Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/546
Title: | ผลการสอนวิชาสุนทรียภาพของชีวิตโดยใช้เทคนิคการจัดผังมโนทัศน์ที่มีต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักศึกษาสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ |
Other Titles: | Effects of teaching aesthetic appreciation by using the concept mapping technique on students' academic achievement at Rajabhat Institute Chiang Mai |
Authors: | ประไพลิน จันทน์หอม, 2516- |
Advisors: | บุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ผังมโนทัศน์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สุนทรียศาสตร์ ทัศนศิลป์--การศึกษาและการสอน สถาบันราชภัฎเชียงใหม่--นักศึกษา |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนวิชาสุนทรียภาพของชีวิตในส่วนเนื้อหาทัศนศิลป์ และทัศนคติที่มีต่อคุณค่างานทัศนศิลป์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันราชภัฎเชียงใหม่ ที่ได้รับการสอนโดยใช้ผังมโนทัศน์ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2547 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสุนทรียภาพของชีวิต จำนวน 66 คน โดยการคัดเลือกชั้นเรียนแบบเจาะจง เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการสอนวิชาสุนทรียภาพของชีวิตในส่วนเนื้อหาทัศนศิลป์โดยใช้ผังมโนทัศน์จำนวน 6 ครั้ง 2) แบบทดสอบสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนวิชาสุนทรียภาพของชีวิตในส่วนเนื้อหาทัศนศิลป์ 3) แบบสอบถามทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อคุณค่างานทัศนศิลป์ ทำการเก็บข้อมูลโดยทดสอบสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนวิชาสุนทรียภาพของชีวิตในส่วนเนื้อหาทัศนศิลป์ และวัดทัศนคติของนักศึกษาทีมีต่อคุณค่างานทัศนศิลป์ ก่อนและหลังการสอนเนื้อหาทัศนศิลป์ด้วยการใช้ผังมโนทัศน์เป็นเวลา 6 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียน โดยใช้สถิติทดสอบผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยประชากรแบบจับคู่ (Paired Sample t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบทัศนคติที่นักศึกษา มีต่อคุณค่างานทัศนศิลป์ก่อน และหลังการเรียน โดยใช้สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระ (Independent Sample T test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสอบคะแนนสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนเฉลี่ยหลังการเรียนด้วยผังมโนทัศน์ มีค่ามากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. คะแนนเฉลี่ยทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่องานทัศนศิลป์ ก่อนและหลังการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยคะแนนเฉลี่ยทัศนคติรวมมีค่าอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก ซึ่งหลังการเรียนมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อพิจารณาในด้านต่างๆ พบว่า คุณค่าด้านอารมณ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยทั้งก่อนและหลังการเรียนมากที่สุด และคุณค่าด้านความงามมีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดทั้งก่อนและหลังการเรียน จากผลการวิจัยแสดงว่า ผังมโนทัศน์ทำให้การจัดการเรียนการสอนวิชาสุนทรียภาพของชีวิตในส่วนเนื้อหา ทัศนศิลป์ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องด้วยผังมโนทัศน์เป็นการแสดงภาพรวมขอโครงสร้างขอบเขตเนื้อหาอย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในหัวข้อต่างๆ จนเกิดเป็นการเรียนรู้และเข้าใจบทเรียนได้อย่างมีความหมาย อันจะส่งผลต่อการพัฒนาไปสู่ความเข้าใจและซาบซึ้งในงานทัศนศิลป์ และศิลปะแขนงอื่น ๆ ได้ต่อไป |
Other Abstract: | The purpose of this research was to test the effects of using the concept mapping technique in the Visual Arts segment of the "Aesthetic Appreciation" course at Rajabhat Institute Chiang Mai. There are three segments in the Aesthetic Appreciation course Visual Arts, Music Arts and Performance Arts. The Visual Arts segment was used as content for the experiment. Subjects employed in this study were 66 first year students, selected by purposive sampling. The instruments, constructed by the researcher were ; 1) six-week lesson plans for the Visual Arts segment of the Aesthetic Appreciation course, using the concept mapping technique. 2) An academic test for the Visual Arts segment of the Aesthetic Appreciation course and 3) students' attitudes test toward the value of visual arts. The research methods were as following 1) Pre-test students' academic achievement in the Visual Arts segment and their attitude toward the value of Visual Arts 2) teaching the Visual Arts segment by using the concept mapping technique and 3) The Post-test, which was identical to the Pre-test, was given immediately after teaching. Obtained data were analyzed statistically by comparing difference means of learning achievement using the Paired Samples t-test and comparing difference means of students' attitudes toward the value of visual arts using the Independent t-test. The findings were as follows: 1) Academic achievement was statistically significantly increased after using the concept mapping technique in teaching the Visual Arts segment of the Aesthetic Appreciation course. 2) Attitudes toward the value of visual arts was not statistically significantly different. Pre-test and Post-test total mean scores were at the high moderate level and were increased after teaching. Of the four aspects of value, Emotional value showed the highest score, whereas Beauty value showed the lowest score, both before and after the experiment. The result indicated that the concept mapping technique can be applied successfully in teaching the Visual Arts segment of the Aesthetic Appreciation course. Because concept mapping presented not only the domains of the subject matter but also the relationships between topic concepts, learners a). gained meaningful knowledge that helped then to appreciate the Visual Arts and b). provided a foundation to enable them to appreciate other kinds of art later in life. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/546 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.893 |
ISBN: | 9741769334 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.893 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapailin.pdf | 2.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.