Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53144
Title: ผลของการฝึกผ่อนคลายด้วยวิธีบริหารการหายใจแบบลึกต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่พบก้อนบริเวณเต้านม
Other Titles: The effect of deep breathing relaxation practice on anxiety in patients with breast mass
Authors: จรุณา ประจักษ์แสงสิริ
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sureeporn.T@Chula.ac.th
Subjects: การผ่อนคลาย
ความวิตกกังวล
การฝึกหายใจ
Relaxation
Anxiety
Breathing exercises
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกผ่อนคลายด้วยวิธีบริหารการหายใจแบบลึกต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่พบก่อนบริเวณเต้านม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า มีก้อนบริเวณเต้านม และแพทย์นัดผ่าตัดเพื่อตรวจชิ้นเนื้อจากก้อนเต้านมระยะรอผลวินิจฉัย จำนวน 40 ราย คัดเลือกเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการฝึกผ่อนคลายด้วยวิธีบริหารการหายใจแบบลึก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความวิตกกังวลตามสถานการณ์ ของ Spielberger (1983) ซึ่งมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์ของครอนบาคเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่พบก้อนบริเวณเต้านม หลังได้รับการฝึกผ่อนคลายด้วยวิธีบริหารการหายใจแบบลึกต่ำกว่าก่อนได้รับการฝึกผ่อนคลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X-[subscriptหลังการทดลอง]=47.35,X-[subscriptก่อนการทดลอง]=42.15, t – test = 5.23) 2. คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังกลหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X-[subscriptกลุ่มทดลอง]=42.15, X--subscriptกลุ่มควบคุม]=46.45, t- test = 2.22)
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of deep breathing relaxation practice on anxiety in patients with breast mass. Forty breast mass patients were purposively selected from Suratthani Hospital, and were assigned equally into a control and an experimental group. The control group received routine nursing care, while the experimental group received the deep breathing relaxation practice. The collecting data measurement was the state Anxiety Inventory from Y-1 of Spielberger et al.(1983). The reliability of the State Anxiety Inventory from Y-1 was .91. The data were analyzed by using t-test. Major results were as follows: 1. The post-test mean score on anxiety of the experimental group was significantly lower than at the pretest phase. (X-[subscriptposttest]=47.35, X-[subscriptpretest]=42.15, t – test = 5.23). 2. The post-intervention mean score of state anxiety in the experimental group was significantly lower than that of the control group. (X-[subscriptexperiment]=42.15, X-[subscriptcontrol]=46.45, t – test = 2.22).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53144
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1456
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1456
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charuna_pr_front.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
charuna_pr_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
charuna_pr_ch2.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open
charuna_pr_ch3.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
charuna_pr_ch4.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
charuna_pr_ch5.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
charuna_pr_back.pdf10.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.