Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53481
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเครือวัลย์ จันทร์แก้ว-
dc.contributor.authorณัฐวีร ระวังสำโรง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกระบี่-
dc.date.accessioned2017-10-10T06:43:55Z-
dc.date.available2017-10-10T06:43:55Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53481-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษาลักษณะเฉพาะตะกอนสึนามิ พ.ศ. 2547 และการสำรวจหลักฐานเหตุการณ์ สึนามิและพายุโบราณในจังหวัดกระบี่ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูล ในการสำรวจตะกอนสึนามิได้ใช้แผนที่พื้นที่นํ้าท่วมจากคลื่นสึนามิเป็นแนวทาง ผลจากการสำรวจไม่พบตะกอนสึนามิโบราณ แต่พบตะกอนสึนามิ พ.ศ. 2547 ที่บริเวณเกาะลันตาน้อย และบ้านหาดยาว จึงเก็บตัวอย่างตะกอนได้แก่ ตะกอนสึนามิ ตะกอนหน้าหาด ตะกอนใต้ชั้นสึนามิ เพื่อมาวิเคราะห์เชิงปริมาณหาขนาดตะกอนด้วยเครื่อง Particle Size Analyzer วิเคราะห์เชิงปริมาณอินทรีย์สารและปริมาณคาร์บอเนตด้วยวิธี Loss on ignition (LOI) และวิเคราะห์เชิงคุณภาพหาชนิดของแร่ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสองตา ผลจากการศึกษาตะกอนสึนามิที่บริเวณเกาะลันตาน้อยมีความหนา 2 เซนติเมตร ค่าเฉลี่ยขนาดตอน (Phi, φ) เท่ากับ 2.77 เป็นตะกอนขนาดทรายละเอียดเป็นส่วนใหญ่ การกระจายตัวขนาดตะกอนเป็นแบบ unimodal มีการคัดขนาดที่ดี ปริมาณอินทรีย์สาร (LOI550) 1.98-2.41 เปอร์เซ็นต์และปริมาณคาร์บอเนต (LOI950) 0.55-0.65 เปอร์เซ็นต์ ตะกอนสึนามิที่บ้านหาดยาวมีความหนา 20 เซนติเมตร ค่าเฉลี่ยขนาดตอน (Phi, φ) เท่ากับ 3.2 เป็นตะกอนขนาดทรายละเอียดมากเป็นส่วนใหญ่ การกระจายตัวขนาดตะกอนเป็นแบบ unimodal มีการคัดขนาดที่ดี ปริมาณอินทรีย์สาร (LOI550) 1.41-2.97 เปอร์เซ็นต์และปริมาณคาร์บอเนต (LOI950) 0.34-3.53 เปอร์เซ็นต์ แร่ในตะกอนสึนามิทั้ง 2 ที่ประกอบด้วยควอตซ์เป็นหลัก มีการคัดขนาดปานกลาง ลักษณะกลมมนปานกลาง และความเป็นทรงกลมสูง จากการสำรวจและบันทึกข้อมูลของปะการังขนาดก้อนหินมนใหญ่ในบริเวณแหลมและหัวหาดในพื้นที่จังหวัดกระบี่ พบว่าไม่สามารถระบุได้ก้อนหินมนใหญ่เหล่านี้ถูกพัดพาจากเหตุการณ์สึนามิหรือพายุ เนื่องจากก้อนหินมนใหญ่มีขนาดไม่ใหญ่มากและพบอยู่ที่ระดับความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลางไม่มาก ดังนั้นอาจถูกพัดพามาโดยคลื่นทะเลธรรมดาหรือมรสุม คำสำคัญ: ตะกอนสึนามิ, ตะกอนสึนามิโบราณ, พายุ, ปะการังขนาดก้อนหินมนใหญ่, ลักษณะเฉพาะตะกอนสึนามิen_US
dc.description.abstractalternativeThe study of the characteristics of 2004 Tsunami deposits and investigate evidence of paleotsunami and storm surge aims to collect and record information from Changwat Krabi. The investigation utilized the inundation map and found no evidence of paleotsunami. However, 2004 tsunami sands were found at Koh Lanta Noi and Baan Hat Yao, samples of tsunami sand, beach sands and pre-2004 tsunami sands were collected for analysis. Quantitative analysis of particle size was carried out using Particle Size Analyzer. Quantitative analysis of organic matters and carbonate particles was done using loss on ignition (LOI) method, while qualitative analysis of mineral composition was completed using binocular microscope. 2004 tsunami deposit at Koh Lanta Noi is 2 centimeters in thickness with mean grain size (Phi, φ) of 2.77, mainly fine sand with unimodal distribution, moderately well sorted, organic content (LOI550) of 1.98-2.41%, carbonate content (LOI950) of 0.55-0.65 %. 2004 tsunami deposit at Baan Hat Yao is 20 centimeters in thickness with mean grain size (Phi, φ) of 3.2, mainly very fine sand with unimodal distribution, moderately well sorted, organic content (LOI550) of 1.41-2.97% and carbonate content (LOI950) of 0.34-3.53%. Quartz was the main mineral component of tsunami deposit. Tsunami deposits are moderately well sorted, subrounded-rounded and high sphericity. Coral boulders found in headland and the beach are documented to identify mode of transportation, whether it is a tsunami or storm by using Lorang (2011) equation. The result is that we cannot identify which event transported them, because these coral boulders are too small and their elevation was too close to mean sea level so they could have been transported by normal sea waves. Keywords: Tsunami deposit, Paleotsunami deposit, Storm surge, Coral boulder, Characteristic of tsunami sedimentsen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1411-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตะกอน (ธรณีวิทยา)en_US
dc.subjectตะกอน (ธรณีวิทยา) -- ไทย -- กระบี่en_US
dc.subjectการตกตะกอนen_US
dc.subjectการตกตะกอน -- ไทย -- กระบี่en_US
dc.subjectสึนามิen_US
dc.subjectสึนามิ -- ไทย -- กระบี่en_US
dc.subjectSediments (Geology)en_US
dc.subjectSediments (Geology) -- Thailand -- Krabien_US
dc.subjectSedimentation and depositionen_US
dc.subjectSedimentation and deposition -- Thailand -- Krabien_US
dc.subjectTsunamisen_US
dc.subjectTsunamis -- Thailand -- Krabien_US
dc.titleลักษณะเฉพาะตะกอนสึนามิ พ.ศ. 2547 และการสำรวจหลักฐานเหตุการณ์สึนามิและพายุโบราณจังหวัดกระบี่en_US
dc.title.alternativeCharacteristic of 2004 Tsunami deposit and searching for evidence of paleotsunami and storm surge deposits at Changwat Krabien_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorr_nattawee@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1411-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432713923_NATTAWEE_RAWANGSAMRONG.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.