Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52990
Title: | บันทึกประสบการณ์ส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคมะเร็ง : คุณค่าและบทบาทในฐานะวรรณกรรมร่วมสมัย |
Other Titles: | Memoirs of cancer patients : values and roles as contemporary literature |
Authors: | อรสุธี ชัยทองศรี |
Advisors: | อารดา กีระนันทน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Arada.K@Chula.ac.th |
Subjects: | มะเร็ง -- ผู้ป่วย มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- บันทึกประจำวัน -- ประวัติและวิจารณ์ วรรณกรรมร่วมสมัย Cancer -- Patients -- Diaries -- History and criticism Cancer -- Patients |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาบันทึกประสบการณ์ส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวน 13 เรื่อง เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงคุณค่าในด้านเนื้อหาและกลวิธีการประพันธ์ รวมไปถึงบทบาทต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง จากการศึกษาวิจัย พบว่าบันทึกประสบการณ์ส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคมะเร็งมีเนื้อหาที่เอื้อประโยชน์หลายประการ บันทึกเหล่านี้กล่าวถึงประสบการณ์ส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการป่วยเป็นโรคมะเร็งทุกขั้นตอน เช่น สาเหตุของการเป็นโรค วิธีการรักษาตลอดจนการดูแลปฏิบัติตนภายหลังการรักษา เป็นต้น นอกจากนี้ บันทึกบางเรื่อง ผู้เล่ายังเพิ่มเติมความรู้ที่ค้นคว้ารวบรวมจากแหล่งต่างๆ มานำเสนอไว้ด้วย และยังแสดงทรรศนะและแนวคิดที่น่าสนใจอีกหลายประการ การใช้กลวิธีการประพันธ์ที่หลากหลายในบันทึกผู้ป่วยโรคมะเร็งมีผลในการเพิ่มคุณค่าและความน่าสนใจให้แก่เนื้อหายิ่งขึ้น บันทึกบางเรื่องมีการนำกลวิธีการประพันธ์บันเทิงคดีมาใช้ร่วมด้วย เช่น การสร้างตัวเรื่องให้มีปมปัญหา จุดพลิกผัน และการคลี่คลายเรื่อง การสร้างตัวละครหรือสถานการณ์สมมติ บางเรื่องก็มีการจำลองสถานการณ์มาเล่า ทำให้เรื่องน่าอ่านและชวนติดตาม เป็นต้น ในส่วนของกลวิธีการใช้ภาษา พบว่าบันทึกเหล่านี้มักใช้ภาษาเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ส่วนใหญ่ผู้เล่ามักจะใช้ภาษาพูดเหมือนกำลังสนทนากับผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านรู้สึกใกล้ชิดและเป็นกันเองกับผู้เล่า เสมือนได้ฟังเรื่องราวจากผู้เล่าโดยตรง บางเรื่องยังมีการสรรคำและการใช้ความเปรียบในการบรรยายหรืออธิบาย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจรายละเอียดของสิ่งที่กล่างถึงอย่างชัดเจนและสมจริง นอกจากนี้ ผู้เล่าส่วนใหญ่ก็มักใช้อารมณ์ขันในการนำเสนอ ทำให้เนื้อหาที่เคร่งเครียดผ่อนคลายลงและไม่น่าเบื่อ กลวิธีการประพันธ์ทั้งหมดนี้จึงมีคุณค่าและสามารถสื่อสารเนื้อหาอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง รวมทั้งมีส่วนในการประเทืองอารมณ์ได้อีกด้วย บันทึกผู้ป่วยโรคมะเร็งมีบทบาทต่อสังคมอย่างสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ บทบาทในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่โรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคมะเร็ง และบทบาทในการเยียวยาผู้ป่วย ในส่วนแรก บันทึกผู้ป่วยโรคมะเร็งได้นำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ เช่น โรคมะเร็งเป็นโรคธรรมดาโรคหนึ่งที่พึงรักษาและต่อสู้ มะเร็งไม่ใช่โรคแต่เป็นระบบเตือนภัยให้แก่ร่างกายคล้ายมิตรสนิท และมะเร็งเป็นโอกาสที่ผลักดันให้คนเราได้พัฒนาคุณค่าของตนให้ดียิ่งขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นมีภาพลักษณ์ว่าเป็นบุคคลที่กล้าหาญและเข้มแข็ง และมีศักดิ์ศรีในตัวเองอย่างเต็มเปี่ยม ในส่วนบทบาทการเยียวยาผู้ป่วยนั้น บันทึกผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นกลไกหนึ่งที่ผู้เขียนใช้เยียวยาจิตใจของตนเองให้คลายความวิตกกังวลและปลอบประโลมให้เกิดกำลังใจได้เป็นอย่างมาก โดยใช้บันทึกเพื่อระบายความคับข้องใจและสารภาพผิด อีกทั้งการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการป่วยเป็นมะเร็งในเชิงบวกยังสามารถปลอบประโลมและเยียวยาจิตใจของผู้เล่าเรื่องเหล่านี้ให้คลายความวิตกกังวลและเกิดกำลังใจได้เป็นอย่างมาก ส่วนผู้อ่านที่เป็นผู้ป่วยนั้นก็สามารถเทียบเคียงประสบการณ์ของตนเข้ากับประสบการณ์ของผู้เล่า และได้รับการเยียวยาได้ด้วยกระบวนการในทำนองเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีผลในการเยียวยาผู้อ่านที่เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคมะเร็งอีกด้วย ด้วยสาเหตุต่างๆ เหล่านี้บันทึกประสบการณ์ส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งเป็นวรรณกรรมร่วมสมัยประเภทหนึ่งจึงมีคุณค่าในการประเทืองปัญญาและอารมณ์ต่อผู้อ่านอย่างกว้างขวาง |
Other Abstract: | The purpose of this thesis was to analyze 13 memoirs of cancer patients in tems of contents and writing techniques as well as their functional roles for cancer patients. The research findings revealed that memoirs of cancer patients had many benefits since they narrated various aspects of cancer patients' personal experiences, ranging from the causes of cancer to treatment experiences and post-treatment patient care. Some memoirs included medical knowledge and useful information that the authors had researched and collected from various sources. These memoirs also presented a large variety of intriguing ideas and themes on cancer. Diverse writing techniques found in the memoirs of cancer patients made them a valuable and unique genre of literature. To make the memoirs more interesting, some authors employed the fiction writing techniques of using predicaments, turning points and expansive plots, while others used invented characters, situations and dialogues. In terms of language, most authors relied on simple and direct conversational language to intimately engage their readers in their stories. In some memoirs, special wording and comparison techniques were used to present detailed description or explanation of the stories in the clear, realistic and believable manners. Moreover, the authors generally used humor to tone down their depressing stories and to keep the readers interested. These writing techniques proved to be effective in communicating the inspiring messages of the memoirs of cancer patients. There are two principal roles of the memoirs of cancer patients: creating positive images of cancer patients and providing a rehabilitation mechanism for cancer patients. In terms of creating positive images for cancer patients, most memoirs in this genre tended to depict cancer as a curable disease not much different from any other diseases, perceiving cancer more like a friendly warning system for one's health than a real disease. The authors tended to regard their predicaments as a valuable opportunity to develop and realize their fullest values. In terms of cancer patient rehabilitation, the narration of cancer illness in positive way in the memoirs became a mechanism through which the authors could relieve their anxiety, improve their mental health and encourage them to fight the cancer. The readers, including patients and people close to them, also benefited from these rehabilitation mechanisms through a comparison of their own experiences with those of the cancer memoir authors. Memoirs of cancer patients, in terms of contemporary literature, had wide appeal among diverse readers for their unique first-hand experiences and informative values. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52990 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.469 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.469 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
orasutee_ch_front.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
orasutee_ch_ch1.pdf | 916.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
orasutee_ch_ch2.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
orasutee_ch_ch3.pdf | 3.93 MB | Adobe PDF | View/Open | |
orasutee_ch_ch4.pdf | 8.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
orasutee_ch_ch5.pdf | 4.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
orasutee_ch_ch6.pdf | 969.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
orasutee_ch_back.pdf | 525.58 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.