านมาแล้ว แต่สามารถจัดแผนการเรียนประกอบด้วยวิชาเลือกต่าง ๆ กันโดยมีวิชาบังคับครบได้มากมายหลายลักษณะ หลักสูตรสมัยนี้มีจุดที่เน้นมากกว่าเดิม คือพลศึกษา กิจกรรม และการงานอาชีพ รวมทั้งหลักการในเรื่องบูรณาการ ระบบการเรียนการสอนและประเมินผลเป็นแบบหน่วยการเรียนซึ่งเข้ามาแทนที่ระบบคะแนนต่อร้อย ซึ่งสร้างความเป็นธรรมและลดความสิ้นเปลืองให้แก่นักศึกษามากขึ้น การสอนในปัจจุบันยึดสังคม สมัยนี้มีกองการมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเป็นหน่วยควบคุมดูแลส่งเสริม การจัดสรรงบประมาณมีมากเช่นเดียวกับสมัยประชาธิปไตยช่วงที่สอง การบริหารงานบุคคลมีคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) เป็นผู้จัดแทนที่องค์การเก่าคือคุรุสภา ครูอาจารย์มีความเจริญก้าวหน้าด้านตำแหน่งและคุณวุฒิขึ้นมากในกลุ่มครูผู้สอนก็เลื่อนไปได้ถึงระดับสูงเท่าชั้นพิเศษในอดีต ผลของการจัดองค์การ หลักสูตรและนโยบายสอดคล้องกัน แนวโน้มในอนาคตของการมัธยมศึกษาที่คาดว่าจะมี คือการปรับเนื้อหาบางรายวิชาและเพิ่มรายวิชาให้เหมาะสม การปรับปรุงระเบียบ วิธีประเมินผล การเน้นมากขึ้นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนกับการทำงาน เรื่องวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การมอบอำนาจสู่ระดับจังหวัดและโรงเรียนมากขึ้น เป็นต้น |
Other Abstract: | This study was to analyze and discuss the events and historical changes in the organizing of Thai secondary education from the revolutionary year B.E.2475 up to B.E.2526 through democratic governance. During the first period (B.E.2475-2489) the policy was on equality of educational opportunity for all Thai and fostering good citizenship, democracy, and ethic. Tripartite development (academic, ethical, physical) was emphasized. Subject curriculum was implemented to develop basic background. Fifty percent as pass rate, teacher center and subject matter oriented, memorization and note taking were practised as in the past. Two final years of secondary education was transformed to university preparatory classes under university administration. Secondary schools were under General Education Department. Teachers’ Council was responsible for personnel administration. Budgetory provision was inadequate. During the second period (B.E.2490-2516) the policy of equality was strengthened. Quadruple development (academic, ethical, physical, manual) and manpower development were emphasized. Experiences and society were stressed. Formative and summative test and percentage system were used. More schools were opened, two shifts were organized, pre-university classes were brought back and special development programs were initiated. The budget was high and added by foreign aid. Teachers’ tenure and professional promotion were better organized. During the contemporary period (B.E.2517-2526) the educational reform stressing on “education for life and society” has been implemented. Core curriculum allows various study programs to suit students’ aptitude. Objectives of learning are stressed. Percentage system was replaced by credit system. The budget was fairly increased. Teacher Civil Service Commission was responsible for personnel administration. Tenure and professional promotion was further better organized. Trend would be the emphasis on career, education for self employment science and technology. Curriculum content and regulations would be modified. Delegation of authority to provinces and schools would be set up and implemented.Purposes of the Study: 1. To study the historical background of Thai Secondary Education under the democratic governance B.E. 2475-2526.2. To study the changes of concepts and administrative organization in Thai secondary education organized during various periods under reviewed. 3. To analyse the causes and outcomes and justifications for changes during the periods under reviewed. Research Procedure: Historical research method was used for this study. Research procedures were as follow: 1. Problem identification Formulate basic conceptual research framework by dividing periods of this research relevant to the outstanding historical changes. Then analizing the events by educational administrative principles accordingly. 2. Collection data Collect data from primary and secondary sources namely laws, and regulations, report of the meeting and seminar, research report, text, articles from journals, and interviews. 3. Analysis Analyze and present data collected from 2 4. Discussion Set up hypothesis to verify the events then discuss and conclude the verified suppositions into findings and research report. Findings:Three periods were broadly divided to describe the development of secondary education in Thailand during the democratic governments. During the first period (B.E.2475-2489) secondary education was regarded as one of the six major resolutions of the government to bring up equality of educational opportunity for all Thai. In addition the government aimed at fostering good citizenship, democracy, and ethic in secondary school students. Tripartite development e.g. academic, ethical and physical were strongly emphasized. Certain measures were made to divert university bound students to enter vocational education. Subject curriculum was implemented in order to develop secondary students basic background strong enough for further professional learning. Criterion reference test, fifty percent as pass rate forevery subject was regulated. Social study was expected to be tool for developing democracy. Teacher centre, subject matter oriented, memorization, and note taking were widely used by teachers and generally acceptably by public. From the middle of this period the two final years of secondary education was transformed to university preparatory classed under university administration. Secondary schools were under the jurisdiction of General Education Department. Personnel administration was responsible by Teachers’ Council which represented the Civil Service commission. In general teachers tenure was secured, while their professional promotion was also satisfactorily administered. Regretably budgetary provision was inadequate. During the second period (B.E.2490-2516), equality of educational opportunity was further strengthened. Quadruple development (academic, ethical, physical, and manual training) was brought up as highlight. Attention was given to develop educational standard in rural schools. Manpower development to synchronize with national development was drawn to the attention of all sectors concerned. Vocational training was responsible by vocational schools under the jurisdiction of vocational Education Department. Experiences and society were stressed in secondary school curriculum thus direct experiences, learning by doing, and core areas were visibly seen. Formative and summative test was introduces. More secondary schools were opened and spreaded to district level. Two shifts (morning and afternoon sessions) were inevitably organized in urban areas since cohort of student flooded secondary schools. Pre-university classes were disbanded and brought back to secondary schools. General Education Department administered all secondary schools. Special programmes were initiated to support secondary schools both in terms of quality and quantity development. Tenure and professional promotion were further well organized. During the contemporary period (B.E.2517-present) educational reform which stresses on “education for life and society” has been widely accepted and implemented. Equality of educational opportunity has been further carried on but quality development is regarded as more important to its quantity counterpart. Core curriculum with a great deal of integration had been constructed and implemented. Thus educational stream i.e. science, art, and general major, was constituted by various study programmes to suit student’s ability, interest, and aptitude. Percentage system was replaced by credit and unit system. Budget has been increasingly provided for expanding secondary schools to service village areas. Teacher Civil Service Commission was authorized to be responsible for personnel administration while Teachers’ Council was empowered to look after teachers’ welfare and professional development. Such changes resulted in better promotion for teachers both in terms of profession and tenure. The foreseeable trend of secondary education is manifold. Administratively decentralization especially decision making should be delegated to provincial and school authorities. Administration by committee represented by various sectors would replace administration by a designated person. Sharing of educational resources among private sectors and government schools as well as among various departments in the Ministry of Education would systematically developed. Curriculum development would be made to diversify content to suit local situations and needs as well as updating concepts and learning experiences to match with rapid progress of science and technology. In addition education for entrepreneurship or self employ would be developed. Instructional situation would be more diversified and various types of instructional media would be introduced. Evaluation and regulations concerning evaluation would accordingly modified to suit advancement educational development mentioned above. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52975 |
ISBN: | 9745686166 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wittaya_ni_front.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wittaya_ni_ch1.pdf | 3.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wittaya_ni_ch2.pdf | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wittaya_ni_ch3.pdf | 8.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wittaya_ni_ch4.pdf | 13.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wittaya_ni_ch5.pdf | 13.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wittaya_ni_ch6.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wittaya_ni_back.pdf | 11.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.