Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53311
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฐานบ ธิติมากร | - |
dc.contributor.author | สราลี จันทร์หนู | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | เชียงราย | - |
dc.date.accessioned | 2017-09-18T03:20:01Z | - |
dc.date.available | 2017-09-18T03:20:01Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53311 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554 | en_US |
dc.description.abstract | จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว เนื่องจากมีหลักฐานการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอดีต อีกประการคืออยู่ใกล้กับรอยเลื่อนมีพลัง (Charusiri et al., 2000) ที่มีแหล่งกำเนิดทั้งจากในประเทศไทยและประเทศข้างเคียง นอกจากนั้นลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ตั้งอำเภอเมืองเชียงราย เป็นตะกอนชั้นดินอ่อน ที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนแม่น้ำกก ซึ่งโดยทั่วไปนั้นตะกอนไม่แข็งตัวจะมีคุณสมบัติในการขยายแรงสั่นสะเทือนให้เพิ่มมากขึ้น (Pattararattanakul, P., 2003) กล่าวคือ ตะกอนดินที่มีค่าความเร็วคลื่นเฉือนต่ำมักมีคุณสมบัติการขยายแรงสั่นสะเทือนได้มากกว่าตะกอนดินที่มีค่าความเร็วคลื่นเฉือนสูง การประเมินความสามารถของการขยายแรงสั่นสะเทือนนั้น ได้ทำการอ้างอิงจากค่าความเร็วคลื่นเฉือนที่ระดับความลึก 30 เมตร ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำแผนที่การแสดงการกระจายตัวชนิดของดิน ที่มีความสามารถในการขยายแรงสั่นสะเทือนตามข้อกำหนดของ NEHRP 2003 ในงานวิจัยนี้สามารถคำนวณค่าความเร็วคลื่นเฉือนได้จากวิธี การสำรวจคลื่นไหวสะเทือนผิวดินแบบหลายช่องรับสัญญาณ หรือ MASW (Multi-channel Analysis of Surface Wave)(Park et al., 1999) ซึ่งข้อดีของการสำรวจด้วยวิธีนี้คือ ให้กำเนิดพลังงานข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนที่ง่ายและมีความชัดเจนของสัญญาณ การออกภาคได้ทำการเก็บข้อมูล 30 จุด ครอบคลุมชนิดดินทั้ง 5 ประเภทในพื้นที่การศึกษา และนำข้อมูลค่าความเร็วคลื่นเฉือนของดินในละจุดเก็บข้อมูลมาใช้อ้างอิงจำแนกชนิดดินตามข้อกำหนดของ NEHRP 2003 (National Earthquake Hazards Reduction Program) จัดทำเป็นแผนที่ NEHRP site classification จากการศึกษาสามารถจัดจำแนกชนิดดินตามข้อกำหนดของ NEHRP ได้เป็น 2 site class คือ C และ D โดยมีค่าความเร็วคลื่นเฉือนเฉลี่ยคือ 418 m/s และ 338 m/s ตามลำดับ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่ศึกษาบริเวณอำเภอเมืองเชียงรายนั้นถูกจัดจำแนกเป็น site class D จึงมีความเสี่ยงต่อการได้รับการขยายแรงสั่นสะเทือนอย่างมาก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท จึงควรมีการให้ความสำคัญและวางแผนระบบสาธารณูปโภค อาคาร สิ่งก่อสร้าง ในพื้นที่ดังกล่าว | en_US |
dc.description.abstractalternative | Changwat Chiangrai is located in the northern part of Thailand and is a high risk area to be affected by the earthquake ground motion. Because the city is laid on the soft sediments of alluvium deposites of Kok River, these soils underneath the city can amplify ground motions thereby increasing earthquake damage (Pattararattanakul, P., 2003). The ground motion amplification of soils can be estimated by using their averaged shear wave velocity down to 30 meters (Vs(30)). Amplification of soils can be inferred from shear wave velocity that the soft soils with the low Vs values have the ability to expand ground vibration more than high Vs values. Consequently the main objective of this study is to create the soil classification map of Amphoe Muang using the (Vs(30)). In this study, we use the MASW (Multi-channel Analysis of Surface Wave) (Park et al., 1999) techniques to determine Vs of soils. This technique utilizes the ground roll energy which is the strongest energy among the other types of seismic wave to calculate the Vs profile. In this study, we collected seismic data over 30 locations covering in 5 soil units. We then calculated the Vs(30) in each test site and used it to classify the soil classes based on the recommendations of the 1997 National Earthquake Hazards Reduction Program (NEHRP). Finally we developed the NEHRP site classification map of the study area. The results reveal that the Vs(30) values of the near mountain zone and the natural levee can be classified as site class C with the average Vs(30) of 418 m/s. However the northern valley plain and eastern floodplain which cover most of the study area are classified as site class D with the average Vs(30) of 338 m/s. Based on the site classification map, we can conclude that the main part of the study area is under substantial risk of soil amplification. Therefore construction of any buildings or infrastructures in this zone must be done with extremely care. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คลื่นเฉือน | en_US |
dc.subject | แรงเฉือนของดิน | en_US |
dc.subject | ดิน -- การจำแนก | en_US |
dc.subject | การสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือน -- ไทย -- เชียงราย | en_US |
dc.subject | คลื่นไหวสะเทือน -- ไทย -- เชียงราย | en_US |
dc.subject | แผ่นดินไหว -- ไทย -- เชียงราย | en_US |
dc.subject | Shear waves | en_US |
dc.subject | Shear strength of soils | en_US |
dc.subject | Soils -- Classification | en_US |
dc.subject | Seismic exploration -- Thailand -- Chiang Rai | en_US |
dc.subject | Seismic waves -- Thailand -- Chiang Rai | en_US |
dc.subject | Earthquakes -- Thailand -- Chiang Rai | en_US |
dc.title | แผนที่ความเร็วคลื่นเฉือนระดับตื้น และการแบ่งชนิดของดินเพื่อประเมินผลกระทบจากแผ่นดินไหวบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | Shear-wave velocity mapping and site classification of soils for earthquake hazard evaluation in Amphoe Muang, Changwat Chiang Rai, Northern Thailand | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | thanop.t@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Report_Saralee Channoo.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.