Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53084
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.authorพัชราภรณ์ บุญมั่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-22T13:40:00Z-
dc.date.available2017-06-22T13:40:00Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53084-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมการบริหารสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ (2) ศึกษาพัฒนาการด้านความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่ใช้โปรแกรมการบริหารสมอง (3) เปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมบริหารสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพญาไท กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2550 จำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน โดยการสุ่มห้องเรียนจำนวน 5 ห้อง เป็นกลุ่มทดลอง 4 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ แบบสอบถามความพึงพอใจ การบริหารสมอง และแบบบันทึกการคิดสะท้อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนของการวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA)ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะของโปรแกรมการบริหารสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ประกอบด้วย (1) การบริหารสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจ จำนวน 8 ท่าทาง (2) การคิดสะท้อน (3) ช่วงเวลาที่บริหารสมอง ได้แก่ ช่วงเวลาเช้า ช่วงเวลาก่อนเรียนภาษาไทย และช่วงเวลาบ่าย 2. นักเรียนที่ใช้โปรแกรมการบริหารสมองมีพัฒนาการความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจแตกต่างกับนักเรียนที่ไม่ใช้โปรแกรมการบริหารสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการบริหารสมองจะมีพัฒนาการความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจดีกว่า ส่วนนักเรียนที่บริหารสมองในช่วงเช้า แต่ไม่มีการคิดสะท้อนโดยภาพรวมพบว่ามีพัฒนาการด้านความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจไม่แตกต่างจากกลุ่มที่บริหารสมองในช่วงเช้า ช่วงก่อนเรียนวิชาภาษาไทย และช่วงบ่าย ที่มีการคิดสะท้อน และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละครั้ง พบว่า เมื่อใช้การบริหารสมองในระยะยาวจะมีแนวโน้มพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้น นักเรียนที่ใช้การบริหารสมองและมีการคิดสะท้อนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 35.02 ส่วนนักเรียนที่ใช้การบริหารสมองในช่วงเวลาเช้าเพียงอย่างเดียวมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 3. โปรแกรมการบริหารสมองที่มีประสิทธิผลสูงที่สุดคือ โปรแกรมที่ประกอบด้วยการบริหารสมองในช่วงก่อนเรียนวิชาภาษาไทยที่มีการคิดสะท้อน รองลงมาคือ โปรแกรมการบริหารสมองช่วงบ่ายที่มีการคิดสะท้อน และโปรแกรมการบริหารสมองช่วงเช้าที่มีการคิดสะท้อน ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to develop a brain gym program to enhance Thai reading comprehension ability (2) to study the development in Thai reading comprehension ability of students under a brain gym program (3) to compare the effectiveness of a brain gym program to enhance Thai reading comprehension ability. The sampling groups of this research were the 5th grade students in 2007 educational year of Phayathai School, Bangkok from five groups with 40 students each, and were randomed from 5 classrooms which 4 of them were experimental groups and another was control group. This research had been conducted in the Research and Development method for 12 weeks. The data collecting tools of this research were the ability test of Thai reading comprehension ability, the questionnaire of satisfaction towards brain gym, and reflective thinking observation form. The data were analyzed by using basic statistics and the Repeated Measures ANOVA The research findings were as follows: 1. The details of a brain gym program to enhance Thai reading comprehension ability of students were (1) Eight brain gym exercises for enhancing Thai reading comprehension ability (2) the reflective thinking (3) the brain gym exercises were conducted in the morning, before Thai Language class and in the afternoon. 2. There were differences in the development of the Thai reading comprehension ability between students under a brain gym program and students who were not under the program with the statistical significance at .05 which the students under a brain gym program had more development in their Thai reading comprehension ability. In overall, the students who practiced brain gym exercises in the morning without the reflective thinking had no difference in their development of Thai reading comprehension from the students who practiced brain gym exercises with the reflective thinking in the morning, before Thai language class and in the afternoon, and students in the control group with the statistical significance at .05. However, after comparing each result, the research found that the long-term brain gym exercises tended to increase more development. The development of students who practiced brain gym exercises and reflective thinking had increased 35.02% in average while the development of students who only practiced brain gym exercises in the morning had increased 21%. 3. The most effective brain gym program was the brain gym exercises with the reflective thinking before Thai language class and the brain gym exercises with the reflective thinking in the afternoon and the brain gym exercises with the reflective thinking in the morning respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.894-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- การอ่านen_US
dc.subjectการอ่านขั้นประถมศึกษาen_US
dc.subjectThai language -- Readingen_US
dc.subjectReading (Elementary)en_US
dc.titleการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการบริหารสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5en_US
dc.title.alternativeResearch and development of a brain gym program to enhance Thai reading comprehension ability of fifth grade studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAuyporn.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.894-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcharaporn_bo_front.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
patcharaporn_bo_ch1.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
patcharaporn_bo_ch2.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open
patcharaporn_bo_ch3.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
patcharaporn_bo_ch4.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
patcharaporn_bo_ch5.pdf829.84 kBAdobe PDFView/Open
patcharaporn_bo_back.pdf9.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.