Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53492
Title: ลักษณะเฉพาะการปนเปื้อนของสารหนูในแอ่งน้ำบาดาลระยอง
Other Titles: Arsenic contamination characteristic in Rayong groundwater basin
Authors: ธวัลรัตน์ พลสิทธิ์
Advisors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: lertc77@yahoo.com
Subjects: น้ำใต้ดิน -- ปริมาณสารหนู
น้ำใต้ดิน -- ปริมาณสารหนู -- ไทย
น้ำใต้ดิน -- ปริมาณสารหนู -- ไทย -- ระยอง
น้ำใต้ดิน -- มลพิษ
น้ำใต้ดิน -- มลพิษ -- ไทย
น้ำใต้ดิน -- มลพิษ -- ไทย -- ระยอง
น้ำใต้ดิน -- คุณภาพ
น้ำใต้ดิน -- คุณภาพ -- ไทย
น้ำใต้ดิน -- คุณภาพ -- ไทย -- ระยอง
ชั้นน้ำบาดาล
ชั้นน้ำบาดาล -- ไทย
ชั้นน้ำบาดาล -- ไทย -- ระยอง
อุทกธรณีวิทยา
อุทกธรณีวิทยา -- ไทย
อุทกธรณีวิทยา -- ไทย -- ระยอง
Groundwater -- Arsenic content
Groundwater -- Arsenic content -- Thailand
Groundwater -- Arsenic content -- Thailand -- Rayong
Groundwater -- Pollution
Groundwater -- Pollution -- Thailand
Groundwater -- Pollution -- Thailand -- Rayong
Groundwater -- Quality
Groundwater -- Quality -- Thailand
Groundwater -- Quality -- Thailand -- Rayong
Aquifers
Aquifers -- Thailand
Aquifers -- Thailand -- Rayong
Hydrogeology
Hydrogeology -- Thailand
Hydrogeology -- Thailand -- Rayong
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แหล่งน้ำในแอ่งน้ำบาดาลระยองมีค่อนข้างจำกัด ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคของประชาชน หรือการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในพื้นที่ ส่งผลให้แหล่งน้ำบาดาลมีบทบาทสำคัญต่อความต้องการพื้นฐานและการพัฒนาในพื้นที่ ตามปกติสารหนูที่ปนเปื้อนในน้ำบาดาลมี 2 รูปแบบหลัก คือ อาร์ซิไนท์ (Arsenite : As3+) และ อาร์ซิเนท (Arsenate : As5+) ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชันในชั้นหินให้น้ำ วัตถุประสงค์ของโครงงานนี้ คือศึกษารูปแบบการปนเปื้อนของสารหนูในแอ่งน้ำบาดาลระยอง และจัดทำแผนภาพตัดขวางแสดงลักษณะอุทกธรณีวิทยา อธิบายถึงการปนเปื้อนของสารหนูในน้ำบาดาล ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของสารหนูที่ปนเปื้อนในแอ่งน้ำบาดาลระยองมีค่าตั้งแต่ 0.0002 - 0.1598 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าเฉลี่ย 0.0188 มิลลิกรัมต่อลิตร (สูงเกินค่ามาตรฐานการปนเปื้อนในน้ำดื่ม: 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร) โดยการปนเปื้อนของสารหนูส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบอาร์ซิไนท์ ภายใต้สภาวะรีดักชัน (ความต่างของศักยภาพ : ORP < 0) สอดคล้องกับชั้นหินให้น้ำระดับลึก (ชั้นหินให้น้ำหินแกรนิต)
Other Abstract: Water resources in Rayong groundwater basin are still limited, since water demand tends to increase following the increase of various activities, such as consumption of local people, agricultural and industrial areas. As a result, groundwater resources will significantly play an important role for basic needs and further development in this area. Generally, there are 2 main species of arsenic in groundwater, which are arsenite (As3+) and arsenate (As5+), depending upon their oxidation and reduction in aquifer. The objectives of this study were to investigate the species of arsenic contaminated in Rayong groundwater basin and to establish the hydrogeological cross-sections, which may further use to explain arsenic contamination. The arsenic concentrations in groundwater ranged from 0.0002 – 0.1598 mg/l with an average of 0.0188 mg/l (exceeding the drinking water standard: 0.01mg/l). The results showed that arsenic mainly exists in the form of arsenite (As3+) under reducing condition (ORP<0) corresponding to the deeper confined aquifer (Granite aquifer).
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา .... คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53492
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tawanrat Ponsit.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.