Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53585
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สำเรียง เมฆเกรียงไกร | - |
dc.contributor.advisor | อายุศรี คำบรรลือ | - |
dc.contributor.author | ศิริกานดา กำลังประสิทธิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-21T12:48:32Z | - |
dc.date.available | 2017-10-21T12:48:32Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53585 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่มีอำนาจในการบริหารจัดการบริษัทประกันภัย เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการดำเนินบริหารจัดการของบริษัท ซึ่งมีหน้าที่รับประกันภัยและบริหารจัดการเงินกองทุนที่ได้ระดมมาจากผู้เอาประกันภัย เพื่อรองรับความเสี่ยงภัยที่เกิดในอนาคตได้ แต่ถ้าหากกรรมการบริษัทได้กระทำการฉ้อฉลทุจริตในธุรกิจบริษัทประกันภัย ย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทประกันภัย และส่งผลกระทบโดยตรงถึงผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากสัญญาประกันภัย รวมถึงกระทบต่อภาคธุรกิจด้วย งานวิจัยนี้จึงมุ่งทาการศึกษาถึงความรับผิดทางแพ่งและการติดตามเงินหรือทรัพย์สินจากการฉ้อฉลในธุรกิจประกันภัยของกรรมการบริษัทประกันภัย รวมทั้งมาตรการในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ในประเด็นความรับผิดทางแพ่งของกรรมการบริษัท และการดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งของผู้ได้รับความเสียหาย จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งของกรรมการบริษัทได้อย่างแท้จริง เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิและหน้าที่ในการดำเนินการฟ้องร้องกรรมการบริษัทผู้กระทำความเสียหายตามมาตรา 1169 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ในทางปฏิบัติพบว่าไม่มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวทำให้กรรมการบริษัทหลุดพ้นจากความผิด ประกอบกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังไม่เป็นการเพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในธุรกิจประกันภัยที่เกิดผลกระทบในวงกว้าง และในการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ยังไม่มีความชัดเจนในการกำหนดให้กรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive Damage) ด้วย ในประเด็นการดำเนินคดี การติดตามเงินหรือทรัพย์สินจากการกระทำการฉ้อฉลในธุรกิจประกันภัย ไม่มีกฎหมายใดกล่าวถึงไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้ไม่สามารถติดตามเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกนำออกไปจากบริษัทประกันภัยได้ เป็นผลให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่สามารถให้การเยียวยาความเสียหายทางประกันภัยได้อย่างแท้จริง ดังนั้น หากได้มีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งของกรรมการบริษัทประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการติดตามเงินหรือทรัพย์สินจากการกระทำการฉ้อฉลของกรรมการบริษัทประกันภัย ตลอดจนกำหนดคุณสมบัติของกรรมการบริษัทประกันภัยและมาตรการป้องกันการกระทำฉ้อฉลของกรรมการบริษัทประกับภัยให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับสภาพของการประกอบธุรกิจประกันภัยแล้ว ย่อมส่งผลให้ธุรกิจประกันภัยได้รับความเชื่อถือจากประชาชนและภาคธุรกิจด้วย | en_US |
dc.description.abstractalternative | Director, Managing Directors who are responsible for the management and administration of and insurance company pay a significant role in the operation of insurance company. They must prudently manage the capital received from insureds to meet the company’s current and future liabilities. Fraudulent acts of the director and managing directors cause tremendous harm not only the company but also the insured, the beneficiaries, injured person and insurance industry as a whole. This thesis explores civil liability of insurance directors’ fraud, retrieval of money asset assert from directors’ fraud with the assumption that the law is in this area is defective. With respect to civil liabilities of insurance director’s fraud and claim compensation of injured person issues. The damaged person under section 1169 of Civil and Commercial Code are the company itself. In practice there are hardly cases where the company sues the fraudulent directors. In addition, the compensation under tort law is not sufficient for the arising damages. Even though punitive damages might be a solution but there is still equivocal issue on this regard. With respect to the retrieval of money and assert from fraudulent insurance directors, there are no laws referring to this issue. The research concludes that the most important thing is the preventive measures. In particular, the qualifications of insurance directors should be specified and various prevention measures should be set up in the company. In addition the implementation of the existing law regarding civil liability should be more effective and also law concerning the retrieval of money and asset should be added to the insurance law itself. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | บริษัทประกันภัย | en_US |
dc.subject | ความผิดฐานฉ้อโกง | en_US |
dc.subject | คณะกรรมการบริษัท | en_US |
dc.subject | ความรับผิดทางแพ่ง | en_US |
dc.subject | ค่าสินไหมทดแทน | en_US |
dc.subject | Insurance companies | en_US |
dc.subject | Fraud | en_US |
dc.subject | Directors of corporations | en_US |
dc.subject | Indemnity | en_US |
dc.title | ความรับผิดทางแพ่งและการติดตามเงินและทรัพย์สินจากการฉ้อฉลของกรรมการบริษัทประกันภัย | en_US |
dc.title.alternative | Civil liability and retrieval of money and asset from insurance director'sfraud | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | No information provided | - |
dc.email.advisor | aryusrik@oic.or.th | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirikanda_ka_front.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirikanda_ka_ch1.pdf | 830.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
sirikanda_ka_ch2.pdf | 4.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirikanda_ka_ch3.pdf | 5.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirikanda_ka_ch4.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirikanda_ka_ch5.pdf | 4.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirikanda_ka_ch6.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirikanda_ka_back.pdf | 607.14 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.