Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5309
Title: | คุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนและหลังออกนอกระบบราชการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว |
Other Titles: | Quality of diabetic care before and after becoming autonomous of Banphaeo Hospital |
Authors: | ภรณี เหล่าอิทธิ |
Advisors: | จิรุตม์ ศรีรัตน์บัลล์ สุนทร ศุภพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jiruth.S@Chula.ac.th Soontorn.S@Chula.ac.th |
Subjects: | โรงพยาบาลบ้านแพ้ว บริการการพยาบาล เบาหวาน -- ผู้ป่วย โรงพยาบาลในกำกับของรัฐ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการดูแลรักษาของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว 1 ปีก่อนและ 1 ปีหลังการออกนอกระบบราชการเป็นโรงพยาบาลภายใต้การกำกับของรัฐในด้านการบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน โดยทำการศึกษาผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งสิ้น 178 ราย มารับบริการ 2725 ครั้งระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 55-59 ปี ในช่วง 1 ปีก่อนออกนอกระบบราชการมีผู้ป่วยจำนวน 100 ราย มารับบริการ 1909 ครั้ง คุณภาพการดูแลรักษาพบว่า มีข้อมูลการซักประวัติความเจ็บป่วยอย่างน้อย 1 ครั้งในผู้ป่วยร้อยละ 48 การชั่งน้ำหนักร้อยละ 98.9 การตรวจตา ร้อยละ 23.2 การตรวจระบบประสาทร้อยละ 2 การตรวจเท้าร้อยละ 5 การตรวจระดับน้ำตาลร้อยละ 97 การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะร้อยละ 24.2 การตรวจหาค่า Creatinine ร้อยละ 23.2 การตรวจหาระดับไขมันร้อยละ 37.4 ไม่พบการตรวจหาค่า HbA1c และอัตราการพบแพทย์อายุรกรรมเฉลี่ยร้อยละ 37 ของการตรวจติดตาม คุณภาพการดูแลรักษาในช่วง 1 ปีหลังการออกนอกระบบราชการแบ่งเป็นผู้ป่วย 2 กลุ่ม คือ (1)กลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจติดตามต่อเนื่องและ (2) ผู้ป่วยใหม่จำนวน 78 รายพบว่า มีข้อมูลการซักประวัติความเจ็บป่วยอย่างน้อย 1 ครั้งในผู้ป่วยร้อยละ 59.6 และ 65.4 การชั่งน้ำหนักร้อยละ 98.9และ 96.2 การตรวจตา ร้อยละ 20.2และ 21.8 การตรวจระบบประสาทร้อยละ 2.3 และ 2.6 การตรวจเท้าร้อยละ 5.6 และ 2.6 การตรวจระดับน้ำตาลร้อยละ 97.8 และ 100 การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะร้อยละ 23.6 และ 28.2 การตรวจหาค่า Creatinine ร้อยละ 42.7และ 53.8 การตรวจหาระดับไขมันร้อยละ 25.8 และ 21.8 การตรวจหาค่า HbA1c ร้อยละ 1.1และ 0 และอัตราการพบแพทย์ อายุรกรรมเฉลี่ยเฉลี่ยร้อยละ 40 และ 42 ของการตรวจติดตาม ตามลำดับ การเปรียบเทียบคุณภาพกระบวนการในกลุ่มผู้ป่วยใหม่ 1 ปีก่อนการออกนอกระบบและผู้ป่วยที่ตรวจติดตามต่อเนื่อง และผู้ป่วยใหม่ 1 ปีหลังการออกนอกระบบ พบว่าคะแนนรวมกระบวนการในช่วง 1 ปีหลังการออกนอกระบบราชการดีขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.542 และ p=0.829) การเปรียบเทียบคุณภาพเชิงผลลัพธ์การรักษาโดยเปรียบเทียบอัตราการควบคุมระดับน้ำตาล และจำนวนครั้งการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p's > 0.05) |
Other Abstract: | This descriptive study aimed to compare quality of diabetic care of Banphaeo Hospital one year before, and one year after, becoming autonomous hospital. The sample included 178 patients, totaling of 2725 visits. The medical records of outpatient visits from October 1st 1999 to September 30th 2001 were reviewed. The findings indicated that most of the patients were female, 55-59 years of age. Among 100 patients, totaling of 1909 visits before autonomization, patients received care as followed: the history taking 48 percent; weight taking 98.9 percent; eye exam 23.2 percent; neuro exam 2 percent; foot exam 5 percent; blood sugar testing 97 percent; urine protein testing 24.2 percent; Creatinine testing 23.2 percent and lipid profile 37.4 percent. No HbA1c was taken. The average rate of visit to the internist was 37 percent of all visits. Provision of care one year after autonomization for two groups of the patients-(1) the group that followed up thru 2nd year, and (2) the group of new 78 patients were as follows: the history taking 59.6 and 65.4 percent; weight taking 98.9 and 96.2 percent; eye exam 20.2 and 21.8 percent; neuro exam 2.3 and 2.6 percent; foot exam 5.6 and 2.6 percent; blood sugar testing 97.8 and 100 percent; urine protein testing 23.6 and 28.2 percent; Creatinine testing 42.7 and 53.8 percent; lipid profile 25.8 and 21.8 percent, HbA1c testing 1.1 percent and none. In addition, average rate of visit to the internist were 40 and 42 percent of all visits ,respectively. Overall, quality of care processes after autonomization was slightly better than before, but there was no statistical significance (p=0.542 , p=0.829). Comparison of outcome quality by ability to control sugar levels and short term complication rate also showed no statistical significance (p's > 0.05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5309 |
ISBN: | 9741747322 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Poranee.pdf | 828.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.