Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5317
Title: อัตมโนทัศน์และกระบวนการสื่อสารของสตรีผู้ถูกกระทำรุนแรง ที่เข้ารับความช่วยเหลือ ณ บ้านพักฉุกเฉิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี
Other Titles: Self concept and communication process of abused woman aided by emergency home the Association for the Promotion of the Status of Women
Authors: ภัทรพร ประทุมฝาง
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การรับรู้ตนเอง
ความรุนแรงในครอบครัว
การสื่อสารระหว่างบุคคล
สตรีที่ถูกทารุณ
สื่อมวลชนกับสตรี
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอัตมโนทัศน์ของสตรีผู้ถูกกระทำรุนแรงตั้งแต่เมื่อเผชิญกับความรุนแรง จนถึงการเข้ารับความช่วยเหลือจากบ้านพักฉุกเฉิน และกระบวนการสื่อสารของสตรีเพื่อการฟื้นฟูจิตใจในบ้านพักฉุกเฉิน ทั้งกับเจ้าหน้าที่ สตรีที่เข้ารับความช่วยเหลือเช่นเดียวกันและบุตรของตนเองและสตรีอื่น โดยศึกษาตั้งแต่การเข้าถึงความสัมพันธ์ของสตรีในช่วงแรกเข้า การพัฒนาความสัมพันธ์ของสตรี การสื่อสารเพื่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจของสตรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบสหวิธีการในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. สตรีจะมีอัตมโนทัศน์ที่แตกต่างไปตามสถานการณ์ ในช่วงแรกของการแต่งงานสตรีจะมีอัตมโนทัศน์ในด้านบวก แต่เมื่อสตรีถูกกระทำรุนแรงสตรีจะมีการสร้างอัตมโนทัศน์ และความภาคภูมิใจในตนเองที่ลดลงตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ และเมื่อสตรีเข้าความช่วยเหลือจากบ้านพักฉุกเฉิน สตรีจะได้รับการสื่อสารเพื่อฟื้นฟูจิตใจ ได้แก่ กิจกรรมกลุ่มบำบัด การให้คำปรึกษาของเจ้าหน้าที่เป็นการส่วนตัว การฝึกอาชีพ และการสื่อสารเพื่อฟื้นฟูจิตใจของสตรีด้วยกันเองในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้สตรีมีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้นและมีการพัฒนาอัตมโนทัศน์ 2. กระบวนการสื่อสารของสตรีจะมีรูปแบบที่แตกต่างไป ตามสถานการณ์การสื่อสารตั้งแต่ช่วงแรกเข้า การเข้าถึงความสัมพันธ์ การพัฒนาความสัมพันธ์ กระบวนการสื่อสารของสตรีที่เข้ารับความช่วยเหลือมีดังนี้ 2.1 รูปแบบการสื่อสารของสตรีกับเจ้าหน้าที่ ในช่วงแรกเข้าสตรีจะไม่เปิดเผยเรื่องราวของตนเองมากนัก และมีการประเมินเจ้าหน้าที่ถึงคุณลักษณะในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีคุณลักษณะที่ดีในการสื่อสาร ทำให้สตรียินยอมที่จะเปิดเผยเรื่องราวของตน และต้องการพัฒนาความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามลำดับขั้นของเจ้าหน้าที่สูงกว่าสตรี ทำให้รูปแบบของการสื่อสารมีความเป็นทางการ 2.2 รูปแบบการสื่อสารของสตรีกับสตรีที่เข้ารับความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน ในช่วงแรกจะประเมินคุณลักษณะในการสื่อสารของสตรีด้วยกัน เนื่องจากสตรีที่เข้ารับความช่วยเหลือขาดคุณลักษณะในการสื่อสารที่ดี รูปแบบการสื่อสารของสตรีจึงไม่เปิดเผยเรื่องของตนและพยายามปรับตัว ในช่วงของการพัฒนาความสัมพันธ์ สตรีจะมีการรวมกลุ่มตามลักษณะของปัญหาความรุนแรง และการสื่อสารของสตรีจะมีเพื่อนันทนาการและการดำรงอยู่ของกลุ่ม มากกว่าการสื่อสารเพื่อการบำบัด 2.3 รูปแบบการสื่อสารของสตรีกับบุตรของตนเองและบุตรของสตรีอื่นสตรีจะมีความผูกพันกับบุตรของตนมากสตรีซึ่งบุตรจะเป็นปัจจัยสำคัญในความสามารถของสตรีในการปรับตัว และสตรีจะมีรูปแบบการสื่อสารกับบุตรของสตรีอื่นในการช่วยดูแล เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับสตรีอื่น รวมทั้งสตรีจะมีจิตใจที่อ่อนโยนลง
Other Abstract: To study the self concept of abused woman when confronting the violent until getting help from the Emergency home and communication process for rehabilitation including Emergency home's officers, aided women and their children. By studied the relationship in the first stage, development and communication for rehabilitation. This research collected data by using qualitative multiple methodology. The results showed that 1. Self-Concept of abused women is varied in different situations. In the first stage of marriage women will have a positive self-concept. However the degree of positive self-concept and high self-respect will decrease in accordance with the degree of abuse received, and will increase in accordance with the degree of rehabilitation help received from Emergency Home. 2. Communication forms of abused women will vary, depending on the situation : entry stage, approaching relationship and relationship development stage, as follow 2.1 Communication between women and officers: In the first stage, abused women will not disclose themselves very much while evaluating characteristics of the officers in developing deeper relationship. 2.2 Communication among abused women. In the first stage they will evaluate characteristic of each others. However because of with lack of good communication, no one is willing to be open. Communication will be focused more on group-maintenance than self-therapy. 2.3 Children is the major factor in helping the abused women in adapting themselves. On the other hand, their communication with other abused women and their children helps to improve their relationship and enhance therapy process, including developing more gentle mindl.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5317
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.184
ISBN: 9741752016
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.184
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattaraporn.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.