Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53174
Title: การศึกษาพยาธิกำเนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทยในสุกรหย่านม
Other Titles: Study on Swine Influenza virus (Thai Isolates) Pathogenesis in Weaning Pigs
Authors: ดลฤทัย ศรีทะ
Advisors: รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช
สุดารัตน์ ดำรงค์วัฒนโภคิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: roongroje.t@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไวรัส
สุกร -- โรค
ไข้หวัดใหญ่สุกร
ระบาดวิทยา
วิทยาภูมิคุ้มกัน
Viruses
Swine influenza
Immunology
Epidemiology
Swine -- Diseases
Enzyme-linked immunosorbent assay
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทำการศึกษาพยาธิกำเนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรสายพันธุ์ A/Swine/Thailand/CB2/05 (H3N2) และ A/Swine/Thailand/CB1/05 (H1N2) ในสุกรอายุ 22 วัน จำนวน 15 ตัว โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มการทดลองให้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทางหลอดลม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมมีสุกรจำนวน 3 ตัว ได้รับสารละลายปราศจากเชื้อ กลุ่มที่ 2 และ 3 เป้นกลุ่มทดลองให้เชื้อมีสุกรจำนวนกลุ่มละ 6 ตัว โดยกลุ่มที่ 2 ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรสายพันธุ์ H3N2 และกลุ่มที่ 3 ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรสายพันธุ์ H1N2 ทางหลอดลม จากนั้นสุ่มสุกรชันสูตรซาก ณ วันที่ 2, 4 และ 12 หลังการให้เชื้อ โดยกลุ่มควบคุมสุ่มครั้งละ 1 ตัว และกลุ่มทดลองให้เชื้อสุ่มครั้งละ 2 ตัว สังเกตอาการทางคลินิกพบว่ากลุ่มทดลองให้เชื้อ (กลุ่ม H3N2 และ H1N2) แสดงอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ในวันที่ 1-4 หลังการให้เชื้อ พบสุกรมีน้ำมูกใส ไอ จาม เยื่อบุตาอักเสบและนอนสุม ส่วนกลุ่มควบคุมไม่พบอาการทางคลินิก และพบว่าสุกรทุกตัวไม่มีไข้ (น้อยกว่า 40 องศาเซลเซียส) ผลการตรวจรอยโรคทางมหพยาธิวิทยาพบปอดอักเสบแบบ cranioventral pneumonia มีลักษณะเป็นลายคล้ายตารางหมากรุกในกลุ่ม H3N2 และ H1N2 โดยพบรอยโรครุนแรงในวันที่ 2 หลังการให้เชื้อ และพบว่ากลุ่มที่ 3 มีรอยโรคปอดอักเสบมากกว่าและคงอยู่นานถึงวันที่ 12 หลังการให้เชื้อ ส่วนกลุ่ม H3N2 พบรอยโรคที่ปอดคงอยู่ถึงวันที่ 4 หลังการให้เชื้อเท่านั้น และในกลุ่มควบคุมนั้นไม่พบรอยโรคทางมหพยาธิวิทยา การตรวจทางจุลพยาธิวิทยาพบรอยโรคปอดอักเสบแบบ broncho-interstitial pneumonia ในกลุ่ม H3N2 และ H1N2 ซึ่งคล้ายรอยโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกร โดยพบมีความเสียหายของเซลล์บุผิวหลอดลม หลอดลมอุดตัน ร่วมกับการแทรกของเซลล์อักเสบรอบหลอดลมและหลอดเลือด พบรอยโรครุนแรงในวันที่ 2 หลังการให้เชื้อ และพบกลุ่ม H1N2 มีรอยโรครุนแรงกว่ากลุ่ม H3N2 ส่วนกลุ่มควบคุมนั้นไม่พบรอยโรคทางจุลพยาธิวิทยา ผลการตรวจการกระจายแอนติเจนของไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรในเนื้อเยื่อปอดโดยใช้ monoclonal anti-NP influenza A antibody พบแอนติเจนในนิวเคลียสของเซลล์บุผิวหลอดลม เซลล์บุผิวถุงลมปอด และมาโครฟาจ ในกลุ่ม H3N2 และ H1N2 พบสูงสุดในวันที่ 2 หลังการให้เชื้อ และพบแอนติเจนของไวรัสในกลุ่ม H1N2 คงอยู่นานกว่ากลุ่ม H3N2 โดยพบแอนติเจนเรืองแสงสีเขียวแอปเปิ้ลจากเทคนิค immunofluorescence assay และพบแอนติเจนติดสีน้ำตาลเข้มจากเทคนิค immunohistochemistry ส่วนในกลุ่มควบคุมไม่พบแอนติเจนของไวรัส และพบว่าสุกรกลุ่มทดลองให้เชื้อสามารถขับเชื้อออกทางจมูกได้ในวันที่ 2-4 หลังการให้เชื้อ โดยตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสไข้หวัดใหญ่จากตัวอย่างป้ายจมูกได้ในวันที่ 2-4 หลังการให้เชื้อด้วยเทคนิค RT-PCR ส่วนในตัวอย่างซีรัมไม่พบสารพันธุกรรมของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ผลการตรวจปริมาณไวรัสพบกลุ่ม H3N2 มีปริมาณไวรัสจาเนื้อเยื่อปอด 10[superscript 4] TCID[subscript 50]/g และจากน้ำล้างหลอดลม 10 [superscript 2-3] TCID[subscript 50]/ml ในวันที่ 2 หลังการให้เชื้อส่วนสุกรในกลุ่ม H1N2 ไม่สามารถอ่านผลได้เนื่องจากมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียระหว่างการตรวจในห้องปฏิบัติการ จากการเพาะแยกแบคทีเรียไม่พบแบคทีเรียก่อโรคจากตัวอย่างป้ายหลอดลมและเนื้อเยื่อปอด และไม่พบสารพันธุกรรมของ Mycoplasma hyopneumoniae จากเนื้อเยื่อปอดด้วยเทคนิค PCR ในสุกรทั้ง 3 กลุ่ม ณ วันที่ 2, 4 และ 12 หลังการให้เชื้อ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรที่แยกได้ในประเทศไทยทั้งสองสายพันธุ์สามารถทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่สุกรในสุกรทดลองได้ โดยมีแนวโน้มพบรอยโรคที่รุนแรงกว่าในสุกรที่ได้รับไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรสายพันธุ์ H1N2 ซึ่งไวรัสไข้หวัดใหญ่จากสุกรสายพันธุ์ H1N2 อาจมีบทบาทสำคัญในการก่อโรคระบบทางเดินหายใจในสุกรแบบซับซ้อนร่วมกับจุลชีพอื่นๆ ในปอดสุกร ซึ่งควรมีการศึกษาต่อไปในอนาคต
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the pathogenesis of swine influenza virus (SIV) subtype A/Swine/Thailand/CB2/05 (H3N2) and A/Swine/Thailand/CB1/05 (H1N2) in 22-day-old pigs. Fifteen SIV-free pigs were obtained and assigned to 3 different groups. Group 1 served as a negative control group containing three pigs and they were mock intratracheally inoculated with the media. Infected groups contained six pigs each and were intratracheally inoculated with SIV subtype H3N2 and H1N2 in group 2 and 3, respectively. Two pigs from each SIV inoculated group and one pig from the control were necropsied at 2, 4 and 12 days post-inoculation (dpi). All pigs in the infected groups developed typical signs of flu-like symptom (nasal discharge, cough, sneeze, and conjunctivitis) on 1-4 dpi. Interestingly, no pigs developed fever ( is less than 40 degree Celsius). The lungs of all control pigs looked grossly normal at all necropsies. The H1N2-infected pigs had greater lung lesion scores than those of the H3N2-infected pigs. The severity of the cranioventral pneumonia (checker board pattern) was observed at 2 dpi and persisted until 12 dpi in H1N2-infected pigs. H3N2 virus induced mild pneumonia and resolved within 4 dpi. Histopathological lesions related to swine influenza-induced lesions consisting of epithelial cells damage, airway plugging, and peribronchial and perivascular infiltration by inflammatory cells were present in both infected groups. The broncho-interstitial pneumonia was severe at 2 dpi in all H1N2-infected pigs. Immunofluorescence assay (IFA) using nucleoprotein specific monoclonal antibodies revealed positive apple-green color in the nuclei of the alveolar, bronchiolar and bronchial epithelial cells in all infected groups as early as 2 dpi and found until 4 dpi. Immunohistochemistry (IHC) demonstrated strong positive dark brown staining in the nuclei of lung cells similar to the IFA. In addition, IHC positive was detected in pulmonary macrophages and pneumocytes. Virus shedding from the nasal cavities was seen as early as 2 dpi from both infected groups as demonstrated by RT-PCR and virus titration. At least 10[superscript 2-4]TCID[subscript 50]/ml of the virus titers were yielded from the lung or bronchoalveolar lavage fluid of the H3N2-infected pigs. Pathogenic bacteria were negative by bacterial culture from tracheal swabs and lungs in all groups at 2, 4 and 12 dpi. Mycoplasma hyopneumoniae were negative by PCR from lungs in all groups at all necropsies. Our results demonstrated that both SIV subtypes (Thai isolates) were able to induce flu-like symptom and lesions in weaning pigs since 2 dpi. The severity of the diseases in term of lesions was greater in the H1N2-infected pigs. The H3N2-infected pigs had milder clinical signs and lesions and recovered sooner. H1N2 virus may play a role in respiratory diseases in weaning pigs in Thailand. More works are needed to be done in the co-infections model with other respiratory organisms and the prevention and control of the SIV-related diseases.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53174
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1703
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1703
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
donruethai_sr_front.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
donruethai_sr_ch1.pdf954.52 kBAdobe PDFView/Open
donruethai_sr_ch2.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
donruethai_sr_ch3.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
donruethai_sr_ch4.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
donruethai_sr_ch5.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
donruethai_sr_back.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.