Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53478
Title: | พฤติกรรมและพิบัติภัยแผ่นดินไหวของเจดีย์ในภาคเหนือของประเทศไทย |
Other Titles: | Earthquake activities and harzards of pagodas in Northern Thailand |
Authors: | ธนภัทร วงษ์สวัสดิ์ |
Advisors: | สันติ ภัยหลบลี้ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pailoplee.S@hotmail.com |
Subjects: | การประเมินอันตรายจากแผ่นดินไหว การประเมินอันตรายจากแผ่นดินไหว -- ไทย (ภาคเหนือ) พยากรณ์แผ่นดินไหว พยากรณ์แผ่นดินไหว -- ไทย (ภาคเหนือ) เจดีย์ -- ผลกระทบจากแผ่นดินไหว เจดีย์ -- ผลกระทบจากแผ่นดินไหว -- ไทย (ภาคเหนือ) Earthquake hazard analysis Earthquake hazard analysis -- Thailand, Northern Earthquake prediction Earthquake prediction -- Thailand, Northern Pagodas -- Earthquake effects Pagodas -- Earthquake effects -- Thailand, Northern |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวมากขึ้น ทั้งอาคารบ้านเรือน และสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น เจดีย์ ดังนั้นโครงงานวิทยาศาสตร์นี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาพฤติกรรมและพิบัติภัยแผ่นดินไหวของเจดีย์ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยในการประเมินจะใช้ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวจากฐานข้อมูล Incorporated Research Institutions for Seismology (IRIS) และจากการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลพบว่ามีข้อมูลแผ่นดินไหวทั้งสิ้น 1,450 เหตุการณ์ การประเมินพฤติกรรมแผ่นดินไหวทาได้โดยการหาขนาดแผ่นดินไหวสูงสุด มีหน่วยเป็น moment magnitude (Mw) ซึ่งสามารถหาได้จากการประเมินจากความยาวของรอยเลื่อนและคำนวณจากสมการความสัมพันธ์ของ Well และ Coppersmith (1994) และประเมินโดยการหาค่า a และ b จากสมการความสัมพันธ์ของ Gutenberg และ Richter (1944) ส่วนการประเมินพิบัติภัยแผ่นดินไหวจะประเมินเชิงปริมาณในรูปของแรงสั่นสะเทือนสูงสุดบนพื้นดิน (Peak Ground Acceleration, PGA) โดยทำการประเมินโดยวิธีวิธีกำหนดค่า (Deterministic Seismic Hazard Analysis, DSHA) และจากแนวคิดความน่าจะเป็น (Probabilistic Seismic Hazard Analysis, PSHA) จากการประเมินพบว่าขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดมีค่าอยู่ระหว่าง 6.8-7.1 Mw และในช่วง 50 ปี มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวสูงสุดขนาด 6 ตามมาตราเมอร์คัลลี่แปลง แต่มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดค่อนข้างต่ำ ดังนั้นเจดีย์ในภาคเหนือของประเทศไทยจึงมีโอกาสเสี่ยงภัยต่ำที่จะเกิดการพังทลายจากแผ่นดินไหวในอนาคต |
Other Abstract: | Nowadays there are many effects from the earthquake impact to the constructions and architectures for the example the pagodas, hence this senior project is focused the earthquake activities and hazards of pagodas in the northern of Thailand by the earthquake evaluation from Incorporated Research Institutions for Seismology (IRIS) database. As a result, the data quality improvement found that there are 1,450 earthquake data. The evaluation of earthquake activities can do these by finding the maximum earthquake magnitude in the unit of moment magnitude (Mw) by using the surface rupture length and calculating form the relation of Well and Coppersmith (1994) and estimated by using a and b from the relation of Gutenberg and Richter (1994) and evaluation of earthquake hazards will represent in term of Peak Ground Acceleration, PGA, estimated by Deterministic Seismic Hazard Analysis, DSHA, and the theory of Probabilistic Seismic Hazard Analysis, PSHA. From the evaluation found the largest earthquake magnitude is around 6.8 - 7.1 Mw and the period of 50 years, the probability of maximum earthquake is 6 but the probability of occurrence is significantly low, consequently the earthquake hazards probability risk of pagoda in the northern of Thailand is too low to rupture by the future earthquake |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา .... คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53478 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanapat Wongsawad.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.