Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53489
Title: การศึกษารูปแบบแรงจูงใจสำหรับโครงการก่อสร้างของภาครัฐในประเทศไทย
Other Titles: A study of an incentive scheme for public construction projects in Thailand
Authors: ฐิตาภรณ์ พ่อบุตรดี
Advisors: นพดล จอกแก้ว
ธนิต ธงทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: jokkaw9@hotmail.com
fcettt@eng.chula.ac.th
Subjects: กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์
โครงการก่อสร้าง
Analytical hierarchy process
Construction projects
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากในปัจจุบันการก่อสร้างภาครัฐในประเทศไทยค่อนข้างมีความล่าช้าไม่เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาตามสัญญา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษารูปแบบแรงจูงใจสำหรับโครงการก่อสร้างภาครัฐในประเทศไทย โดยทำการศึกษารูปแบบแรงจูงใจจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ และทำการศึกษารูปแบบแรงจูงใจเพิ่มเติมจากความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างภาครัฐในประเทศไทย จากนั้นทำการศึกษาข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของแต่ละรูปแบบแรงจูงใจ และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกรูปแบบแรงจูงใจ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมของรูปแบบแรงจูงใจภายใต้ปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกรูปแบบแรงจูงใจ โดยทำการศึกษาในมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างของ งานก่อสร้างภาครัฐ โดยใช้วิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process : AHP) ซึ่งแยกการวิเคราะห์ตามประเภทโครงการก่อสร้าง ได้แก่ งานอาคาร งานถนน งานสะพาน และวิเคราะห์ในภาพรวมของโครงการก่อสร้างภาครัฐ จากการศึกษาพบว่ารูปแบบแรงจูงใจมี 7 รูปแบบ ได้แก่ (1) รูปแบบการเสนอราคาแบบคิดค่าก่อสร้างและระยะเวลาการก่อสร้าง (A+B bidding) (2) รูปแบบการให้ค่าแรงจูงใจและค่าปรับ (Incentive/disincentive) (3) รูปแบบการเสนอราคาแบบคิดค่าก่อสร้างและระยะเวลาการก่อสร้างรวมกับค่าแรงจูงใจและค่าปรับ (A+B with incentive/disincentive bidding) (4) รูปแบบเช่าพื้นที่อาคาร (Building area rental) หรือเช่าพื้นที่ถนน (Lane rental) (5) รูปแบบคะแนนประมูลงาน (6) รูปแบบการชดเชยระยะเวลาโครงการล่าช้า และ (7) รูปแบบเงินจ่ายล่วงหน้า (Advanced payment) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกรูปแบบแรงจูงใจมี 9 ปัจจัย สำหรับโครงการก่อสร้างภาครัฐในภาพรวมนั้น ในมุมมองของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมีความเห็นค่อนข้างสอดคล้องในเรื่องลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกรูปแบบแรงจูงใจ ส่วนรูปแบบแรงจูงใจในมุมมองของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมีความเห็นสอดคล้องกัน โดยรูปแบบแรงจูงใจที่มีความเหมาะสมคือ รูปแบบการชดเชยระยะเวลาโครงการล่าช้า แต่ในมุมมองของผู้ว่าจ้างนั้นรูปแบบแรงจูงใจที่เหมาะสมรองลงมาคือรูปแบบคะแนนประมูลงาน ส่วนในมุมมองของผู้รับจ้างรูปแบบแรงจูงใจที่เหมาะสมรองลงมาคือรูปแบบเงินจ่ายล่วงหน้า ซึ่งจากผลการวิเคราะห์รูปแบบแรงจูงใจในมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อจำกัด เนื่องจากรูปแบบแรงจูงใจที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีการนำมาใช้กับโครงการก่อสร้างภาครัฐในประเทศไทย จึงทำให้มุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้างที่ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบแรงจูงใจเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาเท่านั้น
Other Abstract: The public construction projects in Thailand usually delay from the contractual duration. The main objective of this research is to study the incentive scheme for public construction projects in Thailand. The models of incentive scheme were reviewed from related research, academic literatures and opinion of government agencies and contractors. In order to identify the factors effecting the selection of incentive scheme, advantages and disadvantages of each incentive scheme were studied and interview sessions were held with government agencies and contractors involving in public construction projects. Subsequently, the analysis utilizing Analytical Hierarchy Process technique (AHP) was applied in order to explore the appropriate incentive scheme based on the identified factors from both owners’ and contractors’ point of view. The analysis was done separately for different project types, such as building construction, highway construction, bridge construction, and public construction projects. The results of research present that seven incentive schemes are identified such as (1) Tendering for both cost and project duration (A+B bidding), (2) Incentive plus penalty (Incentive/disincentive), (3) Tendering for both cost and project duration with Incentive plus penalty (A+B with incentive/disincentive bidding), (4) Building area rental or lane rental, (5) Bid evaluation with past performance, (6) Compensation for project duration extension and (7) Advanced payment. There are nine factors effecting the selection of incentive scheme. The results of analysis show that for most of the construction projects, both project owners and contractors present a similar opinion on the factor effecting the selection of incentive scheme. They agree that “Compensation for project duration extension” scheme is appropriate. In addition, “Bid evaluation with past performance” scheme is a second preference in project owners’ point of view whereas “Advanced payment” scheme is a second preference in contractors’ point of view. However, because most of the proposed incentive schemes have not yet been implemented to public construction projects in Thailand, the results of interview may be based on only the personal opinion and experience.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53489
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.729
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.729
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
titaporn_po_front.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
titaporn_po_ch1.pdf811.3 kBAdobe PDFView/Open
titaporn_po_ch2.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
titaporn_po_ch3.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
titaporn_po_ch4.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
titaporn_po_ch5.pdf11.03 MBAdobe PDFView/Open
titaporn_po_ch6.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
titaporn_po_ch7.pdf811.55 kBAdobe PDFView/Open
titaporn_po_back.pdf15.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.