Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53269
Title: | ธรณีวิทยาโครงสร้างของหินไนส์สิกแกรนิตหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
Other Titles: | Structural geology of Hua Hin Gneissic granite, Changwat Prachuap Khiri Khan |
Authors: | ภัสติกร สุวรรณจันลา |
Advisors: | พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | pitsanupong.k@hotmail.com |
Subjects: | ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์ หินแกรนิต -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์ Geology, Structural -- Thailand -- Prachuap Khiri Khan Granite -- Thailand -- Prachuap Khiri Khan |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะและวิวัฒนาการของธรณีวิทยาโครงสร้างของหินไนส์สิกแกรนิต หัวหิน บริเวณเขาหินแกรนิตที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ค่อนไปทางเหนือ-ใต้ ในพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมัชฌิมภาคและระดับจุลภาค พบว่าลักษณะธรณีวิทยาโครงสร้างของหินโผล่ส่วนใหญ่มีการวางตัวของแนวริ้วขนาน (foliation) และโครงสร้างย่อยชนิดเส้น (lineation) อยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และแนวเหนือ-ใต้ นอกจากนั้นยังพบเม็ดแร่เฟลด์สปาร์ที่แสดงลักษณะการเฉือนแบบซ้ายเข้า (sinistral shear sense) และจากการศึกษาโดยแผ่นหินบางภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบโครงสร้างจุลภาคที่แสดงลักษณะการเฉือนแบบซ้ายเข้าในผลึกแร่ไบโอไทต์ และแสดงการเปลี่ยนลักษณะในผลึกแร่ควอตซ์และเฟลด์สปาร์ ซึ่งบ่งบอกถึงอุณหภูมิขณะเกิดการเปลี่ยนลักษณะประมาณ 300 ถึง 500 องศาเซลเซียส นอกจากนั้นยังพบกลุ่มแร่ที่บ่งบอกถึงการถูกแปรสภาพในชุดลักษณ์การแปรสภาพแบบกรีนชีสต์ (greenschist facies) ถึงแบบแอมฟิโบไลต์ (amphibolite facies) สำหรับวิวัฒนาการของธรณีวิทยาโครงสร้างนั้น ได้แบ่งการเปลี่ยนลักษณะออกเป็น 4 ช่วงที่อาจจะสัมพันธ์กับธรณีแปรสัณฐานของประเทศไทยและสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ศึกษา โดยเริ่มจากการเกิดหินแกรนิตที่เกิดในช่วงตอนปลายของยุคไทรแอสซิก จากนั้นเกิดการเฉือนแบบซ้ายเข้าและการเปลี่ยนลักษณะแบบอ่อนนิ่ม (ductile deformation) ในทิศเกือบเหนือ-ใต้ ทำให้เกิดแนวริ้วขนานและโครงสร้างย่อยชนิดเส้น ซึ่งสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่แผ่นเปลือกโลกพม่าตะวันตกชนกับแผ่นเปลือกโลกไซบูมาสุที่เกิดในช่วงตอนปลายของยุคครีเทเชียส ต่อมามีแรงอัดเข้ามากระทำในทิศเกือบตะวันตก-ตะวันออก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวการวางตัวของแนวริ้วขนานและโครงสร้างย่อยชนิดเส้น ซึ่งสัมพันธ์กับเหตุการณ์แผ่นเปลือกโลกอินเดียชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในช่วงตอนต้นของสมัยอีโอซีน และสุดท้ายเกิดแรงดึงและเปลี่ยนลักษณะแบบแตกเปราะ (brittle deformation) ทำให้เกิดรอยเลื่อนแนวระดับแบบขวาเข้า และมีการเลื่อนตัวของเขาในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งสัมพันธ์กับเหตุการณ์การเปลี่ยนทิศทางของแรงจากการชนของแผ่นเปลือกโลกอินเดียในสมัยโอลิโกซีน |
Other Abstract: | The objectives of this research are to study structural style and structural evolution of Hua Hin gneissic granite at granite mountain which lies in NNW – SSE direction and located in Amphur Hua Hin, Changwat Prachuap Khiri Khan. Structural geology of this study is characterized with compiled data from 2 main scales: mesoscope and microscope. Based on mesoscopic evidences from field observation show NW – SE and N – S trending of foliation and lineation. Moreover, the feldspar grains in specimen show sinistral shear sense. Based on microscopic evidences from thin section also show sinistral shear sense from biotite grains. Other deformed minerals show microstructures and mineral assemblages that indicate the temperature between 300°C to 500°C and greenschist to amphibolite metamorphic facies respectively. Structural evolution can divided to 4 stages that related to tectonic evolution of Thailand and sense of movement of Three Pagoda Fault that located in NW of the study area. First stage is granite intrusion related to Central Granite Belt in late Triassic age. Then, sinistral ductile deformation in the N – S direction and metamorphism caused foliation and lineation forming related to Western Burma and Sibumasu collision in late Cretaceous. Next, sinistral transpressional deformation in WSW – ENE direction was formed related to early India and Eurasia collision in early Eocene and the last stage is dextral transtensional deformation in N –S that is the result of India changing direction to E – W in Oligocene. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53269 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5532729023.pdf | 5.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.