Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53007
Title: | พฤติกรรมความคลั่งไคล้ศิลปินนักร้องเกาหลีของวัยรุ่นไทย |
Other Titles: | Korean singers maniac among Thai teenagers |
Authors: | วรนุช ตันติวิทิตพงศ์ |
Advisors: | อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Ubolwan.P@chula.ac.th |
Subjects: | วัยรุ่น -- ไทย วัยรุ่น -- ทัศนคติ นักร้อง -- เกาหลี (ใต้) Adolescence -- Thailand Adolescence -- Attitudes Singers -- Korea (South) |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความคลั่งไคล้ศิลปินนักร้องเกาหลีของวัยรุ่นไทยและปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมความคลั่งไคล้ศิลปินนักร้องเกาหลีของวัยรุ่นไทย รวมทั้งศึกษาควาาสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ และทัศนคติต่อศิลปินนักร้องเกาหลี กับพฤติกรรมความคลั่งไคล้ศิลปินนักร้องเกาหลีของวัยรุ่นไทย กับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 15-25 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและ โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมความคลั่งไคล้ จำนวน 25 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการประมวลผล ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นไทย มีพฤติกรรมความคลั่งไคล้ศิลปินนักร้องเกาหลี โดยหาข้อมูลและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับศิลปินนักร้องเกาหลีที่คลั่งไคล้ โดยส่วนใหญ่ทางสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด มีพฤติกรรมการซื้อและการสะสมของที่ระลึกต่างๆ การไปชมคอนเสิร์ต การติดตามศิลปินนักร้องที่คลั่งไคล้ไปตามสถานที่ต่างๆ ทำของขวัญให้ การผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับศิลปินเพื่อเป็นธุรกิจ การทำเว็บไซต์ของศิลปินนักร้องเกาหลีที่คลั่งไคล้การสร้างพื้นที่ส่วนตัวบนเว็บไซต์ เช่น Blog Hi5 Space Multiply การอ่านหรือการแต่ง Fiction พฤติกรรมการการเลียนแบบท่าเต้น (Cover Dance) และการฝึกฝนหรือเรียนภาษาเกาหลี วัยรุ่นไทย ส่วนใหญ่ มีทัศนคติเชิงบวกต่อศิลปินเกาหลี ในด้านรูปลักษณ์ของศิลปินเกาหลีมากที่สุดรองลงมา คือ ความสามารถทางด้านดนตรีของศิลปิน และด้านกระแสความนิยมเกาหลี ตามลำดับ และมีพฤติกรรมความคลั่งไคล้ศิลปินนักร้องเกาหลีในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมด้านอารมณ์มากที่สุดรองลงมา คือ มีพฤติกรรมการแสดงออกเกี่ยวกับศิลปินนักร้องเกาหลี ตามลำดับ โดยมีระดับความถี่ในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับศิลปินนักร้องเกาหลีจากสื่อบุคคลมากที่สุด รองลงมา คือสื่อมวลชน และการเข้าร่วมกิจกรรมตามลำดับ ปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมความคลั่งไคล้ศิลปินนักร้องเกาหลี คือ เสียเวลา เสียเงิน และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การโกหก การยืมเงินจากผู้อื่น การเสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต ในการติดตามศิลปินนักร้องเกาหลี |
Other Abstract: | The objective of this research work is to look into different facets of Thai teens' obsession with Korean singers, including behaviors of these teens, consequential problems from their behaviors, exposure of the sample group to Korean media, and their attitudes towards the Korean idols. The sample group comprises young Bangkok residents aged 15-25. The research was carried out in two parts: a qualitative study through in-depth interview with 25 Thai teenagers who are infatuated with Korean singers and a quantitative study in form of questionnaire survey among 400 respondents. SPSS program was used as data analysis tool for the quantitative study. The findings reveal that Thai teenagers who are infatuated with Korean singers engage themselves in personal research about their idols, mostly by browsing the Internet. Other activities include hunting for artist-specific collectibles, going to concert of these singers, following them from place to place, crafting items to be given to them as gift, making artist-related items for sale, creating dedicated blogs or online social network, reading and writing about the idols, dong cover dance, and studying Korean language. The majority of Thai teens have positive attitude towards Korean singers, predominantly because of the outer appeal of these teen idols, followed respectively by their talents and the craze for whatever is Korean. The degree of infatuation with Korean idols is moderate among the majority, and the obsession is shown emotionally by most, followed by behavioral expression of their fixation. In terms of exposure to information about the Korean singers they like, personal media was found to be the channel of highest frequency, followed by mass media and participation in organized activities, respectively. Results from the study also suggest that problems which follow craze for Korean teen idols include waste of time and money, undesirable habits of telling lies or borrowing money, and risks from going physically after these singers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53007 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1313 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1313 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5084905228.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.