Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5449
Title: แนวทางการพัฒนาทางกายภาพบริเวณรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ. นครราชสีมา
Other Titles: The development guidelines for Tau-Suranaree Monument area, Nakhonratchasima province
Authors: กตัญญู หอสูติสิมา
Advisors: บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ที่ว่าง (สถาปัตยกรรม)
พื้นที่โล่ง
การพัฒนาชุมชนเมือง
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
นครราชสีมา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมืองนครราชสีมาหรือเมืองโคราช เป็นชุมชนเมืองโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา พื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี คือพื้นที่แนวคูเมืองกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่า เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และมีความหมายต่อชาวเมืองนครราชสีมา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของชาวเมือง การศึกษาแนวทางการพัฒนาทางกายภาพบริเวณรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ การหารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาและปรับปรุง พื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและพื้นที่โดยรอบ โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความสำคัญให้กับพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญของเมือง เพื่อเพิ่มคุณค่าด้านความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานที่ และการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเมือง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่สอดคล้องกับบทบาทและความสำคัญของพื้นที่ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและส่งเสริมศักยภาพของพื้นที่ในด้านต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่นำเสนอมีดังต่อไปนี้ 1. แนวทางการปรับปรุงพื้นที่และมุมมองที่มีต่อพื้นที่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี 2. แนวทางการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์เมือง 3. แนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว 4. แนวทางการจัดระบบการจราจร 5. แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งและการสัญจร 6. แนวทางการอนุรักษ์องค์ประกอบที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ 7. แนวทางในการกำหนดการใช้ที่ดินในอนาคต ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผนพัฒนาเมือง ให้ทางเทศบาลนครนครราชสีมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ โดยเฉพาะการนำเสนอประเด็นปัญหาและรูปแบบการพัฒนาทางกายภาพที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถนำมาประเมิน และเปรียบเทียบกับแนวทางเลือกอื่นๆ ในการพัฒนาพื้นที่ที่จะศึกษาต่อไปได้ และในตอนท้ายได้สรุปข้อเสนอแนะต่างๆ ไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาครั้งต่อไปที่จะช่วยทำให้การศึกษานี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
Other Abstract: Nakhonratchasima or Korat is one of the most important ancient towns of Thailand. It was established during the Ayutthaya era. Likewise, the Tau-Suranaree monument area, the western moat and wall of the ancient town, is a highly precious historical area for local people. This is because it is where the Tau-Suranaree monument, the central spirit of local people, is located. The main objective of this study of the development guidelines for Tau-Suranaree monument area, Nakhonratchasima Province is to explore appropriate methods to develop and improve this area and its surroundings. The study aims to provide proper sensible development guidelines for Tau-Suranaree monument area to increase its value in local people's perceptions. In addition, the study also intends to develop the urban environments to enhance the quality of the local people's lives. This study presents the consistent development guidelines for Tau-Suranaree monument area according to its role and importance, in order to solve the problems and promote the potentiality of this area in many perspective aspects. The presentments are as follow 1. The visual improvement guidelines for Tau-Suranaree monument square and the improvement guidelines for Tau-Suranaree monument area. 2. The improvement guidelines for urban landscape. 3. The development guidelines for tourism. 4. The guidelines for traffic improvement and control. 5. The development guidelines for urban transportation and commutation. 6. The conservation guidelines for urban historical elements. 7. The regulation guidelines of the future land use. The findings of this study can be practical for the city development planning; especially, for Nakhonratchasima municipality and related officials. Significance issues and physical development guidelines proposed in this study could be used as an alternative to be evaluated and compared with other studies in planning the city development. Lastly, a number of recommendations are presented in the last part of the report as a guideline for future studies that might fulfill this study.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5449
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.109
ISBN: 9741732791
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.109
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Katanyu.pdf12.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.