Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53079
Title: | การติดตามผลการนำระบบการก่อสร้างสำเร์จรูปมาใช้ในโครงการบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว |
Other Titles: | Monitoring of prefabrication system application for detached houses in a housing project |
Authors: | ศุภวิศท์ สุขวดี |
Advisors: | สุปรีชา หิรัญโร ชวลิต นิตยะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Supreecha.H@chula.ac.th Chawalit.N@Chula.ac.th |
Subjects: | บ้านจัดสรร บ้านสำเร็จรูป Prefabricated houses |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้ เป็นการติดตามการนำระบบการก่อสร้างสำเร็จรูป มาใช้ในโครงการบ้านจัดสรร ประเภทบ้านเดี่ยว ทั้งในด้านของผู้ประกอบการ ในส่วนของผลิตภัณฑ์และการก่อสร้าง ด้านผู้บริโภคศึกษาถึงปัญหาทางกายภาพหลังจากการเข้าอยู่อาศัย โดยศึกษาโครงการบ้านจัดสรร ประเภทบ้านเดี่ยว โครงการแรกของผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำในการก่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยด้วยระบบสำเร็จรูปในเฟสที่ 1 จำนวน 97 หลังคาเรือน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจทางกายภาพ การบันทึกภาพถ่าย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ จำนวน 30 หลังเรือน จากการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการให้การยอมรับในการนำระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปมาใช้ โดยต้องมีการบริหารจัดการที่ดี และการก่อสร้างต้องมีจำนวนมากเพียงพอที่คุ้มค่าต่อการลงทุนผลิต มีการบริหารจัดการด้านการตลาดที่มีความสมดุล ระหว่างจำนวนของบ้านจัดสรรที่ผลิตออกมากับการความสามารถในการขาย ส่วนปัญหาที่สำคัญหลังการส่งมอบบ้านให้แก่ผู้บริโภค คือ ปัญหารั่วซึมหรือแตกร้าวตามรอยต่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป เกิดจากการควบคุมคุณภาพในการก่อสร้างเนื่องจากขณะก่อสร้าง ผู้ประกอบการจัดจ้างผู้รับเหมาหลายชุด ดำเนินการก่อสร้างและมีกรอบระยะเวลาอันจำกัด รวมถึงเป็นโครงแรกที่ผู้ประกอบการนำระบบการก่อสร้างสำเร็จรูป แบบแผ่นผนังรับน้ำหนักมาใช้ก่อสร้างบ้านเดี่ยว จึงขาดทักษะและความชำนาญ ในด้านผู้บริโภคให้การยอมรับการอยู่อาศัยบ้านจัดสรรที่ก่อสร้างด้วยระบบการก่อสร้างสำเร็จรูป เมื่อผู้บริโภครับโอนกรรมสิทธิ์และเข้าอยู่อาศัยจะพบปัญหาการทรุดตัว หรือแตกร้าว รั่วซึม รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงต่อเติม พื้นที่ใช้สอย ซึ่งเป็นข้อจำกัดของระบบการก่อสร้างสำเร็จรูปแบบแผ่นผนังรับน้ำหนัก เป็นผลมาจากการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อนที่มีฝนตกชุกและระบบการก่อสร้างสำเร็จรูป แบบผนัง รับน้ำหนัก เนื่องจากมีรอยต่อระหว่างแผ่นผนังสำเร็จรูปจำนวนมาก รวมถึงขาดความเข้มงวดในการควบคุมการก่อสร้าง และติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูป ข้อเสนอแนะจากการศึกษาการติดตามการนำระบบการก่อสร้างสำเร็จรูปมาใช้ในโครงการบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว ผู้ประกอบการควรปรับปรุงใน 3 ส่วน คือ 1.การออกแบบสถาปัตยกรรมและการออกแบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปให้มีความสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย และระบบการก่อสร้างสำเร็จรูป 2.จัดฝึกอบรมทักษะด้านเทคนิค ในการก่อสร้าง การควบคุมคุณภาพในแต่ละขั้นตอนการก่อสร้าง และการติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่เป็นมาตรฐาน แก่บุคลากร 3.ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการก่อสร้างสำเร็จรูป แบบผนังรับน้ำหนัก แก่ผู้บริโภค |
Other Abstract: | This research involved housing estate agents in terms of products and construction and the consumers in terms of their physical problems after moving in. The sample comprised 97 detached houses in Phase 1 of a housing project whose estate agent was a leader in prefabricated housing construction. The research was conducted through physical survey, photographic recording, questionnaire and interview. Thirty residents were asked to fill out the questionnaire and interviewed. It was found that the agent was responsible for the use of the prefabrication system on condition that there was good management and enough houses built so that it was worth the investment. A good marketing management meant keeping the balance between the number of houses constructed and their demand. The problems found after moving in were leaks and cracks along the bonding of prefabricated parts, resulting from poor quality control during construction. The estate agent hired many groups of contractors to construct the houses and gave them a limited time to finish their jobs. In addition, this was the first project in which the agent used the prefabrication system and so the contractors did not have enough knowledge about it. The consumers were also in favor of this kind of house but after their property rights had been transferred and they moved in, they were faced with house sinking, cracks or leaks. Additions or alterations to functional areas also posed problems because the system was designed without taking the tropical climate into consideration. Moreover, cracks and leaks resulted from having many prefabricated parts to bind and poor quality control during construction and installation of the parts. It is suggested that the estate agent should improve the following three areas: 1) the architectural design and the design of prefabricated parts should take the tropical climate and the construction techniques available in Thailand into consideration, 2) training about construction techniques and quality control during construction and installation of prefabricated parts should be provided, and 3) awareness among consumers concerning the prefabricated system should be increased |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53079 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1078 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1078 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supavit_su_front.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
supavit_su_ch1.pdf | 934.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
supavit_su_ch2.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
supavit_su_ch3.pdf | 977.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
supavit_su_ch4.pdf | 7.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
supavit_su_ch5.pdf | 3.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
supavit_su_ch6.pdf | 889.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
supavit_su_back.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.