Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53504
Title: | ธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวชั้นหินคดโค้งเลยบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | Structural geology of loei fold beld in northwestern part of Amphoe Bung Sam Phan, Changwat Phetchabun |
Authors: | นรินทร์ ใจสนิท |
Advisors: | พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | pitsanupong.k@hotmail.com |
Subjects: | ธรณีวิทยาโครงสร้าง ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- เพชรบูรณ์ ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- บึงสามพัน (เพชรบูรณ์) Geology, Structural Geology, Structural -- Thailand Geology, Structural -- Thailand -- Phetchabun Geology, Structural -- Thailand -- Bueng Sam Phan (Phetchabun) |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แนวชั้นหินคดโค้งเลยบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ มีการวางตัวต่อเนื่องมาจากแนวชั้นหินคดโค้งเลยที่วางตัวอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ราบสูงโคราชทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยมีทิศทางการวางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ โดยแนวชั้นหินคดโค้งเลย บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์มีลักษณะทาง ธรณีวิทยาเป็นหินปูนยุคคาร์บอนิเฟอรัสจนถึงเพอร์เมียนที่จัดอยู่ในหมวดหินตากฟ้า การศึกษานี้จะศึกษาถึงลักษณะธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวชั้นหินคดโค้งเลยบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยศึกษาจากการสำรวจภาคสนามและการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับกลาง จากข้อมูลแนวการวางตัวของชั้นหินและโครงสร้างแนวเส้นอื่นๆ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาพบว่าบริเวณพื้นที่ศึกษามีการเปลี่ยนลักษณะแบบอ่อนนิ่ม (Ductile deformation) และการเปลี่ยนลักษณะแบบแตกเปราะ (Brittle deformation) โดยพบหลักฐานเป็นชั้นหินคดโค้งที่มีลักษณะเป็นชั้นหินคดโค้งรูปประทุนและชั้นหินคดโค้งรูปประทุนหงาย ที่มีแกนชั้นหินคดโค้งอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแสดงถึงแนวแรงบีบอัดเข้ามากระทำในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งคาดว่าสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ชนกันระหว่างแผ่นจุลทวีปไซบูมาสุ (Sibumasu terrane) และแผ่นจุลทวีป (Indochina terrane) ในช่วงอายุประมาณ ไทรแอสสิกตอนปลายจนถึงจูแรสซิกตอนต้น |
Other Abstract: | Folds of the Loei Fold Belt at northwestern part of Amphoe Bung Sam Phan, Changwat Phetchabun lies along the Loei Fold Belt that lies in N-S direction from western part of Khorat plateau in Northeastern part of Thailand. The geology in this area is almost composes of Carboniferous-Permian limestone in Tak Fa Formation. This study aims to find out the structural geology of the Loei Fold Belt at northwestern part of Amphoe Bung Sam Phan, Changwat Phetchabun. Based on evidences from field survey and mesoscopic scale study especially attitude of bedding and other lineation, the data shows that the study area is ductile deformation and brittle deformation. The structural geology in this area is anticline switch with syncline that has fold axis lies in NW-SE trending so the compressional force is come in NE-SW direction so that the compression is related with behavior of motion between Sibumasu terrane and Indochina terrane that are collided in late Triassic to early Jurassic. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53504 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narint Jaisanit.pdf | 5.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.