Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53312
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปัญญา จารุศิริ-
dc.contributor.authorสุพิชญา ไปพะนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialพิจิตร-
dc.date.accessioned2017-09-18T03:48:17Z-
dc.date.available2017-09-18T03:48:17Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53312-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554en_US
dc.description.abstractเหมืองแร่ทองคำชาตรีตั้งอยู่ที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เป็นแหล่งแร่ที่มีลักษณะเด่นสำคัญคือการเปลี่ยนสภาพของหินในพื้นที่โดยกระบวนการน้ำแร่ร้อนที่พุ่งดันตัวขึ้นมาจากชั้นใต้เปลือกโลกตามรอยแตกหรือรอยเลื่อนของหิน การพุ่งตัวของน้ำแร่ร้อนจะเคลื่อนตัวขึ้นมาตามรอยแตกในลักษณะของสายแร่และมีการตกผลึกของแร่มีค่าในรอยแตกนั้น การที่น้ำแร่ร้อนพุ่งตัวขึ้นมาได้นั้นเกิดจากอุณหภูมิและความดันใต้ผิวโลกที่มีการเพิ่มสูงขึ้น เมื่อน้ำแร่ร้อนเคลื่อนตัวขึ้นมาตามรอยแตกจะส่งผลให้เกิดความร้อนขึ้นในหินท้องที่ แร่องค์ประกอบภายในหินเกิดการเปลี่ยนสภาพกลายเป็นแร่ดิน แร่ดินที่เกิดขึ้นแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยและอิทธิพลที่ทำให้หินเกิดการเปลี่ยนสภาพ เช่น อุณหภูมิ ความดัน หรือองค์ประกอบเคมีของหิน ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาลำดับโซนแร่ดินตั้งแต่โซนที่อยู่ติดกับสายแร่ทองคำไปจนถึงบริเวณที่ไกลจากโซนสายแร่ เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านงานเจาะสำรวจ อย่างไรก็ตามวิธีการในการได้มาซึ่งข้อมูลวิเคราะห์ของแร่ดินจำเป็นต้องแปรผันตามปัจจัยและการลงทุนในการทำเหมืองแร่ เครื่องมือตรวจวัด Analytical Spectral Devices (ASD) เป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการตรวจวัดแร่ด้วยการดูดกลืนช่วงคลื่น สารองค์ประกอบภายในแร่แต่ละชนิด จะมีการดูดกลืนช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน จึงทำให้การใช้เครื่องมือตรวจวัดชนิดนี้เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย และเนื่องจากความสามารถในการการวัดตัวอย่างหินที่มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าวิเคราะห์ตัวอย่างและยังไม่เป็นการทำลายตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ แต่เครื่องมือตรวจวัดมีขีดจำกัดและความสามารถจึงทำการศึกษาตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธี ASD , XRD และทางศิลาวรรณนา โดยตรวจวัด 16 ตัวอย่างจากตัวอย่างแท่งหินที่ได้จากการเจาะสำรวจ หลุมเจาะ 07414RD มีความลึกหลุม 312 เมตร ภาพตัดขวางชุดที่ 1690 บ่อเอส ผลการศึกษาได้โซนของการเปลี่ยนสภาพของหินอย่างมีนัยสำคัญ 4 โซน โดยลำดับจากโซนที่อยู่ด้านในสุดติดกับสายแร่ออกไปด้านนอก ได้แก่ โซนแร่ quartz-adularia-sericite เป็นกลุ่มแร่ที่ได้จากการเปลี่ยนสภาพหินแบบ silification ต่อมาเป็นโซนแร่ illite-smectite เป็นแร่บ่งชี้การเปลี่ยนสภาพแบบ phyllic และโซนแร่ FeMgChlorite เป็นแร่บ่งชี้การเปลี่ยนสภาพแบบ prophyriitc และโซนด้านนอกสุดคือ โซนแร่ kaolinite ซึ่งมีการเกิด overprinted เข้ามาทีหลัง และมีการแทรกตัวอยู่ในโซนแร่โซนอื่นบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ผลที่ได้จากการศึกษายังพบว่าวิธีวิเคราะห์ด้วย ASD ไม่สามารถตรวจวัดแร่ประเภท non-hydrous หรือกลุ่มแร่ซิลิเกตได้ และผลที่ได้จากการศึกษาทางศิลาวรรณนาบ่งชี้ประเภทของแหล่งแร่อุณหภูมิต่ำแบบสภาพกรดต่ำ (epithermal low sulfidation) เนื่องจากพบแร่ adularia ซึ่งเป็นแร่บ่งชี้การเกิดแหล่งแร่ในอุณหภูมิต่ำ และยังเป็นแร่ที่วิธีวิเคราะห์ ASD ไม่สามารถตรวจวัดได้ อย่างไรก็ตามจากผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง ASD เทียบกับผลการวิเคราะห์ด้วยวิธี XRD ข้อมูลของชนิดแร่ที่ได้ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ด้วยวิธี ASD จึงสามารถใช้ในงานเจาะสำรวจแหล่งแร่เพื่อบอกโซนของแร่ดินได้ในระดับที่น่าเชื่อถือen_US
dc.description.abstractalternativeThe Chatree gold mine is located on Khao Jet Lok subdistrict, Tubkhao district, Pichit province which characterized by alteration zones dominated with argillic clays, formed from near-neutral hydrothermal fluids. The alteration study was determined by two main techniques; An Analytical Spectral Device (ASD) and X-Ray diffraction (XRD); including petrography. ASD has been widely used economically, in a real time and non-destructive method. However non-hydrous minerals can’t be detected by this technique. In this investigation, we have studied to 07414RD drill hole, Section 1690, S-Pit and 16 core samples were analyzed. As a result, from proximal to distal can be described by 4 significant zonations; Quartz-Adularia-Sericite indicated silicified alteration; Illite-smectite indicated phyllic alteration, FeMgChlorite indicated prophyritic alteration and the last outer zone was indicated by Kaolinite which presents the overprinted event. The associated minerals of clay were described by petrography especially Adularia, which is the key of epithermal low sulfidation, can be identified by petrography as well. In contrast, ASD and XRD techniques are enable to do this. Clay-enrichment method in XRD technique was also applied to confirm all ASD data too. From overall present that clearly, ASD technique is almost accurate but not 100 percent reliable, for the mineral species detected has some limited. The machine not appropriate to analyses the sample which has mainly silicate minerals. But this technique can be applied to the routine work or regional scale for get close to mineralized vein by alteration pattern.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเหมืองแร่ทองคำชาตรี (พิจิตร)en_US
dc.subjectแร่วิทยา -- ไทย -- พิจิตรen_US
dc.subjectแร่ดิน -- ไทย -- พิจิตรen_US
dc.subjectธรณีวิทยา -- ไทย -- พิจิตรen_US
dc.subjectChatree gold mine (Phichit)en_US
dc.subjectMineralogy -- Thailand -- Phichiten_US
dc.subjectClay minerals -- Thailand -- Phichiten_US
dc.subjectGeology -- Thailand -- Phichiten_US
dc.titleลักษณะเฉพาะทางแร่วิทยาของแร่ดินและชุดแร่เปลี่ยนสภาพ โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธี ASD และ XRD ของหินจากบ่อเอส เหมืองแร่ทองคำชาตรี ประเทศไทยตอนกลางen_US
dc.title.alternativeCharacteristics of clay mineralogy and alteration assemblages using ASD & XRD analyses rocks from S-Pit, Chatree Gold Mine, Central Thailanden_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorcpunya@chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_supitcha paipana.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.