Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53358
Title: ธรณีสัณฐานวิทยาของแม่นํ้าน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
Other Titles: Geomorphology of Nan River, Amphoe Muang Nan, Changwat Nan
Authors: ศิรวิทย์ ปฐมชัยวาลย์
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: monkeng@hotmail.com
Subjects: ธรณีสัณฐานวิทยา
ธรณีสัณฐานวิทยา -- ไทย -- น่าน
Geomorphology
Geomorphology -- Thailand -- Nan
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แม่นํ้าน่านเป็นแม่นํ้าในประเทศไทยซึ่งเป็นแม่นํ้าที่สำคัญยิ่งอันเป็นต้นนํ้าของแม่นํ้าเจ้าพระยา แม่นํ้าน่าน มีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง จังหวัดน่าน สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของธรณีสัณฐานในพื้นที่ศึกษา โดยพื้นที่ศึกษาดังกล่าวอยู่ในอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ทั้งนี้เราใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเป็นข้อมูลหลักในการจำแนกชนิดของธรณีสัณฐานในพื้นที่ศึกษา สำหรับการออกภาคสนามนั้นเราได้ทำการวัดความลึกและความกว้างของร่องนํ้า นอกจากนั้น เรายังได้ทำการวัดค่าดัชนีธรณีสัณฐาน เช่น ดัชนีความโค้ง(sinousity index) และรัศมีความโค้ง (radius of curvature) เพื่อดูลักษณะการคดโค้งและวิวัฒนาการของแม่นํ้าน่าน จากผลการศึกษาสามารถจำแนกชนิดของธรณีสัณฐานในพื้นที่ศึกษาออกเป็น 9 ชนิด ดังนี้ ชุดหิน (Rock Unit) ลานตะพักลำนํ้า (Terrace) ขั้นที่ 1 ลานตะพักลำนํ้า (Terrace) ขั้นที่ 2 ตะกอนนํ้าพารูปพัดยุคใหม่ (Modern Aluvial fan) ที่ราบนํ้าท่วมถึง (Floodplain) สันดอนทราย (Point bar) ทะเลสาบรูปแอก (Oxbow lake) แม่นํ้าปัจจุบัน (River channel) แม่นํ้าเก่า (Paleochannel) และจากการศึกษาภาพตัดขวางของทางนํ้าพบว่า ความกว้างของร่องนํ้าในพื้นที่ศึกษามีขนาดเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้า นอกจากนั้นค่าดัชนีความโค้ง (sinousity index) เท่ากับ 1.67 ดังนั้น แม่นํ้าในพื้นที่ศึกษาคือ แม่นํ้าโค้งตวัด (meandering) และมีรูปร่างร่องนํ้าของแม่นํ้าในพื้นที่ศึกษาเป็นแบบไม่สมมาตร (asymmetry) และพบตำแหน่งร่องลึก (thalweg) อยู่ทางซ้ายของแม่นํ้า
Other Abstract: The Nan River is one of the most important tributaries of the Chao Phraya River. The Nan River originates in the Luang Prabang Range, north of Nan Province. The objective of this project is to characterize types of landforms along the Nan River, part of Amphoe Muang, Changwat Nan. An interpretation in this study is based on satellite image aiming to identify the fluvial landforms. In the field, the measurement in dimension of the Nan River in terms of Channel width and depth was carried out. Cross-section of channel embayment was measured. Geomorphic index such as sinousity index (SI) and radius of curvature (Rc) are calculated to help dividing types of the modern river and to better understand the evolution of the Nan River course. As a result, geomorphological map was made including 9 geomorphic units; 1st and 2nd levels of terrace, modern alluvial fan, floodplain, point bar, oxbow lake, modern river embayment, paleochannel and rocky area. Based on cross-section across channels, the width decreases from upstream to downstream. The sinousity index of the river is average at 1.67, which implies that the evolution of the river is recently in meandering stage. Geomorphic profile across channel embayment of the Nan River is generally asymmetrical shape with thalweg mainly locates in the left side of the Nan River.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53358
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1400
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1400
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432736323_ศิรวิทย์ ปฐมชัยวาลย์.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.