Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53132
Title: | สื่อมวลชนกับความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา |
Other Titles: | The mass media and the defamation by pubilcity |
Authors: | ชนนิกานต์ วิภวกุล |
Advisors: | มัทยา จิตติรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | mattaya491@hotmail.com |
Subjects: | สื่อมวลชน หมิ่นประมาท สิทธิส่วนบุคคล กฎหมายรัฐธรรมนูญ ความผิดต่อเสรีภาพและชื่อเสียง Mass media Libel and slander Privacy, Right of Constitutional law |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อมวลชนเป็นองค์กรที่มีบทบาทและหน้าที่ในการเสนอข่าวสาร เรื่องราว และข้อเท็จจริงต่างๆ ให้แก่ประชาชน โดยในการนำเสนอข่าวสารนั้น อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นได้ จึงทำให้สื่อมวลชนตกเป็นผู้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้สื่อมวลชนจึงไม่สามารถทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้อย่างเต็มที และไม่สามารถนำเสนอข่าวสารให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงเกิดแนวความคิดที่จะยกเลิกความผิดฐานนี้ออกไป เพื่อคุ้มครองบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน แต่ในการดำเนินการดังกล่าว อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าวอย่างแรงได้ และไม่สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตลอดจนชื่อเสียงของประชาชน จึงไม่อาจให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวสารได้ตามใจชอบโดยไม่มีขอบเขต อย่างไรก็ตามเพื่อให้การเสนอข่าวของสื่อมวลชนมีอิสระ และมีบทบาทหน้าที่ในการนำเสนอข้อเท็จจริงให้มากที่สุด จึงควรมีการแก้ไขบทบัญญัติในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่ผู้กระทำความผิดเป็นสื่อมวลชนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้คุ้มครองและรับรองสิทธิของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสารออกสู่สาธารณชน รวมทั้งคุ้มครองผู้ตกเป็นข่าวให้ได้รับความชอบธรรมจากการนำเสนอข่าวได้ด้วย จึงควรกำหนดให้สื่อมวลชนที่กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณามีความรับผิดและอัตราโทษทางอาญาให้มีความแตกต่างจากกรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นผู้กระทำความผิดและกำหนดให้องค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่ผู้กระทำความผิดเป็นสื่อมวลชน ให้มีความชัดเจนและแคบลงกว่าในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ที่สามารถฟ้องสื่อมวลชนได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนจริงๆ อย่างไรก็ตามหากสื่อมวลชนกระทำความผิด สื่อมวลชนควรได้รับอัตราโทษที่สูงกว่าผู้กระทำความผิดที่เป็นบุคคลธรรมดาเช่นกัน เพื่อให้ได้สัดส่วนกับความเสียหายของผู้ที่ตกเป็นข่าว |
Other Abstract: | The key role the media play to present all kinds of news ,information ,stories and facts to the public can influence other people’s individual rights and put the media themselves the defendants on defamation by publicity. This real root cause obstructs the media from scrutinizing both integrity and transparency of any state agency and bringing food for thoughts to the public independently. It has been thought to scrap the enactment for the offence to protect the media in term of their roles and duties. In other words, in practice it may cause severe damage to the plaintiff’s reputation and not in line with the constitution which is drawn up to protect the people’s rights, freedom and fame. Hence, the media is never let to report news without restraint. Anyhow for the sake of free and exact presentation. The specific article of defamation by publicity ought to be amended to protect and acknowledge the rights of the media in bringing news to the public including of the complainant with legitimacy. It should be pointed out that mass communication who commit defamation by publicity must be proven guilty and given a criminal penalty differently from ordinary people. And, in these day the component of illegal action on defamation by publicity has got to be imposed clearly and legitimately so as not to let only the media are to blame and give the real victim from coverage the chance to file a lawsuit against the media for justice and compensation. Nonetheless providing that the media commit an actual crime, they had better face a maximum penalty, a little higher than so that it is in proportion to the tarnish the victim experiences. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53132 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.161 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.161 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chonnikan_wi_front.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chonnikan_wi_ch1.pdf | 924.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chonnikan_wi_ch2.pdf | 3.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chonnikan_wi_ch3.pdf | 5.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chonnikan_wi_ch4.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chonnikan_wi_ch5.pdf | 926.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chonnikan_wi_back.pdf | 662.35 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.