Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53272
Title: การสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างพื้นที่หน่วงน้ำบริเวณริมฝั่งแม่น้ำยม จังหวัดสุโขทัย
Other Titles: Investigation of suitable detention basin sites near Yom river, Changwat Sukhothai
Authors: ภณสา อินทริต
Advisors: ฐานบ ธิติมากร
ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: thanop.t@chula.ac.th
lertc77@yahoo.com
Subjects: แม่น้ำยม
แอ่ง (ธรณีวิทยา) -- ไทย -- สุโขทัย
Yom River
Basins (Geology) -- Thailand -- Sukhothai
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จังหวัดสุโขทัยประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำในฤดูฝน เนื่องจากลักษณะของลำน้ำยมที่คอดลงในตอนล่าง ทำให้เกิดปัญหาน้ำล้นตลิ่งในกรณีที่ตอนบนรับน้ำมาเต็มความจุ แต่ในขณะเดียวกันจังหวัดสุโขทัยก็ประสบปัญหาภัยแล้งในฤดูร้อน ดังนั้นหากมีพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำที่เกินความจุดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดปัญหาอุทกภัย ยังอาจทำให้มีปริมาณน้ำสำรองเพิ่มขึ้นด้วย แนวคิดนึ้จึงเป็นที่มาของการศึกษาปริญญานิพนธ์ การหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับสร้างพื้นที่หน่วงน้ำประกอบด้วย การศึกษาแผนที่ภูมิประเทศ ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่อุทกภัย และการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ด้วยวิธีวัดความต้านทานไฟฟ้าแบบ 1 มิติ ซึ่งพบว่าพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด คือบริเวณริมฝั่งแม่น้ำยมของอำเภอศรีสำโรง มีขนาดประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร และจากผลการแปรข้อมูลทางธรณีฟิสิกส์ทั้งหมด 15 จุด พบว่าข้อมูล ณ จุดศึกษาที่ 9 บ้านคลองยายสาย สามารถเทียบกับข้อมูลลำดับชั้นดินและชั้นหินในบริเวณใกล้เคียงและได้ผลสรุปว่า ที่ระดับความลึกไม่เกิน 54 เมตร ชั้นดินของพื้นที่ศึกษาประกอบด้วย 3 ชั้น คือ ชั้นผิวดิน ชั้นดินโคลน และชั้นตะกอนกรวด โดยเมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลน้ำบาดาล พบว่าความลึกที่เหมาะสมในการขุดพื้นที่หน่วงน้ำคือ 5 เมตร ซึ่งจะทำให้มีศักยภาพในการรองรับน้ำอยู่ที่ 90 ล้านลูกบาศก์เมตร
Other Abstract: The decreased capacity of the lower part of Yom River causes flood problem in every monsoon season. In the other hand, this province also get drought problem in every dry season. So, if this area has a detention basin, it might be able to reduce flood problem and has more water supply during dry season. The suitable site for detention basin was investigated by integrating several data such as topographic map, aerial photograph, flood map and 1D resistivity data. Finally, the result has shown that the best location is located near Yom River in Sri Samrong district. The resistivity profile of station 9 (from 15 stations) is well correlated with the lithology log from nearest borehole. So, it can be concluded that study area consists of 3 soil layers. The first layer is top soil. The second layer is clay and the third layer is sand and gravel. The groundwater level in this area is about 5 meters below surface. So, the depth of detention basin should be no deeper than 5 meters. This detention basin will be able to collect the water around 90 million cubic meters.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53272
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532733523.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.