Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53602
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุภางค์ จันทวานิช | - |
dc.contributor.author | เอกวุฒิ บุตรประเสริฐ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-27T02:03:28Z | - |
dc.date.available | 2017-10-27T02:03:28Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.isbn | 9741435444 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53602 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องการส่งเสริมทักษะและฝึกอาชีพของผู้หนีภัยจากการสู้รบในพม่าเพื่อการพึ่งตนเอง :กรณีศึกษาพื้นที่พักพิงชั่วคราวในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึก ษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้หนีภัยฯ และการดำเนินการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างถาวร ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและกระทรวงมหาดไทย วิเคราะห์ผลของโครงการส่งเสริมทักษะและฝึกอาชีพที่มีต่อผู้หนีภัยฯ ที่ผ่านการอบรมและฝึกทักษะอาชีพ วิเคราะห์ความสามารถในการพึ่งตนเองได้และรวมถึงรายได้ของผู้หนีภัยฯ ที่นำความรู้และทักษะที่ได้จากโครงการฯไปประกอบอาชีพ และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการพึ่งตนเองของผู้หนีภัยจากการสู้รบในพม่า การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงปริมาณ ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสัมภาษณ์ผู้หนีภัยฯ ที่ผ่านการอบรมและฝึกทักษะอาชีพจำนวน 105 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้หนีภัยฯ ได้รับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมจากองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ตามความเหมาะสมระหว่างรอการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างถาวร สำหรับผลของโครงการส่งเสริมทักษะและฝึกอาชีพที่มีต่อผู้หนีภัยฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งคือ 87.7% ได้นำเอาความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ประโยชน์ โดยทำเป็นอาชีพ 45.7% ส่วนร้อยละ 42.0 ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับสาเหตุที่ไม้ได้นำความรู้ที่อบรมไปประกอบเป็นอาชีพ เนื่องจากไม่มีเงินทุน อุปกรณ์ และพื้นที่ และไม่มีลูกค้า สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้หนีภัยฯ ที่ประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ขณะที่อยู่ในพื้นที่พักพิงฯ จำนวน 14 คน ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุและความคาดหวังส่วนใหญ่ที่ผู้หนีภัยฯ เข้ารับการอบรมคือ เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพ และหลังจากสำเร็จจากการอบรมทักษะและฝึกอาชีพ ผู้หนีภัยฯ นำความรู้ไปประกอบอาชีพให้มีรายได้เฉลี่ย 200-1,000 บาทต่อเดือน สามารถจุนเจือครอบครัวได้มากกว่าก่อนที่จะได้เข้าร่วมโครงการฯ และผู้หนีภัยฯ สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น ในด้านรายได้และการซื้อหาปัจจัยในการดำรงชีวิต นอกเหนือจากความช่วยเหลือของพื้นที่ฯ จัดให้ สำหรับการวางแผนในอนาคตของผู้หนีภัยฯ ส่วนใหญ่วางแผนจะไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม และผู้หนีภัยฯ วางแผนที่จะประกอบอาชีพจากความรู้และทักษะที่ได้รับโครงการฯ สำหรับข้อเสนอแนะ ถึงแม้การส่งเสริมทักษะและฝึกอาชีพอิสระจะมีประโยชน์ต่อผุ้หนีภัยฯ แต่มีโอกาสน้อยมากที่จะประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ในพื้นที่พักพิงฯ เนื่องจากข้อจำกัดในด้านต่างๆ เช่นไม่มีเงินทุน อุปกรณ์และพื้นที่ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ช่วยเหลือและสนับสนุนเกี่ยวกับเงินกู้หรือจัดหาอุปกรณ์เพื่อการประกอบอาชีพแก่ผู้หนีภัยฯ และการส่งเสริมทักษะและฝึกอาชีพควรจัดอบรมให้ตรงตามเป้าหมายของผู้หนีภัยฯ ที่จะไปตั้งถิ่นฐานใหม่ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The study on skill promotion and vocational training for self-reliance of displaced persons from fighting in Myanmar: a case study of temporary shelter in Thailand is aimed as follows 1) to examine the basic information of displaced persons from fighting in Myanmar and solutions of UNHCR and Ministry of Interior 2) to analyze the output among students who fulfilled a skill promotion and a vocational training program. 3)to analyze abilities of self-reliance and income of displaced persons after utilizing their knowledge and skills to generate income and 4) to summarize problems found in the implementation of the skill promotion and vocational training program and propose methods for resolving these issues. This study was based on both methodologies. Firstly, in quantitative approacg, the sample consists of 105 skill promotion and vocational training program students. The analysis finds that while living in the camp waiting for a durable solution, the displaced persons properly received a humanitarian assistance from international non-profit organizations. The effect of a promotion and a vocational training program output among students who finished from a skill promotion and a vocation training program was found that the among students who participated in the program, 87.7% utilized that skill, 45.7 % used for earning their income and 42.0% used in a daily life. The obstacles found for not employing their acquired knowledge from training for career are lack of fund, material, space and employment. Secondly, in qualitative approach, using in-depth interview, the sample consists of 14 students capable to earn their living. The analysis finds that students attended the program because they needed to work and expected for income after fulfilling the program, students earned income 200-1, 000 Baht per month. Although it's not a big amount, it can support student's family better than before attending the program and they afford the necessary features extra from the camp contributed. Besides, the displaced persons intend to resettlement because they are so confident that they can use their skills from program applied for their career for the better future. For suggestions to self-reliance of the displaced persons, it is considered that the content of the program does not increase employment or generate their income inside the camp significantly due to many obstacles. The authorities or organizations should support and provide displaced persons with funds or materials for their career and create new training programs which fit for their new resettlement in the future outside the camp. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1722 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผู้ลี้ภัยชาวพม่า -- ไทย | en_US |
dc.subject | การฝึกอาชีพ | en_US |
dc.subject | การพึ่งตนเอง | en_US |
dc.subject | Occupational training | en_US |
dc.subject | Self-reliance | en_US |
dc.subject | Refugees, Burmese -- Thailand | en_US |
dc.title | การส่งเสริมทักษะและฝึกอาชีพเพื่อการพึ่งตนเองของผู้หนีภัยจากการสู้รบในพม่า : กรณีศึกษาพื้นที่พักพิงชั่วคราวในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Skill promotion and vocational training for self-reliannce of displaced persons from fighting in Myanmar : a case study of a temporary shelter in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พัฒนามนุษย์และสังคม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Supang.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.1722 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ekawoot_bo_front.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
ekawoot_bo_ch1.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
ekawoot_bo_ch2.pdf | 3.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
ekawoot_bo_ch3.pdf | 743.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
ekawoot_bo_ch4.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
ekawoot_bo_ch5.pdf | 8.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
ekawoot_bo_ch6.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
ekawoot_bo_back.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.