Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53623
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฐานบ ธิติมากร | - |
dc.contributor.author | อาทิตย์ ดรบุญล้น | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-29T08:05:56Z | - |
dc.date.available | 2017-10-29T08:05:56Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53623 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552 | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันการการศึกษาธรณีวิทยาใต้ผิวดินระดับตื้นใช้การวิเคราะห์คลื่นผิวดินซึ่งแบ่งออกเป็นหลายวิธี ได้แก่ วิธีวัดจากหลุมเจาะ (Downhole seismic) วิธี Microtremors และวิธีการวิเคราะห์คลื่นผิวดินแบบหลายช่องรัยสัญญาณ MASW (Multichannel analysis of surface wave) ซึ่งวิธีวัดจากหลุมเจาะนั้นค่อนข้างแม่นยำแต่ยุ่งยากมีหลายขั้นตอนอีกทั้งยังเสียเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเก็บข้อมูล และวิธีอื่นยังให้ผลคาดเคลื่อน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาวิธีการหาค่าความเร็วคลื่นเฉือนด้วยวิธีใหม่คือ Passive Remote MASW โดยใช้แหล่งกำเนิดคลื่นจากการจราจรบริเวณรอบ ๆ พื้นที่ศึกษาคือสนามหน้าพระบรมรูปสองรัชกาล และศึกษารูปแบบการวางตัวรับสัญญาณโดยวางตัวรับสัญญาณ 3 แบบ ได้แก่ วงกลม สามเหลี่ยมและกากบาท โดยทั้ง 3 แบบให้ข้อมูลคลื่นผิวดินที่ดีไม่ต่างกัน เมื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการคำนวนย้อนกลับทำให้ได้ความเร็วคลื่นเฉือนที่ดีด้วยเช่นกัน จากนั้นนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับวิธีวัดจากหลุมเจาะ Microtremors และ Active MASW โดยใช้เกณฑ์ในการเปรียบเทียบคือ การหาค่าความเร็วคลื่นเฉือนเฉลี่ยตั้งแต่ 0 ถึง 30 เมตร (Vs(30)) แล้วนำไปเทียบกับตารางการจำแนกชนิดของดินโดยใช้ NEHRP soil classification โดยผลที่ได้คือ ค่าความเร็วคลื่นเฉือนของวิธี Passive Romote MASW ได้ 173.6 เมตรต่อวินาที วิธี Active MASW ได้ 178 เมตรต่อวินาที วิธีวัดจากหลุมเจาะได้ 133.4 เมตรต่อวินาที และวิธี Microtremors ได้ 142 เมตรต่อวินาทีจัดอยู่ใน type E ทั้งหมด ส่วนการเปรียบเทียบด้วยวิธีหาค่าความแตกต่างเฉลี่ย (Average relative difference) เปรียบเทียบกับวิธี Active MASW มีค่าต่างกันน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับวิธีวัดจากหลุมเจาะมีค่าต่างกันน้อยกว่า 6 เปอร์เซ็นต์และเปรียบเทียบกับวิธี Microtremors มีค่าต่างกันน้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าค่าความเร็วคลื่นเฉือนที่ได้จากวิธี Passive Remote MASW นั้นมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหาค่าความเร็วคลื่นเฉือน ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อยมากในการเก็บข้อมูล คลื่นผิวดิน | en_US |
dc.description.abstractalternative | Nowadays, the shear-wave velocity (Vs) of shallow subsurface can be determined by several techniques such as measured by downhole, microtremors or analysis of multi-channel surface waves (MASW). The downhole method is relatively accurate but it has many difficult steps and also time consuming. Therefore, this research is to study how to determine the Vs by a new method called Passive Remote MASW. The study area is a Chulalongkorn University field. The receiver pattern used in the study includes a circle, triangle and cross arrays. This method used traffic or cultural noise as a source. The Vs derived from this method were compared with Vs from the downhole seismic, microtremor and active MASW methods. The criteria used in comparison consist of NEHRP soil classification and the average relative difference. The NEHRP soil class of passive remote MASW, active MASW, downhole and microtremor was all fell in soil type e. The average relative difference of Vs profiles from passive remote MASW method was less than 1 percent when compared with the active MASW and less than 6 percent with downhole seismic, as well as less than 3 percent with microtremor. The result of comparison had shown that the passive remote MASW method was reliable. Therefore, the passive remote MASW can be used to estimate the Vs profile of Bangkok a soil which saving time and cost. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ธรณีวิทยา -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | คลื่นเฉือน | en_US |
dc.subject | Geology -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Shear waves | en_US |
dc.title | การหาความเร็วคลื่นเฉือนของชั้นดินของกรุงเทพฯ ด้วยวิธี พาสซีพ รีโมท เอ็ม เอ เอส ดับเบิลยู | en_US |
dc.title.alternative | Determination shear-wave velocity of Bangkok subsoils using Passive remote MASW technique | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | thanop.t@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Atit_full report.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.