Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5349
Title: การกำจัดปรอทและการแยกโลหะเงินออกจากโลหะเจืออะมัลกัมที่เหลือทิ้งจากการบูรณะฟัน
Other Titles: Removal of mercury and recovery of silver from dental amalgam waste
Authors: วิลาวรรณ์ จันทรประทิน
Advisors: อมร เพชรสม
ชัชรี สุชาติล้ำพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Amorn.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดปรอทและการแยกโลหะเงินออกจากโลหะเจืออะมัลกัมที่เหลือทิ้งจากการบูรณะฟันอย่างปลอดภัย โดยขบวนการขั้นแรกคือการกำจัดปรอทออกก่อนด้วยวิธีการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส ความดันสุญญากาศ เป็นเวลา 4 ชั่วโมง พบว่าสามารถกำจัดปรอทออกจากโลหะเจืออะมัลกัมได้ โดยมีประสิทธิภาพการกำจัดสูงสุดคือร้อยละ 88.01 โดยน้ำหนักจากการตรวจวัดปริมาณไอปรอทในอากาศขณะที่ปฏิบัติงาน พบว่าปริมาณไอปรอทในอากาศไม่เกินค่ามาตรฐานปรอทในอากาศที่ 0.05 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขั้นตอนที่สองทดลองแยกโลหะเงินด้วยวิธีการทางเคมีไฟฟ้าและวิธีการใช้สารเคมี พบว่าการใช้วิธีการทางเคมีไฟฟ้าไม่สามารถแยกโลหะเงินออกจากโลหะเจือ อะมัลกัมได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวะที่ทำการทดลอง ส่วนวิธีการใช้สารเคมีทำโดยการละลายโลหะเจืออะมัลกัมในกรดไนตริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 35 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร แล้วจึงนำไปตกตะกอนให้อยู่ในรูปของซิลเวอร์คลอไรด์ จากนั้นรีดิวซ์ด้วยสังกะสีในกรดให้อยู่ในรูปของโลหะเงิน พบว่าสามารถแยกโลหะเงินออกจากโลหะเจืออะมัลกัมได้ถึงร้อยละ 97.44 โดยน้ำหนัก โดยโลหะเงินที่ได้มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 99.99369 โดยน้ำหนัก และสูงกว่าโลหะเงินที่ใช้ในการผลิตผงอะมัลกัมซึ่งมีความบริสุทธิ์ร้อยละ 99.99127 โดยน้ำหนักจึงสามารถนำไปใช้งานทางด้านทันตกรรมได้อีกครั้ง
Other Abstract: Removal of mercury and recovery of silver from dental amalgam waste studied by first removal of mercury from dental amalgam by heating at 200 ํC under vacuum for 4 hours. It was found that 88.01% w/w of mercury can be removed from dental amalgam. The amount of mercury vapor in the working area was monitored, and found that the amount of mercury vapor was lower than standard value at 0.05 ug/m3 of air. The second step was to recover silver metal using electrochemistry and chemical methods. The result indicated that electrochemistry could not recover silver metal from dental amalgam with high efficiency under working condition. The chemical method was performed by dissolving mercury removed dental amalgam in 35% w/v nitric acid, followed by precipitating silver chloride with hydrochloric acid and reducing silver chloride to silver metal by zinc dust. The result indicated that 97.44% of silver metal could be recovered from mercury dental amalgam with 99.99369% w/w purity, which is higher than silver metal fordental application (99.99127% w/w). Thus, this silver methal is suitable for us det in the dental application.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5349
ISBN: 9743330577
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wilawan.pdf8.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.