Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53307
Title: ลักษณะทางตะกอนวิทยาและการลำดับชั้นหินตามลักษณะหินของหินตะกอนทะเลที่บริเวณอุโมงค์ต้นไม้ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Sedimentology and lithostratigraphy of marine deposit at tree tunnel, Amphoe Muaklek, Changwat Saraburi
Authors: พงศกร เมฆศรีวรรณ
Advisors: วิชัย จูฑะโกสิทธิ์กานนท์
ปิยพงษ์ เชนร้าย
มนตรี ชูวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: vichaic@yahoo.com
piyaphong_c@hotmail.com
monkeng@hotmail.com
Subjects: ตะกอนวิทยา -- ไทย -- สระบุรี
หินปูน -- ไทย -- สระบุรี
Sedimentology -- Thailand -- Saraburi
Limestone -- Thailand -- Saraburi
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Hinthong et al. (1981) ได้จำแนกการลำดับชั้นหินเพอร์เมียนในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและพื้นที่ข้างเคียงออกเป็น 6 หมวดหิน เรียงลำดับจากล่างขึ้นบนดังนี้ หมวดหินภูเพ, หมวดหินเขาขวาง, หมวดหินหนองโป่ง, หมวดหินปางอโศก, หมวดหินเขาขาด และ หมวดหินซับบอน พื้นที่ศึกษาบริเวณอุโมงค์ต้นไม้ อยู่บนถนนทางหลวงหมายเลข 2089 ระหว่างอำเภอวังม่วง และ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ในหมวดหินหนองโป่ง ของ Hinthong et al., 1981 จากการสำรวจภาคสนามได้เก็บตัวอย่างหินรวมทั้งสิ้น 15 ตัวอย่างและนำมาทำแผ่นหินบาง จำนวน 15 แผ่นตัวอย่าง จากนั้นทำการศึกษาแผ่นหินบางโดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์ (polarizing microscope) และ ได้จัดทำภาพแท่งลำดับชั้นหิน (stratigraphic columns) พบว่าเป็นหินปูนและหินดินดานแทรกสลับกัน มีความหนาประมาณ 29 เมตร พบโครงสร้างทางตะกอน ได้แก่ การวางชั้นแบบเรียงขนาด (graded bedding) และ ลักษณะเป็นชั้นบาง ๆ (lamination) สามารถแบ่งภาพแท่งลำดับชั้นหิน ออกได้เป็น 3 กลุ่ม การศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบลักษณะของหินปูน 3 ชนิด ประกอบด้วย wackestone, packstone และ mudstone (Dunham, 1964) ทั้งนี้ยังพบ เศษตะกอนชีวภาพ (bioclast) จำพวก ไครนอยด์, ไบรโอซัว และ เปลือกหอย จากการศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาและโครงสร้างทางตะกอนวิทยาบริเวณพื้นที่ศึกษาพบว่าการสะสมตัวของของตะกอนเป็นการเลื่อนไถล (slump) ลงของโคลน (mud) และ คาร์บอเนต เนื่องจากการเกิดกระแสปั่นป่วนรุนแรง บริเวณทะเลสาบน้ำเค็ม หรือ บริเวณลาดทวีป (continental slope) ซึ่งมีระดับความลึกไม่เกินระดับ CCD การศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับการศึกษาของ Chaodumrong et al., 2002 ที่กล่าวถึงพื้นที่ศึกษานี้ว่าอยู่ในหมวดหินหนองโป่ง (Hinthong et al., 1981)
Other Abstract: In the Saraburi area and its vicinities, the Permian Saraburi Group was respectively subdivided into the Sap Bon, the Khao Khad, the Pang Asok, the Nong Pong, the Khao Khwang, and the Phu Phe Formations in descending order. These formations range in age from Early to late Middle Permian (Hinthong et al., 1981). The study area, Tree Tunnel, in Saraburi on the highway no. 2089 between Amphoe Muaklek and Amphoe Wang Muang, Changwat Saraburi, Thailand is of some the sedimentary succession of Nong Pong Formation. With regard to stratigraphy and sedimentology of the 29 meters thick limestone and shale sequence in the study area, the stratigraphic columns show the repeating sequences of argillaceous limestone interbedded with shale. The sedimentary structures show graded bedding and lamination. The stratigraphic section has been subdivided as Unit 1, Unit 2 and Unit 3, respectively. Fifteen isolated samples were collected for petrographical study. The rock types of these argillaceous limestone are wackestone, packstone and mudstone (Dunham, 1964) under the microscope. The grains consist mainly of intraclasts and bioclasts such as crinoids, bryozoans, and bivalve shells. Based on field investigation, the sedimentary sequence and petrography in study area is deposited as slump units of carbonate and mud sediments with turbidity current in lagoonal basin or on continental slope, not deeper than the CCD limit. The result of this study is agreed with previous work of Chaodumrong et al., 2002, the sedimentary rocks at Tree Tunnel, Saraburi is possibly belonging to the Nong Pong Formation of Hinthong et al., 1981
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53307
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_PONGSAKORN MEKSRIWAN.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.