Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/530
Title: ผลการใช้การสอนแนะในการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาบนเว็บที่มีต่อการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน
Other Titles: Effects of coaching in case-based learning on web upon problem solving of mathayom suksa one students with different cognitive styles
Authors: นิตยา โสรีกุล, 2511-
Advisors: วชิราพร อัจฉริยโกศล
เชาวเลิศ เลิศชวโลฬาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Vachiraporn.A@Chula.ac.th
Chawalert.L@Chula.ac.th
Subjects: การแก้ปัญหา
ความคิดและการคิด
วิธีศึกษาแบบใช้กรณี
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้การสอนแนะในการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาบนเว็บที่มีต่อการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จำนวน 160 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายประกอบด้วยนักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ (Field Dependence : FD) และฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ Independence : FL) ตามแนวคิดของ Witkin และคณะ ประเภทละ 80 คนโดยแต่ละกลุ่มรูปแบบการคิด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ซึ่งได้เรียนกรณีศึกษาบนเว็บที่มีการสอนและ จำนวน 40 คน และบทเรียนกรณีศึกษาบนเว็บที่ไม่มีการสอนแนะ จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนจากบทเรียนกรณีศึกษาบนเว็บที่มีการสอนแนะและบทเรียนกรณีศึกษาบนเว็บที่ไม่มีการสอนแนะมีคะแนนการแก้ปัญหาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีรูแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ (FI) เมื่อเรียนด้วยกรณีศึกษาบนเว็บมีคะแนนการแก้ปัญหาสูงกว่าคะแนนการแก้ปัญหาของนักเรียน ที่มีรูปแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ (FD) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกันเมื่อเรียนด้วยบทเรียนกรณีศึกษาบนเว็บที่มีการสอนแนะต่างกันมีคะแนนการแก้ปัญหาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ (FD) เมื่อเรียนด้วยบทเรียนกรณีศึกษาบนเว็บที่มีการสอนและมีคะแนนการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนกรณีศึกษาบนเว็บที่ไม่มีการสอนแนะ และนักเรียนที่รูปแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ (FI) เมื่อเรียบด้วยบทเรียนกรณีศึกษาบนเว็บที่ไม่มีการสอนและมีคะแนนการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนกรณีศึกษาบนเว็บที่มีการสอนแนะ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of coaching in case-based learning on web upon problem solving of mathayom suksa one students with different cognitive styles. The subjects were 160 mathayom suksa one students derived from simple random sampling from Bodindecha (SingSinghaseni) School. The subjects were categorized into 80 field dependence FD) subjects, and 80 filed independence (FI) subjects by Witkin and others' the Embedded Figures Tests. Each cognitive styles group was equally divided into two treatments groups simple random sampling: group 1 studied case-based learning on web with coaching, group 2 studied case-based learning on web with non coaching. The data were analyzed by two-way analysis of variance at .05 level of significance. The findings were as follows: 1. Students studying with coaching and non coaching in case-base learning on web found no significant different upon problem solving at .05 level. 2. Students who were field independence who study in case-based learning on web had higher learning achievement in problem solving than who were field dependence at .05 level of significance. 3. Students with different cognitive styles received different coaching in case-base learning on web were significant different upon problem solving at .05 level. Field dependence students studied with coaching in case-based learning on web had higher learning achievement in problem solving than students who studying with non coaching in case-based learning on web. Field independence students studied with non coaching had higher learning achievement in problem solving than students studied with coaching in case-based learning on web.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/530
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.953
ISBN: 9741768567
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.953
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nittaya.pdf7.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.