Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5299
Title: | ผลของการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลอง เรื่อง สิทธิผู้ป่วยต่อความตระหนักในสิทธิผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล |
Other Titles: | The effect of teaching using computer based simulation on patients' rights awareness of nursing students |
Authors: | กฤษณา พจสุวรรณ์ |
Advisors: | สุกัญญา ประจุศิลป |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | sukunya.s@chula.ac.th, 79sukunya@usa.net. |
Subjects: | นักศึกษาพยาบาล คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน สิทธิผู้ป่วย สถานการณ์จำลอง (การสอน) ความตระหนัก Nursing students Computer-assisted instruction Patient advocacy Simulated environment (Teaching method) Awareness |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองต่อความตระหนักในสิทธิผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบความตระหนักในสิทธิผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลอง และกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติก่อนขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวน 34 คน จัดกลุ่มตัวอย่างโดยการจับคู่ตามคะแนนความตระหนักในสิทธิผู้ป่วยเป็นกลุ่มทดลอง 17 คน และกลุ่มควบคุม 17 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองที่สร้างขึ้นเพื่อให้ในการวิจัยนี้ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องสิทธิผู้ป่วย และแบบวัดความตระหนักในสิทธิผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งเครื่องมือสร้างขึ้นโดยผู้วิจัยและได้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการหาความตรงและความเที่ยง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความตระหนักในสิทธิผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล หลังการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลอง สูงกว่าก่อนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความตระหนักในสิทธิผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอนก่อนขึ้นฝึกภาคปฏิบัติใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลอง ไม่แตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติก่อนขึ้นฝึกภาคปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this quasi-experimental research were to study effect of teaching using computer based simulation on patients' rights awareness of nursing students and to compare awareness on patients' rights of nursing students who received teaching using computer based simulation and those who received regular teaching method before practice in patients' units. Research sample consisted of 34 second-year nursing students of Prachomklao Nusing College, Petchaburi. Subjects were randomly assigned into one experimental and one control group by matching of awareness score on patients' rights. There were 17 students in each group. The experimental group received teaching by using computer based simulation which was developed by the researcher. Two research instruments consisted of 1) computer based simulation 2) patients' rights awareness test in nursing students. All of them were tested for the validity and reliability. Major findings were as followed: 1. After the experiment, patients' rights awareness of nursing students who were taught by using computer based simulation was significantly higher than before at the .05 level. 2. There were no statistically significant difference between patients' rights awareness of nursing students in experimental group and control group. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5299 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.507 |
ISBN: | 9741311206 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.507 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krisana.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.