Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5332
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมร เพชรสม-
dc.contributor.advisorนาตยา งามโรจนวณิชย์-
dc.contributor.authorไพลิน สิทธิวิเชียรวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2008-01-07T10:04:36Z-
dc.date.available2008-01-07T10:04:36Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743328238-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5332-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractทำการคัดกรองสารมีฤทธิ์ยับยั้งไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรสในสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ กวาวเครือแดง กระชาย กำลังพญาเสือโคร่ง จันทร์เทศ โด่ไม่รู้ล้ม ตะโกนา ม้ากระทืบโรง ว่านชักมดลูก ว่านร่อนทอง และฮ่อสะพายควาย โดยสกัดสารจากพืชสมุนไพรด้วยเอทานอล แล้วทดสอบการยับยั้งไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรส พบว่า กวาวเครือแดง กำลังพญาเสือโคร่ง จันทร์เทศ ม้ากระทืบโรง และว่านร่อนทอง แสดงฤทธิ์ยับยั้งไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรสสูงกว่า 50% ที่ความเข้มข้นของสารสกัด 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร นำสารสกัดเอทานอลมาแยกสกัดต่อด้วยเฮกเซนและคลอโรฟอร์ม แล้วทดสอบความสามารถในการยับยั้ง ไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรส พบว่าสารที่แสดงฤทธิ์อยู่ในส่วนสกัดเอทานอลและคลอโรฟอร์ม ได้เลือกส่วนสกัดคลอโรฟอร์มของกวาวเครือแดง (Butea superba Roxb) มาศึกษาต่อโดยแยกองค์ประกอบด้วยคอลัมน์โครมาโทกราฟฟี สามารถแยกได้ 9 ลำดับส่วน คือ B01 ถึง B09 แล้วนำมาทดสอบการยับยั้งเอนไซม์ พบว่า ลำดับส่วน B02, B03, B04, B05, B06, B07, B08 และ B09 แสดงฤทธิ์ยับยั้งไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรสโดยมีความสามารถในการยับยั้งสูงกว่า 50% และพบว่ามีสารอย่างน้อย 1 ชนิดที่แสดงฤทธิ์ที่ยับยั้งเอนไซม์ซึ่งอยู่ในลำดับส่วน B02 คือ 3, 5, 7'-trihydroxy-4'-methoxyflavone ซึ่งแสดงฤทธิ์ยับยั้งไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรส 50.0% นอกจากนี้ได้นำสารสกัดจากเปลือกต้นเปล้าใหญ่ (Croton oblonglifolius) ซึ่งเป็นไดเทอร์พีนอยด์จำพวกแลบเอน, เคลอโรเดน และเซมบรานอยด์ และสารสังเคราะห์เลียนแบบเปลาโนทอล ได้แก่ อนุพันธ์ฟาร์นีซอลและอนุพันธ์เจอรานิออลซึ่งมีโครงสร้างเป็นโซ่เปิดมาทดสอบ พบว่า ไดเทอร์ฟีนอยด์ที่มีโครงสร้างเป็นเซมบรานอนด์ แสดงฤทธิ์ยับยั้งไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรสสูงที่สุด ส่วนสารสังเคราะห์เลียนแบบเปลาโนทอลที่มีโครงสร้างเป็นโซ่เปิดที่สั้นกว่าจะแสดงฤทธิ์ยังยั้งไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรสสูงกว่าสารที่มีโครงสร้างเป็นโซ่เปิดที่ยาวกว่า จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าโครงสร้างของตัวยับยั้งไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรสที่ดีจะต้องมีโครงสร้างบางส่วนที่คล้ายคลึงกับ adenosine ในไซคลิก-เอเอ็มพี และมีการยับยั้งแบบแข่งขันen
dc.description.abstractalternativeTen medicinal plants : Butea superba Roxb., Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Betula alnoides, Buch Ham., Myristica fragrans Houtt., Elephantopus scaber Linn., Diospyros rhodocalyx Kruz., Ficus pubigoza Wall., Circuma xanthorrhiza Roxb., Globba malaccensis Bidl., and Suregada miltiflourum (A. Juss) Bill, were screened for cyclic-AMP phosphodiesterase inhibitors. Five medicinal plants: Butea superba Roxb., Betula alnoides, Buch Ham., Myristica fragrans Houtt, Ficus pubigoza Wall. and Globba malaccensis (A. Juss) Bidl., showed inhibitory activity on cyclic-AMP phosphodiesterase. Ethanol extracts of five medicinal plants were further fractionated into hexane and cloroform fractions and tested for their inhibitory activity. The ethanol crude and chloroform crude showed inhibitory activiy on cyclic-AMP phosphodiesterase. Chloroform extract of Butea superba Roxb., was futher fractionated by column chromatography into 9 fractions and tested for inhibitory effects. Fraction B02, B03, B04, B05, B06, B07, B08 and B09 showed more than 50% inhibitory activity on cyclic-AMP phosphodiesterase. Inhibitory substance in B02 was identified as a known 3, 5, 7'-trihydroxy-4'-methoxyflavone and the % Inhibition was 50.0%. The inhibitory activity of diterpenoids (labdane, clerodane and cembranoid) from Croton oblonglifolius, had been tested. It was found that diterpenoids with cembraniod structure showed highest inhibitory activity on cyclic-AMP phosphodiesterase. The inhibitory activity of synthetic plaunotol analog of geraniol derivatives and farnesol derivative was also investigated. It was found that the geraniol derivatives, which shorter oper chain than farnesol derivatives, showed better inhibitory activity than farnesol derivatives. From this experiment, it was found that the structure of good cyclic-AMP phosphodiesterase inhibitors should have structures similar to adenosine moiety of cyclic-AMP and have of competitive propertiesen
dc.format.extent4546968 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสมุนไพรen
dc.titleการคัดกรองสารมีฤทธิ์ทางชีวภาพในพืชสมุนไพรโดยวิธียับยั้ง ไซคลิก-เอเอ็มพี ฟอสโฟไดเอสเทอเรสen
dc.title.alternativeScreening for biologically active compounds from medicinal plants by inhibition of cyclic-AMP phosphodiesteraseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisoramorn.p@chula-
dc.email.advisornnattaya@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pailin.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.