Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53378
Title: การลำดับชั้นหินทางกายภาพบริเวณผาชัน-สามหมื่นรู จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Lithostratigraphy of Pha Chan – Sam Muen Ru in Changwat Ubon Ratchathani
Authors: สหพล พงษ์เพียรสกุล
Advisors: ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: thasineec@gmail.com
Subjects: ผาชัน-สามหมื่นรู (อุบลราชธานี)
ธรณีวิทยา -- ไทย -- อุบลราชธานี
หินทราย -- ไทย -- อุบลราชธานี
กระแสน้ำบรรพกาล
Pha Chan – Sam Muen Ru (Ubonratchathani)
Geology -- Thailand -- Ubonratchathani
Sandstone -- Thailand -- Ubonratchathani
Paleocurrent
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผาชัน-สามหมื่นรูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีสภาพทางธรณีวิทยาที่สวยงาม โดยตั้งอยู่ บริเวณริมแม่น้าโขงของจังหวัดอุบลราชธานีโดย สภาพทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นยังไม่มีการศึกษาในเชิงลึก วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ศึกษาลำดับชั้นหินกายภาพและทิศทางการไหลของกระแสน้ำบรรพกาล และ กระบวนการและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดสามหมื่นรู ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของหินเป็นหินทรายปนกรวด ประกอบด้วยตะกอนทรายขนาดปานกลาง ถึงหยาบมาก มีการคัดขนาดไม่ดีแต่มีความกลมมนและความเป็นทรงกลมปานกลางถึงดี แสดงลักษณะของชั้น เฉียงระดับแสดงทิศทางการไหลของกระแสน้ำบรรพกาลชัดเจน แสดงลักษณะของการคัดขนาดตะกอนแบบ ปกติ ส่วนในการเกิดสามหมื่นรูเกิดจากการกัดกร่อนของแม่น้ำโขงเนื่องมาจากเนื้อหินที่มีความไม่เป็นเนื้อ เดียวกันและมีการพอกของตะกอนและสารละลายจากน้ำใต้ดินในพื้นที่พอกปิดด้านนอกในภายหลังทำให้เกิด ลักษณะที่เป็นรูจำนวนมาก และสุดท้ายกระบวนการการเกิดของหินสีประกายแสงเกิดจากสารละลายเหล็กในน้ำ ใต้ดินที่เกิดจากการขยับของระดับน้ำใต้ดินที่เป็นตัวนำพาสารละลายเหล็กมาทำปฏิกิริยากับอากาศที่ผิวของหิน ทำให้ได้แร่ Hematite และเมื่อเกิดการผุพังโดยแสงแดด น้ำ และสภาพอากาศ ทำให้แร่ Hematite เปลี่ยนเป็น Goethite เคลือบที่ผิวด้านนอกของหิน สรุปผลสภาพแวดล้อมการตกสะสมตัวของตะกอนเป็นแบบ Braided stream โดยมีทิศทางการไหล ของกระแสน้ำบรรพกาลในทิศไหลจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือลงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การเกิดสามหมื่นรูได้แก่ ลักษณะทางกายภาพของหิน โครงสร้างทางหินตะกอน กระแสน้ำปัจจุบัน และ น้ำใต้ ดิน ส่วนหินสีประกายแสงตัวที่ส่งผลต่อการเกิดได้แก่ องค์ประกอบในน้ำใต้ดินและสภาพอากาศ
Other Abstract: Spectacular Sam Muen Ru at Pha Chan located in Changwat Ubon Ratchathani, is an attractive place for sight-seeing and geology but it has no research in this area. So the aims of this research are to study lithostratigraphy, paleocurrent analysis and Sam Muen Ru’s pattern forming. The result reveals that the sedimentary rocks consist of grayish-white Pebbly sandstone, medium to very coarse grain sandstone which are poorly sorted and moderate to high sphericity and roundness. Many sedimentary structures such as graded bedding and cross-bedding was observed and analyzed in order to get the direction of the paleocurrent. The pattern of Sam Muen Ru has a relative with the erosion from Mekong River, heterogeneous texture and accreted process of groundwater which cover the rock’s surface after erosion. The cluster rock’s process has a relative with the oxidation of iron-solution in groundwater which the main cause of hematite forming and weathering process that convert hematite to goethite at the surface of rock. In conclusion, the deposition environment was in braided stream system and the direction of the paleocurrent is NE to SW. All patterns of Sam Muen Ru forming have been controlled by physical property of rocks, sedimentary structure, Mekong River’s current and groundwater. The cluster rocks’ forming has been controlled by groundwater solution and climate.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53378
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5332728223 สหพล พงษ์เพียรสกุล.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.