Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53129
Title: ผลกระทบทางด้านกฎหมายต่อประเทศไทยหากเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาของสภายุโรปว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ค.ศ.2001
Other Titles: Legal implication concerning Thailand's ratification of Convention on Cyber Crime 2001
Authors: วิมลจันทร์ งามวิทยานนท์
Advisors: สุผานิต เกิดสมเกียรติ
นันทขัย เพียรสนอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
อาชญากรรมข้ามชาติ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
อนุสัญญาของสภายุโรปว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ค.ศ.2001
Computer crimes
Transnational crime
Computer Crime Act B.E 2550 (2007)
Convention on Cyber Crime 2001
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะข้ามประเทศเกิดขึ้นมากมายประเทศต่างๆจึงได้ทำความตกลงระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในระดับสากล คือ อนุสัญญาของสภายุโรปว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ค.ศ. 2001 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่มีการกำหนดมาตรการทางด้านกฎหมายสบัญญัติ กฎหมาย สารบัญญัติ ความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดตั้งองค์กรที่มีเครือข่าย 24 ชั่วโมง การระงับข้อพิพาท เพื่อให้สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ข้ามประเทศมาลงโทษได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพประเทศไทยประสบปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน และได้มีการกำหนดความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แล้วแต่การแสวงหากรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่เอื้อประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะข้ามประเทศนั้นเป็นสิ่งจำเป็น โดยหากพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์แบบข้ามพรมแดนและได้รับความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่ การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ทั้งนี้ประเทศไทยต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับการถ่ายโอนข้อมูลข้ามประเทศ อย่างไรก็ตามในอนาคตเมื่อประเทศไทยมีความพร้อมประเทศไทยอาจทบทวนเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญานี้ได้
Other Abstract: Nowadays Transitional Cyber Crime has been expanded in several nations. Therefore, many nations joined hands to form an international treaty, called The Council of Europe's Convention on Cyber Crime 2001, to prevent and protect society against cyber crime. The Convention contains a provision on substantive law, procedural law, an international co-operation, an organization which has network available for twenty-four hours a day, as well as, settlement of dispute, in order to be able to punish the offender against Transitional Cyber Crime immediately and effectively Thailand has also experienced with the computer crime. In 2007 we have legislation on Computer Crime Act B.E 2550 (2007). However, a cooperation between other countries and Thailand should also be considered. If Thailand ratified the convention, we will gain benefit on transitional cyber crime investigation and receive well cooperation from other countries, including extradition. Thailand yet need to amend its law concerning the personal information transferring protection. In the future, when Thailand gains more experience, we can reconsider whether we would like to join in the treaty.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53129
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1274
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1274
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wimonjan_ng_front.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
wimonjan_ng_ch1.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
wimonjan_ng_ch2.pdf14.4 MBAdobe PDFView/Open
wimonjan_ng_ch3.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open
wimonjan_ng_ch4.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open
wimonjan_ng_ch5.pdf671.38 kBAdobe PDFView/Open
wimonjan_ng_back.pdf4.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.