Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53118
Title: การประเมินศักยภาพทางเศรษฐกิจของแหล่งแร่ทองคำตามแนวการเกิดแร่เลย-เพชรบูรณ์-ปราจีนบุรี
Other Titles: The economic potential evaluation of gold deposits along loei-Phechabun-Prachinburi belt
Authors: จารุพงษ์ บุศยศักดิ์
Advisors: ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fmntbp@eng.chula.ac.th
Subjects: เหมืองและการทำเหมืองทองคำ -- ไทย
Gold mines and mining -- Thailand
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพทางแร่ทองคำสูง มีหลักฐานการค้นพบแร่ทองคำทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะแนวการเกิดแร่ทองคำเลย-เพชรบูรณ์-ปราจีนบุรี แต่ในปัจจุบันมีเหมืองแร่ทองคำที่ทำการผลิตอยู่เพียง 2 เหมือง คือ เหมืองแร่ทองคำชาตรี จังหวัดพิจิตร และเหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า จังหวัดเลย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก การลงทุนในเหมืองแร่ทองคำเป็นการใช้เงินจำนวนมาก กินเวลานาน และมีความเสี่ยงสูง จึงต้องมีการศึกษา และประเมินแหล่งแร่อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนพัฒนา ขั้นตอนการพัฒนาแหล่งแร่โดยทั่วไปมี 2 ช่วง คือ การประเมินแหล่งแร่ขั้นต้น และการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ในงานวิจัยนี้จะเป็นการศึกษาและประเมินพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำขั้นต้น โดยทำการคัดเลือกพื้นที่แหล่งแร่ทองคำศักยภาพสูงน่าสนใจ ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกทางธรณีวิทยาจนได้พื้นที่ทั้งหมด 12 พื้นที่ ครอบคลุมตั้งแต่จังหวัดเลย, อุดรธานี, หนองคาย, พิจิตร, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก, นครสวรรค์, สระแก้ว, ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา จากนั้นทำการเปรียบเทียบพื้นที่คัดเลือกกับแหล่งแร่ทองคำอื่นที่มีการกำเนิดคล้ายกัน เพื่อจำแนกชนิดการกำเนิดของแหล่งแร่ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่เป็นสากล เมื่อทราบชนิดการกำเนิดแล้ว ก็สามารถนำไปเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นได้ง่าย โดยนำข้อมูลด้านปริมาณสำรอง และความสมบูรณ์ของแร่ทองคำ ตลอดจนลักษณะของสินแร่ทองคำ รวมไปถึงลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ และต้นทุนการแต่งแร่ เพื่อหาความเป็นไปได้ของค่าคุ้มทุนในการพัฒนาแหล่งแร่ที่มีการกำเนิดแบบต่างๆ แบบจำลองทางเศรษฐกิจของแหล่งแร่แบบต่างๆได้ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยข้อสมมุติและแบบจำลองทางการเงินของเหมืองแร่ทองคำที่มีการผลิตอยู่ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบประเมินกับแหล่งอื่นๆ ประกอบกับการประเมินต้นทุนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในเชิงคุณภาพ โดยใช้หลักการวิเคราะห์การซ้อนทับกันของข้อมูลเชิงภาพด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สุดท้ายทำให้ได้พื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำที่น่าสนใจในการลงทุนพัฒนาจำนวน 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งแร่ทองคำบริเวณจังหวัดพิษณุโลก, เพชรบูรณ์, และเลย
Other Abstract: There are many gold prospects overall the region of Thailand, especially the high potential zone along Loei-Phechabun-Prachinburi gold deposits belt. However, only two goldmines currently operating along the belt, namely Chartree goldmine in Phichit-Phechabun province and Phu thap pha goldmine in Loei province. This due to a mining project is capital intensive and highly risky which means requiring a lot of capital and long period of time for fund recovered. Therefore a detailed study and evaluation are important. The objective of this study was to initial evaluate the potential areas before making decisions for detail exploration. First, areas of the prospect were selected using geological criteria. The result included twelve areas in Loei, Udonthani, Nongkhai, Phichit, Phechabun, Phitsanuloke, Nakornsawan, Srakaew, Prachinburi and Chachoengsao provinces. The Next step, the selected areas were classified according to gold deposit types. This provides an essential for designing exploration strategies and for evaluating prospects. After that, grade and tonnage information from known deposit types was complied; grade-tonnage curves, which were developed from Discounted Cash Flow (DCF) model of known goldmines, were constructed for comparison with grade-tonnage plotting models of each sample area to estimate cost per resource ounce discovered. Finally, determination of land suitability for development using spatial analysis, a method in GIS application, was used in this step. Land use and forestry areas were ranked and applied to the prospective areas. Final result, three areas of high priority for development was targeted. These areas were Phitsanuloke, Phetchabun, and Loei provinces.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53118
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.557
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.557
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jarupong_bo_front.pdf727.25 kBAdobe PDFView/Open
jarupong_bo_ch1.pdf336.38 kBAdobe PDFView/Open
jarupong_bo_ch2.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
jarupong_bo_ch3.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open
jarupong_bo_ch4.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
jarupong_bo_ch5.pdf761.93 kBAdobe PDFView/Open
jarupong_bo_back.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.