Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53518
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรเทพ เขียวหอม-
dc.contributor.advisorมนตรี วงศ์ศรี-
dc.contributor.authorธีรพันธ์ รุจิระชุณห์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-14T12:43:11Z-
dc.date.available2017-10-14T12:43:11Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53518-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการนำหลักการแพลนท์ไวด์มาใช้ในการออกแบบโครงสร้างการควบคุมกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มใช้แล้วโดยมีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีพฤติกรรมเชิงพลวัตของกระบวนการค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งมีการนำเมทานอล และพลังงานกลับเข้ามาป้อนรวมกับสายเมทานอลใหม่ ดังนั้นโครงสร้างการควบคุมจึงมีผลต่อสมรรถนะในการดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง โดยสามารถออกแบบโครงสร้างการควบคุมด้วยวัตถุประสงค์ที่ต่างกันได้ 3 โครงสร้าง และนำแต่ละโครงสร้างการควบคุมมาเปรียบเทียบสมรรถนะในการควบคุม เมื่อระบบถูกรบกวนด้วยตัวแปรที่ทำให้กำลังการผลิตเปลี่ยนแปลงคือ ปริมาณของเมทานอลในระบบเปลี่ยนแปลง หรืออุณหภูมิขาเข้าเครื่องปฏิกรณ์เปลี่ยนแปลง โครงสร้างการควบคุมที่ 1 เป็นโครงสร้างการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยอัตราการไหลของสารผลิตภัณฑ์ ซึ่งข้อดีของกระบวนการนี้คือ ความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ที่ได้ค่อนข้างคงที่ แต่อัตราการผลิตไม่คงที่ ส่วนโครงสร้างการควบคุมที่ 2 เลือกวัดอัตราการไหลของเมทานอลรวมที่ป้อนเข้าเครื่องปฏิกรณ์ เพื่อปรับเมทานอลใหม่ในระบบ ผลการทดสอบทางพลวัตพบว่าค่าคงที่ของกระบวนการต่อการตอบสนองการรบกวนเร็วกว่าโครงสร้างที่ 1 แต่ความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ และอัตราการไหล มีความแปรปรวนมากกว่า แต่มีจุดเด่นคือระบบควบคุมต้องใช้พลังงานเพื่อทำให้กระบวนการกลับสู่ค่าเป้าหมายน้อยกว่าโครงสร้างการควบคุมที่ 1 และ 3 ส่วนโครงสร้างการควบคุมที่ 3 นำโครงสร้างการควบคุมที่ 2 มาเพิ่มวงจรควบคุมแบบแคสเคด เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มการควบคุมอัตราการไหลของสายผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้ระบบมีการตอบสนองการรบกวนที่เร็ว และยังสามารถให้ความบริสุทธิ์ รวมถึงอัตราการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่คงที่ ดังนั้นเมื่อพิจารณาทั้งในด้านสมรรถนะการควบคุม และการใช้พลังงานเพื่อให้กระบวนการกลับสู่ค่าเป้าหมายแล้วโครงสร้างการควบคุมแบบที่ 2 เหมาะสมกับกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยมีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยามากที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThis study is to use plantwide control strategies for designing a control structure of an acid-catalyzed process to produce biodiesel from used palm oil which is complex process consisting of material or energy recycle streams. Thus, the control structure significantly affects the operation performance. Three control structures are proposed, and their performances for withstanding disturbances that cause production rate change are evaluated. The disturbances consisting of the amount of methanol and feed temperature before entering the reactor are introduced. The first control structure uses a product flow rate to control the quality of products. The result shows that the product purity is quite steady but the product flow rate is fluctuated. The second control structure measures total methanol flow rate in the process, and adjusts the fresh methanol feed rate accordingly. This structure shows faster dynamic response than that of the first control structure. Moreover, the heat load used to handle disturbances is the lowest. The product purity and flow rate of this structure are more fluctuated than the first control structure. In the third control structure, a cascade control is introduced to the second control structure for controlling the product purity. The product flow rate control is also added. This control structure has dynamic response similar to those obtained by the second control structure. The second control structure is the best control structure to handle disturbances due to it gives better control performances and lower heat load required.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.702-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเชื้อเพลิงไบโอดีเซลen_US
dc.subjectการควบคุมกระบวนการผลิตen_US
dc.subjectการควบคุมกระบวนการทางเคมีen_US
dc.subjectBiodiesel fuelsen_US
dc.subjectProcess controlen_US
dc.subjectChemical process controlen_US
dc.titleการออกแบบโครงสร้างการควบคุมแบบแพลนท์ไวด์สำหรับกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มใช้แล้ว โดยมีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาen_US
dc.title.alternativePlantwide control structure design for an acid-catalyzed process to produce biodiesel from used palm oilen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsoorathep.k@eng.chula.ac.th-
dc.email.advisormwongsri@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.702-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
teerapan_ru_front.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
teerapan_ru_ch1.pdf541.6 kBAdobe PDFView/Open
teerapan_ru_ch2.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
teerapan_ru_ch3.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
teerapan_ru_ch4.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open
teerapan_ru_ch5.pdf969.58 kBAdobe PDFView/Open
teerapan_ru_back.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.