Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53027
Title: การคุ้มครองความเชื่อถือและความไว้วางใจของผู้รับคำสั่งทางปกครอง
Other Titles: The protection of legitimate expectation in administrative decisions
Authors: เกียรติไกร ไกรแก้ว
Advisors: ณรงค์เดช สรุโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: suchada.ki@acc.chula.ac.th
Subjects: ปกครอง -- ไทย -- การคุ้มครอง
ปกครอง -- เยอรมัน -- การคุ้มครอง
วิธีพิจารณาปกครอง
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
หลักความสุจริต
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายมหาชนว่าด้วยการคุ้มครองความเชื่อถือและความไว้วางใจในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองของปัจเจกชนผู้รับคำสั่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะด้านหนึ่งกับประโยชน์ของเอกชนอีกด้านหนึ่ง เพื่อไม่ให้ปัจเจกชนผู้รับคำสั่งที่สุจริต ต้องแบกรับภาระเกินสมควรหรือเสียสิทธิประโยชน์อันควรได้รับอย่างไม่เป็นธรรมจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง และแม้ว่าการเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวจะมีขึ้นเพื่อรักษาไว้ซึ่งหลักความชอบด้วยกฎหมายหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ แต่ฝ่ายปกครองก็ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองความเชื่อถือและความไว้วางใจในความคงอยู่ในสิทธิประโยชน์ของปัจเจกชนผู้สุจริตอันเนื่องมาจากการได้รับคำสั่งดังกล่าวด้วย ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าหลักสุจริตถือเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ฝ่ายปกครองและศาลของไทย อาจนำมาปรับใช้ในการคุ้มครองประโยชน์ของปัจเจกชนที่สุจริตมิให้ได้รับความเสียหายอย่างไม่เป็นธรรมจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองตั้งแต่ก่อนมีการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หลักการนี้ มีพื้นฐานคล้ายคลึงกับหลักการคุ้มครองความเชื่อถือและความไว้วางใจในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองของปัจเจกชนผู้รับคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ค.ศ.1976 ของประเทศเยอรมัน อันเป็นต้นแบบของมาตรา 49 ถึงมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 อย่างไรก็ดี การนำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้ส่งผลให้หลักกฎหมายและนิติวิธีในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองโดยฝ่ายปกครองและการควบคุมตรวจสอบการเพิกถอนดังกล่าวโดยศาลมีความชัดเจนยิ่งขึ้นในแง่ที่ว่าต้องพิจารณาประสานประโยชน์ระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของเอกชน โดยคำนึงถึงความเชื่อถือและความไว้วางใจในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองของปัจเจกชนผู้รับคำสั่งด้วย แตกต่างไปจากเดิมที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรกำหนดไว้ทำให้บางครั้ง ฝ่ายปกครองหรือแม้แต่ศาลพิจารณาวินิจฉัยโดยยึดถือเฉพาะหลักความชอบด้วยกฎหมายและหลักประโยชน์สาธารณะแต่เพียงด้านเดียว แต่แม้กระนั้นก็ตาม จากการศึกษาคำวินิจฉัยของศาลและหน่วยงานฝ่ายปกครองต่าง ๆ ของไทยจนถึงปัจจุบัน พบว่า ส่วนมากยังคงมิได้นำหลักการคุ้มครองความเชื่อถือและความไว้วางใจในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองของปัจเจกชนผู้รับคำสั่งมาปรับใช้แก่กรณี และยังมีความไม่ชัดเจนในการปรับใช้หลักกฎหมายดังกล่าวอีกด้วย
Other Abstract: The purpose of this master thesis is to examine a principal of public laws with regard to the protection of legitimate expectation of individuals who have received, or been affected by, administrative decisions. The essence of the principle is to strike the balance between the public interest, on the one hand, and the private interest, on the other, so that those individuals will not be overburdened or unfairly aggrieved by the revocation of such decisions. Although the revocations is done for upholding the principal of legality or safeguarding the public interest, when making such a judgment, the state authority in charge must take into account an acquired right of the bona fide recipient of the decisions. It is shown in this study that the notion of “Good Faith” is a general principle of laws which has possibly been invoked by administrative agencies and courts in Thailand in order to protect bona fide individual from being unfairly damaged by the revocation of an administrative decision. That has been the case even before the enactment of the Administrative Procedure Act of 1996. This notion is fundamentally similar to the principal of legitimate expectation in administrative as appeared in the German Administrative Procedure Act(Verwaltungsverfahrengesetz) of 1976 which was used as a model law for drafting section 49 to section 53 of the Administrative Procedure Act of 1996. More importantly, the incorporation of such principle into the Thai act gives rise to the more unambiguous legal principle and method for the decision-making process of revocation by administrative agencies and the scrutiny of such revocation by courts in that they must strike the balance between the public interest and the private interest in light of legitimate expectation of those to whom the revoked decision addressed. Nonetheless, given judicial and administrative decisions to date, most of them failed to protect the legitimate expectation, or otherwise, confused the matter with wrongful acts as a result of exercising the state’s power, which have differing legal characters.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53027
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1981
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1981
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
keitkrai_kr_front.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
keitkrai_kr_ch1.pdf725.5 kBAdobe PDFView/Open
keitkrai_kr_ch2.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
keitkrai_kr_ch3.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open
keitkrai_kr_ch4.pdf8.71 MBAdobe PDFView/Open
keitkrai_kr_ch5.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open
keitkrai_kr_back.pdf418.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.