Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53605
Title: | การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่และเวลาบริเวณชายฝั่งทะเลจากบ้านอ่าวน้อยถึงบ้านบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
Other Titles: | Spatial and temporal changes of coastline from Ban Ao Noi to Ban Bo Nok, Changwat Prachuap Khiri khan |
Authors: | พชรพล อินทน |
Advisors: | สุเมธ พันธุวงค์ราช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | phantuwongraj.s@gmail.com |
Subjects: | ภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์กายภาพ -- ไทย ภูมิศาสตร์กายภาพ -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์ ภูมิศาสตร์กายภาพ -- ไทย -- บ้านอ่าวน้อย (ประจวบคีรีขันธ์) ภูมิศาสตร์กายภาพ -- ไทย -- บ้านบ่อนอก (ประจวบคีรีขันธ์) การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์ การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย -- บ้านอ่าวน้อย (ประจวบคีรีขันธ์) การสำรวจทางธรณีวิทยา การสำรวจทางธรณีวิทยา -- ไทย การสำรวจทางธรณีวิทยา -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์ การสำรวจทางธรณีวิทยา -- ไทย -- บ้านอ่าวน้อย (ประจวบคีรีขันธ์) การสำรวจทางธรณีวิทยา -- ไทย -- บ้านบ่อนอก (ประจวบคีรีขันธ์) Physical geography Physical geography -- Thailand -- Ban Ao Noi (Prachuap Khiri Khan)phy -- Thailand Physical geography -- Thailand -- Prachuap Khiri Khan Physical geography -- Thailand -- Ban Bo Nok (Prachuap Khiri Khan) Coast changes Coast changes -- Thailand Coast changes -- Thailand -- Prachuap Khiri Khan Coast changes -- Thailand -- Ban Ao Noi (Prachuap Khiri Khan) Coast changes -- Thailand -- Ban Bo Nok (Prachuap Khiri Khan) Geological surveys Geological surveys -- Thailand Geological surveys -- Thailand -- Prachuap Khiri Khan Geological surveys -- Thailand -- Ban Ao Noi (Prachuap Khiri Khan) |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันพื้นที่ชายฝั่งในประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นกาลังแรง หรือคลื่นที่ถูกเปลี่ยนทิศทางโดยสิ่งก่อสร้างจากมนุษย์ ทาให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจชุมชน การท่องเที่ยว และการใช้ชีวิต ทรัพย์สิน รวมทั้งสถานที่ทั้งที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน จึงเกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับการกัดเซาะชายฝั่งของคลื่นกำลังแรงขึ้นในวงกว้างของประเทศไทย การศึกษาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาความแตกต่างของอัตราการสะสมตัวของชายฝั่งทะเลที่เปลี่ยนไปหลังจากมีการสร้างสิ่งก่อสร้างจากมนุษย์ในพื้นที่ และหาว่าสิ่งก่อสร้างจากมนุษย์นั้นทำให้เกิดการกัดเซาะที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ โดยศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศและข้อมูลภาพดาวเทียม เพื่อเปรียบเทียบการกัดเซาะในแต่ละช่วงปี ก่อนและหลังจากมีการสร้างสิ่งก่อสร้างจากมนุษย์ รวมทั้งศึกษาลักษณะทางตะกอนวิทยาของตะกอนชายหาดเพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของคลื่นที่เข้าสู่พื้นที่ศึกษา และศึกษาลักษณะทางธรณีสันฐานชายฝั่งในบริเวณพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าชายหาดบริเวณพื้นที่ศึกษาเป็นชายหาดคงสภาพโดยมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยสูงสุดก่อนสร้างกำแพงกันคลื่น อยู่ในบริเวณที่ 2 (Zone 2) ด้วยอัตรา -0.51 เมตรต่อปี และมีอัตราการกัดเซาะสูงสุดหลังสร้างกำแพงกันคลื่น อยู่ในบริเวณที่ 3 (Zone 3) ด้วยอัตรา -0.15 เมตรต่อปี พบว่าการสร้างสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัตราการสะสมตัวของพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพบว่าในบริเวณด้านข้างของกำแพงกันคลื่น จะมีอัตราการกัดเซาะสูงกว่าบริเวณที่ไม่มีกาแพงกันคลื่นอยู่ใกล้ๆ |
Other Abstract: | In present day, coastal area in Thailand were suffered from erosion processes resulted from nature as a strong wave during monsoon season and from human activity as a construction at the coast. As it damages affect the community businesses, tourisms, assets, living places, and workplaces, so, people are interested in coastal erosion problem in Thailand. The objectives of this study is to investigate the coastal change before and after the construction of coastal protection structures such as seawall, breakwater and jetty. This study has done by using aerial photographs and satellite images to analyze erosion rate for each year, and then comparing rate of coastal change before and after the construction of the structure, Beach profiles were carried out and beach sediments also study for identified coastal geomorphology and physical properties, respectively. The result shows that beach in the study area is characterized as a stable coast. Before seawall construction, zone 2 has the highest erosion rate about is 0.51 meter per year while after the seawall construction, zone 2 has the highest erosion rate about is 0.15 meter per year. In conclusion, the construction affected the coastal depositional and erosional pattern in the study area. Erosion rate in the area that is adjacent to seawall is higher than the area that is far from seawall. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา .... คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53605 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Photcharaphol Inthon.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.