Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53304
Title: ศิลาวรรณนาและการจำแนกหน่วยหินคาร์บอเนต พื้นที่ FGD-1 เหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
Other Titles: Carbonate petrography and rocks unit classification of FGD-1 Area, Mae Moh Mine, Amphoe Mae Moh, Changwat Lampang
Authors: พีระวัฒน์ รัตนพนิต
Advisors: ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
ธนากร ไชยวงค์
สราวุธ จันทรประเสริฐ
วิทยา นันทวาศ
อารมณ์ ปงลังกา
นิพันธ์ ดอนเมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: thasineec@gmail.com
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เหมืองแม่เมาะ (ลำปาง)
หินคาร์บอเนต -- ไทย -- ลำปาง
ศิลาวิทยา -- ไทย -- ลำปาง
ธรณีเคมี -- ไทย -- ลำปาง
Mae Moh Mine (Lampang)
Carbonate rocks -- Thailand -- Lampang
Petrology -- Thailand -- Lampang
Geochemistry -- Thailand -- Lampang
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศิลาวรรณนาและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี (ในรูปของปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตในหน่วยร้อยละต่อปริมาตร) ของหินคาร์บอเนตในพื้นที่ FGD-1 ซึ่งเป็นเหมืองหินปูนที่ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเหมืองแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เพื่อคัดเลือกหน่วยหินคาร์บอเนตที่เหมาะสมสำหรับเป็นวัตถุดิบที่ใช้การลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ถ่านหินในโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้ทำการจำแนกหินคาร์บอเนตในพื้นที่ออกเป็นหน่วยหินย่อย แล้วจัดทำเป็นแผนที่ธรณีวิทยาภายในเหมือง โดยอาศัยความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพ ลักษณะศิลาวรรณนา องค์ประกอบทางเคมีของหินคาร์บอเนต รวมถึงลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา (ศึกษาร่วมกับภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) การวิจัยครั้งนี้สามารถจำแนกหินคาร์บอเนตในพื้นที่ออกเป็น 5 หน่วยหิน ประกอบด้วย (1) หน่วยหิน P ได้แก่ หินปูนเนื้อแน่นสีชมพูหรือสีเทาอ่อน โดยมีบางส่วนถูกจำแนกให้เป็นหน่วยหินย่อย P(B) ซึ่งแสดงลักษณะหินปูนเนื้อแน่นสีเทาเข้ม และถูกแทรกด้วยสายแร่แคลไซต์จำนวนมาก ผลการวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตในหน่วยร้อยละต่อปริมาตรมีค่า 96.52 การศึกษาศิลาวรรณนาพบว่าส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน Bioclastic packstone และ Peloidal packstone (2) หน่วยหิน OR ได้แก่ ชั้นหินกรวดมนเนื้อปูนสีเทาเข้ม ผลการวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตในหน่วยร้อยละต่อปริมาตรมีค่า 88.20 การศึกษาศิลาวรรณนาพบว่าเม็ดตะกอนในหินกรวดมนส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน Bioclastic packstone และ Bioclastic wackestone (3) หน่วยหิน BK ได้แก่ ชั้นหินปูนเรียงชั้นดีสีดำแทรกสลับกับหินโคลน ผลการวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตในหน่วยร้อยละต่อปริมาตรมีค่า 75.40 การศึกษาศิลาวรรณนาพบว่าส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน Bioclastic grainstone และ Peloidal grainstone (ซึ่งแทรกสลับด้วยหินโคลน) (4) หน่วยหิน BL ได้แก่ ชั้นหินปูนคดโค้งสูงสีเทาเข้ม ผลการวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตในหน่วยร้อยละต่อปริมาตรมีค่า 87.40 การศึกษาศิลาวรรณนาพบว่าส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน Peloidal grainstone และ Bioclastic wackestone (5) หน่วยหิน G ได้แก่ หินตะกอนภูเขาไฟเนื้อหยาบสีเขียว ซึ่งไม่มีองค์ประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต การศึกษาศิลาวรรณนาพบว่าหินดังกล่าวเป็นหินตะกอนภูเขาไฟไรโอไรต์ หน่วยหินที่เหมาะกับการนำไปใช้ที่สุดได้แก่หน่วยหิน P เนื่องจากการศึกษาศิลาวรรณนาพบว่าเป็นหินที่ประกอบด้วย carbonate grain เป็นจำนวนมากกว่าหน่วยหินอื่นๆ เป็นผลทำให้ปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่วิเคราะห์ได้มีค่าสูงที่สุด หน่วยหิน OR และหน่วยหิน BL มีผลการศึกษาศิลาวรรณนาและผลการวิเคราะห์เชิงเคมีที่ใกล้เคียงกัน โดยประกอบด้วยหินที่มี carbonate grain เป็นจำนวนมาก (แต่น้อยกว่าหน่วยหิน P) และให้ให้ค่าปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่มากใกล้เคียงกับหน่วยหิน P ส่วนหน่วยหิน BK นั้นมีการแทรกสลับด้วยชั้นของหินโคลนอยู่ทั่วไป ทำให้ค่าปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่วิเคราะห์ได้มีค่าต่ำ ไม่เหมาะกับการนำไปใช้งาน
Other Abstract: The objectives of this project is to study carbonate petrography and chemical analysis of carbonate rocks in %CaCO₃(w/v), a 2 km2 limestone mine south of the Mae Moh coal mine, Amphoe Mae Moh, Changwat Lampang, FGD-1 which is one of the main source for Mae Moh power plant which has forced oxidation of wet limestone flue gas desulfurization for sulfur dioxide control. The results of this study can be useful for grade selection in limestone mining. Rock unit classification on a revised geological map was based on the relationship between lithology, petrography, chemical property and structure that was determined by fracture population. (Co-Study with Dr.Saraware Chantraprasert and his student from Chaing Mai University.) The rocks can be classified into 5 units: (1) Unit P, pink or light-grey massive limestones with 96.52 %CaCO₃ (W/V), and dark-grey massive limestone’s (denoted by P(B)) with 93.93 %CaCO₃ (W/V) and rich in calcite veins. Almost rocks from petrographic study compose of bioclastic packstone and peloidal packstone ; (2) Unit OR, bedded conglomeratic limestones with 88.20 %CaCO₃ (W/V). Almost rocks from petrographic study compose of bioclastic packstone and and bioclastic wackestone; (3) Unit BK, black well-bedded limestone of moderate thickness (averaging 30 cm) with 75.40 %CaCO3 (W/V). Almost rocks from petrographic study compose of bioclastic grainstone and peloidal grainstone which are interbedded with mudstone ; (4) Unit BL, dark grey intensely folded limestone with 87.40 %CaCO₃ (W/V). Almost rocks from petrographic study compose of Peloidal grainstone and Bioclastic wackestone ; and (5) Unit G, greenish coarse-grained rhyolitic tuff which is not carbonate rock. The most suitable rock unit for sulfur dioxide-control process is Unit P which is composes of the most abundant carbonate grains that show high number of %CaCO₃. Unit OR and Unit BL consist of the same type of grain with Unit P but less in quantity. For Unit BK, %CaCO₃ was dropped by mudstone that interbedded with the same carbonate grains limestone of the other unit, therefore, unit BK rocks is not suitable for the power plant.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53304
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Peerawat_Rattanapanit.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.