Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53155
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จรุงกุล บูรพวงศ์ | - |
dc.contributor.author | จิรนันท์ ชุนหกรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2017-06-27T08:39:32Z | - |
dc.date.available | 2017-06-27T08:39:32Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53155 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแนวโน้มการทำให้ตนเองเสียเปรียบ ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับความสำเร็จและการยืนยันคุณค่าในตนเอง ต่อพฤติกรรมการทำให้ตนเองเสียเปรียบ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาที่ 1 เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 284 คน ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีคะแนนมาตรวัดแนวโน้มการทำให้ตนเองเสียเปรียบสูงและต่ำ และให้เลือกว่าจะฝึกซ้อมทำแบบทดสอบหรือไม่ฝึกซ้อม ในการศึกษาที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 160 คน ถูกสุ่มเข้าสู่ 4 เงื่อนไข การทดลองเงื่อนไขละ 40 คน ให้ได้รับความสำเร็จที่ขึ้นอยู่กับการกระทำหรือความสำเร็จไม่ขึ้นอยู่กับการกระทำ และได้ยืนยันหรือไม่ได้ยืนยันคุณค่าในตนเอง หลังจากนั้นวัดพฤติกรรมการทำให้ตนเองเสียเปรียบโดยให้เลือกเพลงเพื่อฟังขณะทำแบบทดสอบต่อไป ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้ที่มีแนวโน้มการทำให้ตนเองเสียเปรียบสูง มีพฤติกรรมการทำให้ตนเองเสียเปรียบมากกว่าผู้ที่มีแนวโน้มการทำให้ตนเองเสียเปรียบต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.เพศชายมีพฤติกรรมการทำให้ตนเองเสียเปรียบมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3.ในเงื่อนไขความสำเร็จขึ้นอยู่กับการกระทำ ผู้ที่ได้ยืนยันคุณค่าในตนเอง มีคะแนนพฤติกรรมการทำให้ตนเองเสียเปรียบ ไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ยืนยันคุณค่าในตนเอง 4.ในเงื่อนไขความสำเร็จไม่ขึ้นอยู่กับการกระทำ ผู้ที่ยืนยันคุณค่าในตนเอง มีคะแนนพฤติกรรม การทำให้ตนเองเสียเปรียบต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้ยืนยันคุณค่าในตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study examined the effect of self-handicapping tendency on behavioral self-handicap. The effects of success contingency and self-affirmation on self-handicapping were also investigated. In the first study, two hundred and eighty-four high-school students classified as high or low self-handicappers were asked whether or not they wanted to practice for an aptitude test. In the second study, one hundred and sixty high-school students were randomly assigned equally into one of the four conditions, 40 participants in each condition. They were led to experience either contingent or non-contingent success after completing a test on analytical ability. Then the participants were either given or not given a chance to self-affirm. Behavioral self-handicap was measured by the participant’s selection of a hampering music to listen to while doing another test of the same kind. The results are as follow: 1.High self-handicappers self-handicap significantly more than low self-handicappers (p < .01). 2.Males self-handicap significantly more than females (p < .001). 3.In contingent success condition, participants who have self-affirmed do not differ significantly in behavioral self-handicap from participants who have not self-affirmed. 4.In non-contingent success condition, participants who have self-affirmed score significantly lower in behavioral self-handicap than participant who have not self-affirmed (p < .001). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2188 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความนับถือตนเอง | en_US |
dc.subject | ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม | en_US |
dc.subject | ความสำเร็จ | en_US |
dc.subject | Self-esteem | en_US |
dc.subject | Social interaction | en_US |
dc.subject | Success | en_US |
dc.title | ผลของแนวโน้มการทำให้ตนเองเสียเปรียบ ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับความสำเร็จและการยืนยันคุณค่าในตนเอง ต่อพฤติกรรมการทำให้ตนเองเสียเปรียบ | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Self-Handicapping Tendency, Success Contingency, and Self-Affirmation on Behavioral Self-Handicap | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาสังคม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | jarungkul.b@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.2188 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jiranan_ch_front.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jiranan_ch_ch1.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jiranan_ch_ch2.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jiranan_ch_ch3.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jiranan_ch_ch4.pdf | 467.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jiranan_ch_ch5.pdf | 658.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jiranan_ch_back.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.