Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53014
Title: | การขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด : กรณีศึกษากลุ่มผลประโยชน์ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด |
Other Titles: | The area expansion of Maptaphut Indusitrial Estate : case study of interest group whitin Maptaphut Industraial Estate |
Authors: | ธีรพงศ์ ไชยมังคละ |
Advisors: | พุทธกาล รัชธร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Buddhagarn.R@Chula.ac.th |
Subjects: | ทุนนิยม อำนาจรัฐ ขบวนการสังคม การพัฒนาประเทศ -- ไทย การพัฒนาอุตสาหกรรม -- ไทย -- ระยอง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด Capitalism Industrialization Social movements Maptaphut Indusitrial Estate |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | คำถามของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ เหตุใดจึงมีการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในขณะที่ มีรายงานผลกระทบด้านสุขภาพต่อชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบนิคมฯ อันมีสาเหตุมาจาก สารพิษของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินการที่ผ่านมาของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในนิคมฯ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อสุขภาพของชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองคำถามดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้อาศัย กรอบแนวคิด พลังถ่วงดุล (Countervailing power) โดยมีข้อสรุปว่า การขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เกิดขึ้นจากการที่รัฐต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ ก๊าซธรรมชาติ และได้กำหนดแนวทางพัฒนาร่วมกับภาคธุรกิจ โดยหวังว่า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะเป็นฐานนำประเทศไปสู่ความทันสมัย เป็นการร่วมมือกันเชิงโครงสร้างระหว่างอำนาจรัฐ กับอำนาจผูกขาดในธุรกิจปิโตรเคมี เมื่อธุรกิจปิโตรเคมีต้องการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐจึงต้องขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ปราศจากอำนาจถ่วงดุล ยิ่งไปกว่านั้น เป้าหมายการทำธุรกิจ ก็เพื่อแสวงหากำไรสูงสุด มากกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน แม้ว่าฐานคิดพลังถ่วงดุล ตั้งอยู่บนปัญหาการผูกขาด และความพยายามนำอำนาจรัฐออกจากระบบเศรษฐกิจ โดยผู้ที่เสียประโยชน์จากการผูกขาด ต้องสร้างอำนาจขึ้นมาถ่วงดุลเอง แต่ในกรณีของการศึกษานี้ รัฐเลือกเข้าข้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมขยายตัวส่งผลต่อสุขภาพมากขึ้น ชุมชนจึงต้องสร้างพลังขึ้นมาเพื่อถ่วงดุลด้วยตัวเอง |
Other Abstract: | This thesis's question is "why does Maptaphut industrial estates are expanding while villages around the estate are facing severe health problems from environmental toxin contamination?" To answer the question, this study uses John Kenneth Galbraith's countervailing power concept. The conclusion is the expansion of Maptaphut industrial estate is resulted from cooperation between state and business sector in order to develop petrochemical industry to which would benefit both state and petrochemical industry. However, the cooperation is an economical development without countervailing power of Maptaphut villagers. This, eventually, resulted in environmental toxin contamination and villagers' severe health problem. Theoretically, the countervailing power concept proposed that monopoly problem can be solved by creation of countervailing power by the business stake-holder without state involvement, however; state chooses to support business sector in the Maptaphut industrial estate case. Therefore; state needs to protect itself from the environmental toxin contamination problem by creating its own countervailing power. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53014 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.77 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.77 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
teerapong_ch_front.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
teerapong_ch_ch1.pdf | 830.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
teerapong_ch_ch2.pdf | 6.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
teerapong_ch_ch3.pdf | 6.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
teerapong_ch_ch4.pdf | 571.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
teerapong_ch_back.pdf | 3.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.