Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53611
Title: | การศึกษาลักษณะเฉพาะของแหล่งแร่เหล็กสการ์นเขาเหล็ก อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ |
Other Titles: | Characteristics of khao lek iron skarn deposit, Amphoe Nong Bao, Changwat Nakhon Sawan |
Authors: | ธนพรรณ จงใจงาม |
Advisors: | อภิสิทธิ์ ซาลำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Abhisit.A@chula.ac.th |
Subjects: | หินสการ์น -- ไทย -- นครสวรรค์ เหล็ก -- ไทย -- นครสวรรค์ Skarn -- Thailand -- Nakhon Sawan Iron -- Thailand -- Nakhon Sawan |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แหล่งแร่เหล็กและแหล่งแร่สการน์พบในพื้นที่เขาเหล็ก อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ เขาเหล็กตั้งอยู่ในบริเวณแนวคดโค้งเลยเพชรบูรณ์ซึ่งเคยมีการทำเหมืองแร่เหล็กจากแหล่งแร่สการ์น และแหล่งแร่ที่เกิดกับน้ำแร่ร้อนอุณหภูมิต่ำ บริเวณพื้นที่เขาเหล็ก พบหินท้องที่ 2 ชนิด คือ หินภูเขาไฟ ได้แก่ หินแอนดิซิติกขนาดเนื้อทรายและเหลี่ยม และ หินปูน ซึ่งถูกแปรสภาพจากการแทรกดันของหินอัคนีบาดาล(ไดโอไรต์)เกิดเป็นแหล่งแร่สการ์นที่ให้สินแร่เหล็ก(เหล็กสการ์น) โดยพบการเกิดสการ์น 2 ชนิดด้วยกันคือ เอนโดสการ์นและเอกโซสการ์น แต่ในบริเวณพื้นที่เหมืองสามารถพบเห็นการแปรเปลี่ยนแบบเอกโซสการ์นได้เพียงอย่างเดียวเนื่องจากส่วนของเอนโดสการ์นถูกแทนที่ด้วยแร่แมกนีไทต์ไปหมดแล้ว การแปรเปลี่ยนแบบเอกโซสการ์นยังสามารถจำแนกย่อยออกได้อีก 2 ประเภท คือ โปรเกรดสการ์นและ รีโทรเกรดสการ์น โดยโปรเกรดสการ์น พบโซนแร่ที่ทั้งหมด 3 โซนด้วยกันคือ 1.โซนการ์เนต ขนาดเม็ดแร่ของการ์เนต มีขนาด 1 มิลลิเมตร จนถึง 2 เซนติเมตร กระจายตัวแบบไม่สม่ำเสมอ สามารถเห็นรูปผลึกอย่างชัดเจน พบการ์เนตทั้งสี แดงน้ำตาล และสีเขียว 2.โซนไพพรอกซีน พบ ทางด้านทิศใต้ อยู่ถัดจากโซนการ์-เนต มาทางด้านทิศตะวันออก มีขนาดกว้างประมาณ 3 เมตร และ 3.โซนหินอ่อน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียง-เหนือของเหมือง ประเภทที่สองของการแปรเปลี่ยนแบบเอกโซสการ์นคือรีโทรเกรดสการ์น พบเป็นสายแร่ คลอไรท์-เอปิโดท และสายแร่แคลไซต์ ให้แร่ เอปิโดท และ คลอไรท์ ซึ่งเป็นแร่อุณภูมิต่ำ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสินแร่เหล็กพบว่าแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่แมกนีไทต์และพบแร่ไพไรต์,ชาลโคไพไรต์ และ สฟาเลอไรต์ โดยสามารถลำดับการเกิดของแร่ในตัวสินแร่เหล็กได้ 2 ลำดับ โดย ลำดับที่ 1 คือ แมกนีไทต์ เป็นลำดับแรกที่เกิดก่อน และ ลำดับที่ 2 คือ ไพไรต์,ชาลโคไพไรต์ และ สฟาเลอไรต์ พบเป็นลักษณะสายแร่ที่ตัดเข้ามาในแร่แมกนีไทต์อีกที |
Other Abstract: | Iron ore deposit and skarn alteration was found at Khoa Lek, Amphoe Nong Bao, Changwat Nakhon Sawan. Khao Lek is located in Loei-Petchabun Fold Belt where iron mining was operated from skarn deposited and epithermal deposited. Host rock in this area is volcaniclastics (andesitic sandstone and andesitic breccias) and limestone which are metamorphosed by diorite intrusion. This deposit is iron skarn deposit that comprises of endoskarn and exoskarn. Endokarn is formed in diorite intrusion but it cannot observe in the field because diorite intrusion is completely replaced by magnetite. Exoskarn, prograde skarn, comprises of garnet zone, pyroxene zone, and marble zone. Garnet zone has a red garnet, brownish red garnet, and green garnet which size 1 millimeter to 2 centimeters. Pyroxene zone is located in the south of this area covering approximately 3 meters thick and almost pyroxene in this zone is clinopyroxene. Marble zone is located in northwest of this area and is comprised of calcite. Retrograde skarn, chlorite-epidote vein and calcite vein cross cutting in volcaniclastic rocks, causes low temperature mineral deposit (retrograde mineral) such as epidote, chlorite, calcite, and quartz. From studying iron ore body with reflected light microscopy and electron probe micro-analyzer (EPMA), the ore body comprised of major magnetite and minor pyrite, chalcopyrite, and sphalerite. Paragenesis in iron ore has two stage. The first stage is magnetite which is main mineral. The second stage is pyrite, chalcopyrite and sphalerite veins cross cutting in magnetite. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53611 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanaphan Jongjaingarm.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.