Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5382
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิชุดา รัตนเเพียร | - |
dc.contributor.author | เกศกมล ชี้เชิญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2008-01-09T09:47:33Z | - |
dc.date.available | 2008-01-09T09:47:33Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743330089 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5382 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนคณิตศาสตร์ และ/หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 25 คน โดยการออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยึดตามกระบวนการและวิธีการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำและตามหลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของ Gagne, Briggs, และ Wager ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการเร้าความสนใจ จะมีคำแนะนำบทเรียนที่มีภาพประกอบ มีเสียงประกอบการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน การใช้เกม 2. ด้านการบอกวัตถุประสงค์ จะนำเสนอจุดประสงค์นำทาง จุดประสงค์ปลายทางโดยเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องสั้น กระชับ ได้ใจความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 3. ด้านการทบทวนความรู้เดิม มีการตอบคำถามอย่างสั้นๆ มีการสรุปเนื้อหาพร้อมภาพประกอบ และมีเกมประกอบการทบทวน 4. ด้านการเสนอเนื้อหาใหม่ จะแบ่งเนื้อหาออกเป็นลำดับขั้น เรียงเนื้อหาจากง่ายไปสู่ยาก มีภาพประกอบคำอธิบายและมีการสรุปหลักเกณฑ์แต่ละเนื้อหาย่อย 5. ด้านการชี้แนวทางการเรียนรู้ ใช้การยกตัวอย่างด้วยการใช้ภาพประกอบ และยกตัวอย่างเปรียบเทียบ 6. ด้านการกระตุ้นการตอบสนอง ให้ผู้เรียนมีการโต้ตอบกับบทเรียนด้วยการพิมพ์ข้อความ การเลือกคลิกเมาส์ การจับคู่คำตอบ 7. ด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับ จะแสดงคำถาม-คำตอบบนเฟรมเดียวกัน ให้ข้อมูลย้อนกลับทันที มีคำอธิบายประกอบเมื่อผู้เรียนตอบผิด และมีการให้คะแนนหรือภาพบอกความใกล้-ไกล จากเป้าหมาย 8. ด้านการทดสอบความรู้ จะมีการทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และจบบทเรียน มีการแจ้งจุดประสงค์แก่ผู้เรียนก่อนการทดสอบ และมีการทดสอบเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง 9. ด้านการจำและการนำไปใช้ จะมีการแนะนำแหล่งข้อมูลที่นอกเหนือจากบทเรียน มีการสรุปประเด็นที่สำคัญ หลังจากจบแต่ละเรื่องย่อยและมีการเสนอแนะตัวอย่างโจทย์ปัญหาที่นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ผ่านมาไปใช้แก้ปัญหาได้ | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to develop a computer-assisted instruction mathematics lesson for low mathematics achievement students inlower secondary schools. The samples were 25 mathematics instruction experts and/or experts in the design and development of computer-assisted instruction lesson. The development of computer-assisted instruction lesson followed processes and mathematics teaching principles for low mathematics achievement students and Gagne, Briggs, and Wager computer-assisted instruction lesson design principles. The findings were as follows: 1. It was found that graphics, sound, interaction between students and the lesson, and games can be used to gain students' attention. 2. The objectives should be short and should be identified in a behavioral term. 3. Short answer questions, lesson conclusion, and games were found to be appropriate for activating students' prior knowledge. 4. Lesson content should be sequentially presented from simple to complex. Graphics and content summary could bepresented when introducing lesson content. 5. Graphics were found to be effective for guiding the learning. 6. The lesson may elicit responses from students by allowing them to click the mouse or press a key on a keyboard. 7. Immediate feedback with explanation should be provided within the question frame 8. Tests should be presented before, during, and after the lesson. 9. To promote retention and transfer of Knowledse, the lesson should provide students with other related sources of information, lesson conclusion, and question samples which require students to integrate their Knowledge | en |
dc.format.extent | 5503719 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.456 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน | en |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา | en |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.title | การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ | en |
dc.title.alternative | A development of computer-assisted instruction mathematics lesson for low mathematics achievement students in lower secondary schools | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1999.456 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
keskamon.pdf | 5.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.